อ.สมิต

ผู้เขียน : อ.สมิต

อัพเดท: 19 ส.ค. 2008 16.28 น. บทความนี้มีผู้ชม: 828940 ครั้ง

การนำเสนอเป็นหนึ่งในทักษะที่ทุกคนจะต้องฝึกฝนให้เกิดขึ้นแก่ตน เพราะเป็นทางนำมาซึ่งความสำเร็จในการนำผลงาน แผนงาน โครงการและความคิดต่างๆ เสนอเพื่อให้มีการรับรอง หรือ อนุมัติ นับว่าเป็นสิงสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานและการดำเนินชีวิต


เทคนิคการนำเสนอ- รูปแบบของการนำเสนอ

ความสำคัญของการนำเสนอ

                       การนำเสนอมีคุณค่าเป็นพิเศษ  ทำให้ความคิดความเห็นของผู้นำเสนอ  ได้มีการถ่ายทอดไปยังผู้รับการนำเสนอ  หากผู้เสนอมีเทคนิคการนำเสนอที่ดี  ก็จะทำให้น่าสนใจ  น่าพิจารณาและประสพผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับ  ในทางตรงกันข้ามหากการนำเสนอขาดเทคนิคที่ดี  ก็จะให้ความคิด  ความเห็น และรายงาน  ตลอดจนข้อเสนอต่างๆไม่น่าสนใจ  และไม่ได้รับการพิจารณา  การเตรียมการ และ การใช้เวลาการนำเสนออย่างมากมายก็จะไม่เป็นผล  ทำให้เกิดการสูญเปล่า

                       การนำเสนอที่ดีจะทำให้ผู้รับการนำเสนอมีความพึงพอใจให้ความเคารพ  ในความคิดของผู้นำเสนอ  มีความชื่นชม  และ ให้เกียรติยอมรับยกย่อง  การนำเสนอก็จะได้รับผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์

 

                       รูปแบบของการนำเสนอ

                        การนำเสนอมีได้หลายรูปแบบ  ซึ่งจะต้องพิจารณาเลือกใช้รูปแบบให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ  และ ความต้องการของผู้รับการนำเสนอ  โดยทั่วไปจะมีการใช้อยู่ สองรูปแบบได้แก่

                            1.  แบบสรุปความ ( qutline )

                            2.  แบบเรียงความ  ( essay )

                        แบบสรุปความ  คือ  การนำเสนอเนื้อหาทั้งที่เป็นข้อเท็จจริง  ความคิดเห็น  และ  ข้อพิจารณาเป็นข้อๆ

                        แบบเรียงความ  คือ  การนำเสนอด้วยการพรรณนา  ถึงเนื้อหาละเอียด

                        การเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง  จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม และ สถานการณ์ในการนำเสนอ  การนำเสนอแบบสรุปความมักใช้ในการนำเสนอ  ข้อมูลอันประกอบด้วย  ข้อเท็จจริง  สิ่งที่ค้นพบ  เพื่อให้ผู้รับการนำเสนอรับรู้อย่างรวดเร็ว  ส่วนการนำเสนอแบบเรียงความ  มักใช้ในการนำเสนอความคิดเห็น  และการให้เหตุผลโน้นน้าวชักจูงใจ ซึ่งจะต้องมีการอรรถาธิบาย  ในรายละเอียดต่างๆประกอบการนำเสนอ

                        การเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอ  จะพิจารณาปริมาณของเนื้อหาสาระ  วัตถุประสงค์  และ จุดมุ่งหมายที่ต้องการบรรจุ  การเร้าความสนใจ  สถานการณ์ในการนำเสนอ  และ  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับการนำเสนอกับผู้นำเสนอ

 

                        ในการนำเสนอข้อมูลเพื่อการพิจารณา  จะนิยมใช้ตาราง  และ  แผนภาพ ประกอบ  เพื่อการวิเคราะห์หรือเปรียบเทียบที่เห็นได้ชัดเจนและรวดเร็ว


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที