Jenniee

ผู้เขียน : Jenniee

อัพเดท: 28 ต.ค. 2022 15.21 น. บทความนี้มีผู้ชม: 450 ครั้ง

ในปัจจุบันเมืองหลวงใหญ่ๆ จากทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาด้านมลพิษที่จากฝุ่นควันที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์สันดาป และการเผาไหม้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวการหลักที่ทำให้สภาพอากาศแย่ลง


Green Infrastructure สำคัญอย่างไรต่อสิ่งแวดล้อม

ในปัจจุบันเมืองหลวงใหญ่ๆ จากทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาด้านมลพิษที่จากฝุ่นควันที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์สันดาป และการเผาไหม้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวการหลักที่ทำให้สภาพอากาศแย่ลง แถมยังมีผลกระทบไปถึงภาวะโลกร้อนหรือ Climate Change นั่นเอง ด้วยปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดแนวคิด Green Infrastructure หรือระบบโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวนั่นเอง
 
Green Infrastructure คืออะไร
โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว คือ โครงข่ายพื้นที่ที่มีการนำธรรมชาติเข้าเป็นส่วนร่วมหลักภายในบริเวณนั้น ให้เกิดเป็น Ecosystem Services หรือประโยชน์ทางด้านนิเวศบริการนั่นเอง ซึ่งประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ก็จะได้รับผลประโยชน์ทั้งในแง่ของสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยร่มรื่น มีอากาศที่สะอาด ช่วยปกป้องผลกระทบที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและอากาศ เช่น น้ำท่วม การป้องกันหน้าดินทลาย เป็นต้น
 
Green Infrastructure มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
โครงสร้างพื้นฐานสีเขียวสำหรับการอยู่อาศัยประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบหลักดังนี้
  1. Green Buffer คือ พื้นที่ทางธรรมชาติที่ประกอบไปด้วยพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้าน นำมาฟื้นฟูให้เกิดเป็นพื้นที่ที่มีประโยชน์ สามารถช่วยป้องกันมลพิษอย่างฝุ่นและควันพิษที่เป็นอันตรายต่อทางเดินหายใจมนุษย์ได้ และยังสามารถช่วยรับน้ำเมื่อเกิดฤดูน้ำหลากที่เป็นต้นเหตุของน้ำท่วม
  2. Green Patch คือ พื้นที่สีเขียวที่มีหน้าที่ดูดซับฝุ่นควันให้กับผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ หากในบริเวณนั้นมีระบบการจัดการที่ดีก็จะยิ่งมีพื้นที่เพื่อฟอกอากาศต่อ 1 คนมากขึ้นเท่านั้น
  3. Green Corridor คือ แนวทางการจัดระเบียบพื้นที่ใช้สอยให้มีความเรียบร้อย เพื่อให้เกิดพื้นที่สำหรับธรรมชาติมากขึ้น เช่น การนำสายไฟฟ้า สายเคเบิลต่างๆ ลงไว้ใต้ดิน การจัดสรรถนนทางเดินที่มีประโยชน์รวมกันทั้งคนและธรรมชาติ
  4. Green Building คือ แนวทางเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่ที่เป็นสิ่งปลูกสร้างมากขึ้น เช่น การเพิ่มส่วนดาดฟ้า การออกแบบอาคารที่ใช้ประโยชน์จากแสงและลมธรรมชาติแบบเป็นรูปธรรม
  5. Green Canal and River คือ แนวทางการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำลำคลองในเชิงนิเวศมากขึ้น เพื่อผลิตเป็นพลังงานสะอาด
 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที