คุณ สะอาด

ผู้เขียน : คุณ สะอาด

อัพเดท: 27 มี.ค. 2024 13.57 น. บทความนี้มีผู้ชม: 16520 ครั้ง

เตียงผู้ป่วย เตียงไฟฟ้าผู้ป่วย และอุปกรณ์ทางการแพทย์ และ ทางการแพทย์เฉพาะทาง


ผู้ป่วยติดเตียง คืออะไร คนไข้ติดเตียงมีอยู่กี่ประเภท และสาเหตุที่เกิดจากอะไรบ้าง

ผู้ป่วยติดเตียง

โรคภัยไข้เจ็บเป็นเรื่องใกล้ตัว ถ้าหากไม่เกิดขึ้นกับเราก็อาจเกิดขึ้นกับคนในครอบครัวของเราได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุเนื่องจากร่างกายเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา เกิดจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายจนนำไปสู่ความเจ็บป่วย หรือเกิดโรคแทรกซ้อนได้ เมื่อเจ็บป่วยและไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ต้องนอนติดเตียงหรือเรียกว่า “ผู้ป่วยติดเตียง” นั่นเอง

ผู้ป่วยติดเตียง คืออะไร

ผู้ป่วยติดเตียง คือ ผู้ที่นอนป่วยติดเตียงหรือป่วยเรื้อรัง มีตั้งแต่ช่วยเหลือตนเองได้เล็กน้อยไปจนถึงช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลยต้องพึ่งพาผู้ดูแลอยู่เสมอ ผู้ป่วยติดเตียง ภาวะนี้มักเกิดกับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุติดเตียงจะมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวไม่สามารถเดินได้เหมือนคนปกติหรือลุกนั่งได้สะดวกต้องนอนบนเตียงตลอดเวลาเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับได้สูง อย่างไรก็ตาม ภาวะปวดจิตเตียงอาจเกิดขึ้นกับคนที่ได้รับอุบัติเหตุหรือผู้ที่เพิ่งเข้ารับการผ่าตัดด้วย

ผู้ป่วยติดเตียง มีกี่ประเภท ? 

ผู้ป่วยติดเตียงมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป บางรายช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง อาจไม่ต้องพึ่งพาผู้ดูแลตลอดแต่บางรายไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย ผู้ป่วยติดเตียงจึงถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ประเภทผู้ป่วยติดเตียงจะแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

1.ผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีเขียว

ผู้ป่วยติดเตียงในกลุ่มสีเขียว ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุในกลุ่มนี้สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เกือบทุกกิจกรรม เคลื่อนไหวร่างกายได้บ้างแต่ยังจำเป็นต้องอาศัยผู้ดูแลหรือผู้ช่วยในบางเรื่อง

2.ผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีเหลือง

ผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีเหลือง มีปัญหาในการเคลื่อนไหวอาจเจ็บป่วยด้วยอาการอัมพฤกษ์ กล้ามเนื้ออ่อนแรง แต่ยังสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้บ้างเล็กน้อย แพทย์อนุญาตให้ผู้ป่วยกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้ซึ่งต้องอาศัยผู้ดูแลหลายๆ เรื่องผู้ป่วยติดเตียงในกลุ่มนี้อาจนั่งหรือพลิกตัวได้เองแต่ยังต้องคอยระวังเรื่องแผลกดทับ

3.ผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีแดง

ผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มสีแดงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลยหรือไม่สามารถขยับร่างกายได้ อาจป่วยเป็นอัมพาตบางรายนอนเป็นเจ้าหญิงเจ้าชายนิทรา ไม่รู้สึกตัวไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ไม่สามารถพลิกตัวได้เองต้องอาศัยผู้ดูแลทั้งหมดซึ่งต้องระวังเรื่องแผลกดทับเป็นอย่างมากรวมถึงโรคแทรกซ้อนต่างๆ ด้วย

สาเหตุที่เกิดอาการติดเตียง เกิดจากอะไร

ผู้ป่วยติดเตียงเกิดจากสาเหตุใด นอกจากอายุที่เพิ่มขึ้นทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพลงแล้ว อาจเกิดจากความเจ็บป่วยต่างๆ  เจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว โรคเรื้อรังหรือเกิดจากการประสบอุบัติเหตุ การผ่าตัดใหญ่ ดังนั้น หมายความว่าผู้ป่วยติดเตียง ภาวะที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่เลือกเพศไม่เลือกอายุ บางรายเกิดโรคแทรกซ้อน เป็นแผลกดทับ แผลติดเชื้อหรือมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ ฯลฯ อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

อาการของผู้ป่วยและผู้สูงอายุติดเตียง

คนไข้ติดเตียงหรือผู้สูงอายุป่วยติดเตียงอาจต้องเจอกับสภาวะเลวร้ายหลายอย่าง เช่น นอนติดเตียงทั้งวัน, ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้, เดินไม่ได้, ต้องมีคนคอยดูแล ฯลฯ ผู้ป่วยติดเตียงที่มีอาการหนักไม่มีคนคอยดูแลทำให้การใช้ชีวิตประจำวันลำบาก ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำ การขับถ่าย การทานอาหาร การลุก การเดินหรือแม้แต่การพลิกตัวและอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนต่างๆ รวมถึงเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้

ผู้ป่วยติดเตียงยังมีโอกาสหายไหม

ผู้ป่วยติดเตียงมีโอกาสหายไหม ซึ่งเป็นไปได้ทั้ง 2 อย่าง อาจหายเป็นปกติหรือต้องนอนป่วยติดเตียงในระยะยาว ในทางการแพทย์ยังไม่ได้ยืนยันว่าผู้ป่วยจะกลับมาหายเป็นปกติหรือไม่ เพราะโอกาสในการหายขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาพทางกายภาพหรืออายุ โรคที่ผู้ป่วยเป็น อาการเจ็บป่วย เป็นต้น

ผู้ป่วยติดเตียง มีแนวทางการรักษาและดูแลอย่างไร

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงในแต่ละประเภทผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวและผู้ป่วยกลุ่มสีแดงแตกต่างกันออกไป ผู้ดูแลต้องศึกษาให้ดีหรือสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่าต้องปฏิบัติกับผู้ป่วยอย่างไรบ้างให้ถูกต้องและเหมาะสม สิ่งที่ต้องคอยระวังมากที่สุดคือเรื่องของภาวะแทรกซ้อน การเกิดแผลกดทับ การติดเชื้อรวมไปถึงการดูแลรักษาความสะอาด อาหารการกินป้องกันภาวะขาดสารอาหารและที่สำคัญคือปัญหาด้านสุขภาพจิต

ผู้ป่วยติดเตียง บุคคลเหล่านี้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้ปกติเหมือนคนทั่วไปต้องมีคนคอยดูแลอยู่เสมอ การดูแลผู้ป่วยติดเตียงจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสม การจัดหาอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียงหรือเครื่องทุ่นแรงเป็นทางออกที่ดี อย่างเช่น เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ช่วยให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมบางอย่างได้ด้วยตนเองไม่ต้องพึ่งพาผู้ดูแลตลอดเวลา รวมถึงช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลด้วย สนใจสั่งซื้อเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าคุณภาพดีมีมาตรฐานในราคาสุดคุ้มมาที่ RAKMOR มีเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าให้คุณเลือกหลายแบบหลายดีไซน์ ตอบโจทย์ได้ทุกความต้องการ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที