metahealth

ผู้เขียน : metahealth

อัพเดท: 24 ธ.ค. 2023 23.04 น. บทความนี้มีผู้ชม: 6584 ครั้ง

บทความแนะนำ แหล่งความรู้เกี่ยวความงามสำหรับผู้หญิง


อาการคันน้องสาวเกิดจากอะไร รักษาและป้องกันอย่างไรดี

คันน้องสาว
 
อาการคันน้องสาว เป็นอาการหนึ่งที่คุณผู้หญิงสามารถประสบพบเจอได้กันทุกคน ซึ่งอาการคันทำให้คุณรู้สึกทรมาน เขินอายและยากที่จะเกาเหมือนอาการคันบริเวณส่วนอื่นของร่างกาย และหากคุณมีอาการคันอยู่บ่อยครั้ง นั้นอาจหมายถึงสัญญาณของโรคที่กำลังเกิดขึ้นบริเวณจุดซ่อนเร้นของคุณ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับสาเหตุของอาการคันบริเวณน้องสาว รวมถึงอาการคันที่เกิดจากโรค พร้อมหาคำตอบกับวิธีการรักษาอาการคันน้องสาว เพื่อให้คุณแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด 
 
อาการคันน้องสาวสาเหตุเกิดจากอะไร
 
น้องสาวหรือจุดซ่อนเร้นของผู้หญิง เป็นอวัยวะหนึ่งในร่างกายที่มีความเปียกชื้นสูงและบอบบาง หากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ ก็อาจทำให้เกิดทำให้มีเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และจุลินทรีย์เจริญเติบโตเป็นจำนวนมาก และด้วยความบอบบางของน้องสาว จึงทำให้เกิดอาการคันและระคายเคืองขึ้นได้ และนอกจากนี้ยังมีโรคบางโรคภายในร่างกายที่ทำให้เกิดอาการคันน้องสาวร่วมด้วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจเราขอแบ่งสาเหตุของการเกิดอาการคันไว้ 2 ประเภทดังต่อไปนี้
 

อาการคันที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน

 
อาการคันที่เกิดจากโรคและการติดเชื้อ
 
อาการตกขาวจากเชื้อรา เกิดจากการติดเชื้อราชื่อว่า แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) เชื้อราชนิดดังกล่าวสามารถพบได้ทั่วไปตามธรรมชาติ และเจริญเติบโตมากผิดปกติภายในช่องคลอด ทำให้สารคัดหลั่งมีลักษณะขาวข้น มีกลิ่น ระคายเคือง และมีอาการแสบคัน ส่งผลให้ผิวบริเวณรอบๆ ช่องคลอดมีอาการบวมแดง
 
 
วิธีการป้องกันและรักษาอาการคันน้องสาว
 
การรักษาอาการคันน้องสาว สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังต่อไปนี้
 
การรักษาเชิงป้องกัน เป็นวิธีที่ง่ายและสามารถทำได้เอง เพียงแค่คุณปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือกิจกรรมที่ทำอยู่เป็นประจำ เพียงเท่านี้ อาการคันน้องสาวจะค่อยๆดีขึ้น จนหายไป โดยมีรายละเอียดการปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้
 
 
การรักษาโรคและการติดเชื้อ เนื่องจากอาการคันน้องสาว เกิดจากการติดเชื้อ จากการพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกสุขอนามัย และถูกสุขลักษณะ จึงให้เกิดการติดเชื้อลุกลามไปยังบริเวณช่องคลอด การรักษาจึงต้องอาศัยการวินิจฉัยโรคจากแพทย์และการใช้ยา โดยมีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้
 
 
อาการตกขาวจากเชื้อรา
 
อาการคันน้องสาวจากอาการตกขาวจากเชื้อราสามารถรักษาให้หายได้ โดยการใช้ยาต้านเชื้อรา โดยมีวิธีการรักษาได้แก่ 
 
2.1.1 ใช้ยาเหน็บโคลไตรมาโซล (Clotrimazole) ขนาด 100 มิลลิกรัม โดยการสอดเม็ดยาครั้งละ 1 เม็ด ก่อนนอน ติดต่อกัน 6 คืน หรือครั้งละ 2 เม็ด ติดต่อกัน 3 คืน
2.1.2 ใช้ยาเหน็บโคลไตรมาโซล  (Clotrimazole)  ขนาด 500 มิลลิกรัม โดยการสอดเม็ดยาครั้งละ 1 เม็ด  เพียงครั้งเดียวก็สามารถรักษาให้หายได้ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องสอดเม็ดยาซ้ำอีก 1 เม็ด หลังจากสอดเม็ดยาครั้งแรก 1 สัปดาห์
2.1.3 ใช้ยาทาโคลไตรมาโซล (Clotrimazole cream) ซึ่งอยู่ในรูปแบบของยาทา โดยทายาอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือตามที่แพทย์สั่ง
2.1.4 รับประทานยาฟลูโคนาโซล (Fluconazole) โดยรับประทาน วันละ 1 ครั้ง หรือตามที่แพทย์สั่ง
อาการตกขาวจากเชื้อแบคทีเรีย
2.2.1 รับประทานยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) โดยรับประทานยาขนาด 2,000 มิลลิกรัม เพียงครั้งเดียว หรือบางรายอาจรับประทาน วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 400 มิลลิกรัม ติดต่อกัน 5-7 วัน
2.2.2 รับประทานยาคลินดามัยซิน (Clindamycin) รับประทานครั้งละ 150–300 มิลลิกรัม ในผู้ป่วยบางรายที่ติดเชื้อรุนแรงอาจต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 300–450 มิลลิกรัม รับประทานขณะตอนท้องว่างก่อนรับประทานอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือ 2 ชั่วโมงหลังอาหาร ทุกๆ 6–8 ชั่วโมง 
2.2.3 ใช้ยาทาเฉพาะบริเวณ ซึ่งมาในรูปแบบของครีม เช่น เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) 500 มิลลิกรัม, ครีมคลินดามัยซิน (Clindamycin cream) 2 % หรือ เจลเมโทรนิดาโซล (Metronidazole gel) 0.75 %
2.2.4 รับประทานนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต ที่มีแล็คโตบาซิลลัส เพื่อเพิ่มจำนวนแล็คโตบาซิลลัส ในช่องคลอดเพื่อไปลดจำนวนของเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุหนึ่งของอาการคันน้องสาว
โรคเริม (Herpes simplex)
2.3.1 รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) รับประทานครั้งละ 200 มิลลิกรัม รับประทาน 5 ครั้งต่อวัน ทุก ๆ 4 ชั่วโมง ยกเว้นเวลานอน ติดต่อกัน 5-10 วัน สำหรับ
2.3.2 รับประทานยาแฟมไซโคลเวียร์ (Famciclovir) รับประทานครั้งละ 250 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 5 วัน ในผู้ป่วยบางรายที่มีภูมิคุ้มกันลดลง แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 7 วัน
2.3.3 รับประทานยาวาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 3–5 วัน หรือรับประทานติดต่อกันนานถึง 10 วัน ในกรณีติดเชื้อครั้งแรก ในผู้ป่วยบางรายที่มีภูมิคุ้มกันลดลง แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานครั้งละ1,000 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 5 วัน หรือรับประทานติดต่อกันนานถึง 10 วัน ในกรณีติดเชื้อครั้งแรก
 
โรคหูดหงอนไก่ (Genital warts) 
การทายา (Topical medications) โดยแพทย์จะทำการนัดทายาสัปดาห์ละครั้ง โดยแพทย์จะทายาทั้งบริเวณภายนอกและภายในของนอกสาว โดยยาจะออกฤทธิ์ไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ ช่วยหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์หูดหงอนไก่ ทำให้เซลล์ฝ่อลงและหลุดออกไป ส่วนชิ้นเนื้อที่เป็นส่วนเกินจากการรักษาอาจต้องใช้ การผ่าตัดชิ้นเนื้อออก การจี้ร้อนด้วยไฟฟ้า การจี้เย็นด้วยไนโตรเจนเหลว หรือการรักษาด้วยเลเซอร์ แล้วแต่กรณี
 
โรคหนองใน (Gonorrhea) 
การฉีดยาปฏิชีวนะ ที่ชื่อว่า เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพียงครั้งเดียว ร่วมกับรับประทานยาที่ชื่อว่า โอฟลอกซาซิน (Ofloxacin) ติดต่อกัน 10 วัน หรือตามที่งแพทย์หรือเภสัชกรแนะนำเท่านั้น
 
จากข้อมูลทั้งหมดจะพบว่าอาการคันน้องเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วยทั้งสิ้น การรักษาจึงไม่ใช่ทางออกที่ดีสักเท่าไหร่ เพราะหากเกิดการติดเชื้อจนลุกลามและรุนแรง ก็จะทำให้เสียสุขภาพและเสียค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ เพราะเหตุนี้อาการคันน้องสาวจึงไม่ใช่แค่เรื่องธรรมดา ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมที่สุด ที่จะไม่ให้เกิดอาการคันน้องสาวและการติดเชื้ออย่างรุนแรง
 
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก https://www.gangnamconsult.com/vaginal-itching/

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที