metahealth

ผู้เขียน : metahealth

อัพเดท: 24 ธ.ค. 2023 23.04 น. บทความนี้มีผู้ชม: 6578 ครั้ง

บทความแนะนำ แหล่งความรู้เกี่ยวความงามสำหรับผู้หญิง


แผลคีลอยด์ คืออะไร? ปล่อยไว้นานเป็นอะไรไหม? รักษาด้วยวิธีไหนได้ผลดี

แผลเป็นคีลอยด์
 
เชื่อเลยว่าปัญหารอยแผลเป็น แม้จะเป็นรอยแผลเป็นเล็กๆ ก็ทำให้ใครหลายคนรู้สึกหมดความมั่นใจ และอยากกำจัดออกไปให้เร็วที่สุด ดังนั้นสำหรับแผลคีลอยด์ที่มีลักษณะเห็นได้ชัดเจนกว่า มีขนาดที่สามารถขยายได้ และจับกลุ่มเป็นก้อนนูนได้ ยิ่งเป็นปัญหาให้กลุ้มใจมากขึ้น บทความวันนี้ จึงจะให้ข้อมูล แผลคีลอยด์คืออะไร มีทั้งหมดกี่แบบ แต่ละแบบต่างกันอย่างไรบ้าง และเลือกวิธีรักษาแบบไหน ถึงจะให้ผลลัพธ์ดี หายสนิท
 
 
 

คีลอยด์ คืออะไร

คีลอยด์ เป็นประเภทของรอยแผลเป็นรูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษระเป็นแผลนูน แดง หรือลักษณะสีน้ำตาลคล้ำ มีขนาดเล็กและขยายได้ไปถึงก้อนใหญ่ ที่สามารถกระจายเป็นวงกว้างออกนอกขอบเขตของแผลเดิม เมื่อปล่อยทิ้งไว้จะอยู่เช่นนั้น ไม่ยุบแบน และสามารถมีการขยายตัวขึ้นกว่าเดิม 
 
 

แผลคีลอยด์ เกิดจากอะไร

แผลเป็นคีลอยด์ เกิดจากการตอบสนองของผิวหนังในช่วงซ่อมแซมหลังจากได้รับบาดเจ็บจนเกิดบาดแผล เช่น แผลฉีกขาด หลุมแผลอักเสบ จะมีการสร้างเนื้อเยื่อใหม่และคอลลาเจนออกมามากจนเกินไป จึงเกิดความไม่สมดุลทำให้เกิดรอยสมานแผลที่มีลักษณะนูน ไม่เรียบเนียน
 

ลักษณะเฉพาะที่บ่งบอกว่าเป็น แผลคีลอยด์

 

ตำแหน่งที่เกิดแผลคีลอยด์ได้บ่อยที่สุด

แผลคีลอยด์ สามารถเกิดได้ทุกตำแหน่งบนร่างกาย แต่จะเกิดขึ้นบ่อยในตำแหน่งที่ผิวมีการยึดตึงเยอะ เช่น
 
 

แผลคีลอยด์ มักเกิดขึ้นกับใคร

จริงๆ แล้วแผลคีลอยด์เกิดได้กับทุกคน แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้มากกว่าปกติกับกลุ่มคนต่อไปนี้
 
แผลเป็นคีลอยด์ รักษา

วิธีรักษาแผลคีลอยด์

เพราะแผลคีลอยด์ เป็นแผลที่รักษายาก จึงไม่สามารถรักษาให้หายสนิทได้ด้วยผลิตภัณฑ์ดูแลผิว หรือรักษาริ้วรอยได้เหมือนพวกครีมลบเลือนริ้วรอย ดังนั้นต้องใช้นวัตกรรมแบบบเฉพาะเจาะจง ดังนี้
 

ฉีดยาสเตียรอยด์

เป็นการใช้ตัวยา Triamcinolone acetonide ฉีดลงไปบริเวณที่เกิดแผลคีลอยด์โดยตรง เพื่อลดการอักเสบ ยับยั้งการทำงานของเซลล์ผิวหนังที่พยายามสร้างเนื้อเยื่อมากเกินไป วิธีนี้ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา ต้องมีการฉีดซ้ำตามแพทย์กำหนด ประมาณ 4 ครั้ง เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด
 
เหมาะกับใคร 
ผู้ที่มีแผลคีลอยด์นูน ยังไม่กระจายตัวออกจากรอยแผลเดิมมากนัก
ผู้ที่ต้องการรักษาแผลคีลอยด์ แต่กลัวการผ่าตัด
 

แผ่นซิลิโคนรักษาแผลคีลอยด์

เป็นการใช้แผ่นซิลิโคนเกรดการแพทย์ แปะลงไปบริเวณแผลคีลอยด์ เพื่อช่วยกดทับการขยายตัวของแผล ไม่ให้เกิดการนูนออก 
 
เหมาะกับใคร
ผู้ที่เพิ่งเป็นแผลคีลอยด์ใหม่ๆ ยังไม่ผ่านระยะเวลานาน
 

ผ่าตัดแผลคีลอยด์

เป็นวิธีผ่าเอาคีลอยด์ที่นูนยื่นออกมาเยอะ หรือเป็นก้อนห้อยย้อยออกและเย็บแผลปิดให้เรียบสนิท วิธีผ่าตัดนี้มักทำร่วมกับหัตถการอื่น เช่น การเลเซอร์ การใส่ผ้ายืดกบทับแผลไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ
 
เหมาะกับใคร
ผู้ที่เคยรักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์มาแล้วแต่ไม่เห็นผล
ผู้ที่มีลักษณะแผลคีลอยด์แบบก้อนใหญ่ ที่มักพบได้บ่อยบริเวณใบหู อันเกิดจากแผลเจาะหู
 

ใช้ความเย็นจากเครื่อง Cryosurgery

 
เป็นวิธีรักษาแผลเป็นด้วยไนโตรเจนเหลว จี้หรือพ่นลงไปบริเวณแผลคีลอยด์ หลังจากนั้นจะปล่อยให้อุ่นขึ้น เพื่อให้เนื้อเยื่ออยู่ในภาวะถุงน้ำ และแตกสลายได้ง่าย 
 
เหมาะกับใคร
ผู้ที่เป็นแผลคีลอยด์ 
ผู้ที่มีปัญหาผิวหนังอื่นๆ เช่น กระเนื้อ ไฝ เชื้อราบนผิวหนัง หูดหงอนไก่ และมะเร็งผิวหนัง
 

เลเซอร์รักษาแผลคีลอยด์

อีกหนึ่งวิธีรักษาแผลคีลอยด์ที่ให้ผลที่ชัดเจน  และได้รับความนิยม ด้วยการส่งพลังงานคลื่นที่มีผลต่อหลอดเลือด ลงไปใต้ผิวหนังกระตุ้นการเรียงตัวกันของเนื้อเยื่อและคอลลาเจน ทำให้รอยนูนค่อยๆ กลับมาเรียบเนียนเป็นผิวปกติ
 
เหมาะกับใคร
ผู้ที่เป็นแผลคีลอยด์พร้อมๆ กับต้องการฟื้นฟูผิวให้กลับมามีสุขภาพดี เรียบเนียนจากภายในสู่ภายนอก
 

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดแผลคีลอยด์

สำหรับการดูแลผิวหนังเพื่อป้องกันไม่เกิดคีลอยด์ ทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มทันทีเมื่อพบว่าผิวหนังของตัวเองเกิดแผลอักเสบ แผลสด ดังนี้
 
 

รักษาแผลคีลอยด์ ทำที่คลินิกไหนดี

การเลือกสถานพยาบาลเพื่อรักษาแผลคีลอยด์ นอกจากเรื่องมาตรฐาน เปิดให้บริการถูกต้องตามกฎหมาย มีความน่าเชื่อถือ มีอุปกรณ์การรักษาครบครัน และแพทย์ผู้ทำการรักษาให้ ต้องมีความเชี่ยวชาญในการรักษา ให้คำปรึกษาที่ถูกต้องตรงไปตรงมา และติดตามผลการรักษาของคนไข้จนบรรลุผลลัพธ์ 
 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการรักษาแผลคีลอยด์

รักษาแผลคีลอยด์เองได้ไหม?
แผลคีลอยด์สามารถรักษาให้ยุบตัวและจางลงได้หากเป็นแผลคีลอยด์ขนาดเล็ก ยังไม่มีการกระจายตัวทั้งขนาดและความกว้าง และต้องเพิ่งเกิดขึ้นใหม่ๆ ไม่ใช่แผลที่เป็นมานานแล้ว
 
แผลคีลอยด์แบบไหน รักษายากสุด?
แผลคีลอยด์ในลักษณะนูนบวม และเป็นก้อน จะรักษาหายได้ยาก ในบางรายจำเป็นต้องใช้หลายเทคนิคร่วมกัน เช่นฉีดยาสเตียรอยด์ ร่วมกับการทำเลเซอร์กระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณแผลให้แตกตัวและค่อยๆ ยุบจนค่อยๆ เรียบเนียน
 
ศัลยกรรมผ่าตัด ทำให้เกิดแผลคีลอยด์ ไหม?
โดยปกติแล้วหากทำโดยศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญ การผ่าตัดตกแต่งผิวหนัง หรืออวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายจะไม่ทำให้เกิดคีลอยด์ นอกเสียจากแพทย์ไม่เชี่ยวชาญการผ่าตัด ตกแต่งเย็บแผลไม่เก่ง อาจทำให้เนื้อเยื่อได้รับความเสียหายหนักจนทำให้เป็นคีลอยด์
 
แผลคีลอยด์ ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษาจะกลายเป็นมะเร็งหรือเปล่า?
ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งแน่นอน แม้จะปล่อยให้ก้อนแผลมีขนาดใหญ่ เนื่องจากแผลคีลอยด์ เป็นเพียงกระบวนการซ่อมแซมผิวที่ถูกทำลายมากเกินไป จนเกิดเป็นเนื้อนูนมาปกปิดบริเวณแผลเยอะเกินไป
 
อาการคัน รู้สึกแป๊บๆ ที่แผลคีลอยด์ เป็นอาการผิดปกติไหม?
แผลคีลอยด์สามารถมีอาการคันๆ หรือให้ความรู้สึกแป๊บๆ ได้ ซึ่งไม่ใช่อาการผิดปกติ แต่หากมีอาการปวดมากขึ้น สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาได้
 

จะรู้ได้อย่างไร ว่าเมื่อไหร่ควรรักษาแผลคีลอยด์?

สำหรับปัญหาแผลคีลอยด์ แม้ว่าจะไม่ส่งผลต่อสุขภาพ และไม่ก่อให้เกิดโรคใดๆ แต่หากแผลคีลอยด์อยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัดจนทำให้ขาดความมั่นใจ หรืออยู่ในตำแหน่งที่มักโดนเสียดสีจนรู้สึกเจ็บ ก็เป็นเหตุผลที่เหมาะสมในการตัดสินใจเข้ารับการรักษา
 

สรุป แผลคีลอยด์ รักษาได้ไหม?

คีลอยด์ คือรอยแผลเป็นชนิดหนึ่ง แต่มีลักษณะที่นูนเป็นก้อน และสามารถขยายใหญ่ขึ้นได้ และมักเป็นรอยแผลเป็นที่รักษาหายได้เองค่อนข้างยาก จึงนิยมรักษาด้วยเทคนิคทางการแพทย์ เช่น ฉีดยาสเตียรอยด์, แผ่นซิลิโคนรักษาแผลคีลอยด์, ผ่าตัดแผลคีลอยด์, ใช้ความเย็นจากเครื่อง Cryosurgery และเลเซอร์รักษาแผลคีลอยด์ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาคีลอยด์ คือการประเมินระดับผิวที่เป็นรอยแผลว่าเยอะแค่ไหน ขยายวงกว้างมากเพียงใด เพื่อประเมินเทคนิคในการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหากเป็นแผลคีลอยด์ขนาดใหญ่ จะใช้วิธีผ่าตัด ร่วมกับการเลเซอร์เพื่อยับยั้งการสร้างเนื้อเยื่อและคอลลเจนที่ผิดปกติของร่างกาย พร้อมๆ กับฟื้นฟูชั้นผิวให้กลับมาทำงานได้ปกติ และสุขภาพดี เรียบเนียนไม่นูน 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที