วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 02 พ.ค. 2023 22.09 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4770 ครั้ง

ความรู้เกี่ยวกับประกันชีวิต ประกันสุขภาพ


Copayment คืออะไร? จำเป็นไหมที่เราจะต้องมีประกันสุขภาพเสริมแบบนี้

Copayment

เชื่อว่า หลาย ๆ คนคงจะต้องมีประกันสุขภาพกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะซื้อด้วยตนเองหรือเป็นประกันกลุ่ม แต่อย่างไรประกันเหล่านั้นก็มีวงเงินในการรักษาพยาบาลที่จำกัด แต่เรื่องความเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถกำหนดได้ จะดีกว่าหรือไม่ ถ้าหากเราสามารถเพิ่มวงเงินในการรักษาพยาบาลได้มากขึ้น แต่จ่ายเบี้ยประกันได้ถูกลง บทความนี้ ขอนำเสนอประกันสุขภาพแบบ Copayment ที่ช่วยแก้ปัญหานี้ให้คุณได้

 


Copayment คืออะไร?! 

Copayment คือ

Copayment คือ ประกันสุขภาพในรูปแบบการมีส่วนร่วมจ่าย โดยบริษัทประกันมีการระบุเป็นเงื่อนไขว่า ทุกครั้งที่มีการเข้ารับการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยของผู้เอาประกัน ทางผู้เอาประกันจะต้องมีส่วนร่วมในการจ่ายค่ารักษาตามเปอร์เซ็นต์คงที่ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ จากค่าใช้จ่ายในการรักษาทั้งหมด

 

ยกตัวอย่างเช่น เราตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพแบบ Copayment แบบ 20% ไว้ นั่นหมายความว่า หากเราเข้ารับการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยในและมีค่าใช้จ่าย เราจะต้องร่วมชำระค่ารักษาในครั้งนั้นด้วย โดยคิดเป็น 20% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด เช่น หากค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด คือ 100,000 บาท การมีส่วนร่วมจ่ายของเราก็อยู่ที่ประมาณ 20,000 บาท (20%) โดยที่บริษัทประกันจะจ่ายค่ารักษาอีก 80,0000 บาท หรือก็คือ 80% ที่เหลือ เป็นต้น

โดยประกันสุขภาพแบบ Copayment สามารถสรุปลักษณะเด่น ๆ ได้ ดังนี้

กล่าวได้ว่า Copayment คือ ระบบประกันสุขภาพที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยลดเบี้ยประกันต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์สำหรับผู้ถือกรมธรรม์ ถ้าหากว่าปีนั้น ๆ ผู้ถือกรมธรรม์ไม่ค่อยได้ป่วยหรือไม่ได้เคลมเลย แต่ถ้าหากมีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน ผู้ถือกรมธรรม์ก็จะต้องมีส่วนร่วมจ่ายตามเปอร์เซ็นต์ที่ระบุตามกรมธรรม์ทุกครั้ง ซึ่งการกำหนดการมีส่วนร่วมจ่ายเป็น % นี้ ยิ่งค่ารักษาแพง เราก็ยิ่งต้องจ่ายแพงด้วยเช่นกัน
 

แต่นอกเหนือจาก Copayment แล้ว ยังมีประกันสุขภาพอีกแบบที่ออกมาคล้าย ๆ กัน ซึ่งอาจจะสร้างความสับสนให้คุณได้ นั่น คือ ประกันสุขภาพแบบ Deductible โดยการประกันแบบ Deductible นี้ เป็นแบบที่ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยในส่วนแรก คล้ายกับแบบ Copayment แต่สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ

ทีนี้ เราก็พอจะเข้าใจประกันสุขภาพแบบ Copayment มากขึ้นแล้ว ว่า เป็นประกันสุขภาพรูปแบบหนึ่งที่เราจะต้องมีการมีส่วนร่วมจ่ายด้วยทุกครั้งของการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยในตามจำนวน % ที่ได้ตกลงกับบริษัทประกันภัย ยิ่งเราตกลง % ไว้สูง เราก็ยิ่งต้องจ่ายแพงด้วยเช่นกัน แต่ก็แลกมากับการจ่ายเบี้ยประกันต่อปีที่ถูกลง


ข้อดีของประกันสุขภาพแบบ Copayment 

เมื่อเราเข้าใจประกันสุขภาพแบบ Copayment แล้วว่า เป็นการมีส่วนร่วมจ่ายในการชำระค่ารักษาพยาบาลตามจำนวน % ที่ได้มีการตกลงกับบริษัทประกัน บางคนก็อาจจะมองว่า เป็นการเสียเปรียบ เพราะเราได้จ่ายค่าเบี้ยประกันไปแล้ว แต่ทำไมเรายังจะต้องมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลอีก ดังนั้น เราจะสรุปข้อดีของประกันสุขภาพแบบ Copayment ให้ฟัง ดังนี้


ข้อจำกัดของประกันสุขภาพแบบ Copayment 

นอกจากข้อดีที่กล่าวไปแล้ว ประกันสุขภาพแบบ Copayment เองก็ยังมีข้อจำกัดบางประการสำหรับบางคน ที่เราจะต้องรู้และเข้าใจเสียก่อนตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพแบบนี้  นั่นคือ ประกันสุขภาพแบบ Copayment ไม่เหมาะสำหรับบุคคลที่ต้องการจะซื้อประกันสุขภาพเป็นฉบับแรกและฉบับเดียวในชีวิต โดยที่ไม่เคยมีประกันสุขภาพใด ๆ มาก่อนหรือไม่มีสวัสดิการอื่น ๆ 

ตามที่เราได้อธิบายไปแล้วว่า ประกันสุขภาพแบบ Copayment คือ การมีส่วนร่วมจ่ายในค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดในฐานะผู้ป่วยในทุกครั้ง นั่นหมายความว่า ทุกครั้งที่คุณเข้ารักษาก็จะต้องชำระเงินเพิ่มเติม ทั้ง ๆ ที่คุณได้ชำระค่าเบี้ยประกันไปแล้ว

ดังนั้น หากคุณตัดสินใจที่จะซื้อประกันสุขภาพสักฉบับ และตั้งใจที่จะซื้อเพียงฉบับเดียว เราแนะนำให้ซื้อประกันสุขภาพแบบปกติ (Full Coverage) จะดีกว่า เพราะมีการดูแลที่ครอบคลุมมากกว่า ทำให้คุณชำระเบี้ยประกันครั้งเดียว ก็สามารถดูแลได้ทุกกรณี ส่วนประกันสุขภาพแบบ Copayment เหมาะสำหรับการซื้อเพื่อเสริมให้ประกันสุขภาพของคุณมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น


ประกันสุขภาพแบบ Copayment เหมาะกับใคร?

การมีส่วนร่วมจ่าย

 

ประกันสุขภาพแบบ Copayment เหมาะสำหรับบุคคลที่มีประกันสุขภาพฉบับอื่น ๆ หรือมีสวัสดิการประกันกลุ่มอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว เพราะจุดประสงค์หลักของประกันสุขภาพแบบ Copayment คือ การใช้ร่วมกับประกันฉบับอื่น ๆ และเพื่อเพิ่มวงเงินความคุ้มครองด้านค่ารักษาพยาบาลที่มากขึ้น แต่ต้องการจ่ายค่าเบี้ยประกันถูกลงจากเดิม

ยกตัวอย่างเช่น หากเราต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล โดยประกันสุขภาพฉบับเดิมที่เรามีอยู่ สามารถจ่ายค่ารักษาได้สูงสุดที่ 30,000 บาทต่อปี แต่ค่าใช้จ่ายที่จะต้องชำระ คือ 200,000 บาท ดังนั้น เราก็จะใช้ประกันสุขภาพเดิมที่มีอยู่ออกให้ได้ 30,000 บาทและจะต้องออกเองอีก 10,000 บาท รวมเป็น 40,000 บาท นั่นก็คือ 20% ของ 200,000 บาท (ในกรณีที่เราทำประกันสุขภาพแบบ Copayment 20%)

กล่าวได้ว่า ประกันสุขภาพแบบ Copayment เหมาะสำหรับผู้ที่มีประกันสุขภาพแบบอื่นอยู่ก่อนแล้ว และต้องการการมีส่วนร่วมจ่ายชำระเพิ่มเติมจากบริษัทประกันเพิ่มขึ้น โดยที่ชำระเบี้ยประกันให้น้อยลงนั่นเอง

แต่ต้องการซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติม เนื่องจากต้องการ เพื่อนำมาใช้ในการเบิกเคลมร่วมกันกับประกันสุขภาพหรือสวัสดิการอื่นที่มี การมีส่วนร่วมจ่าย


สรุป

ประกันสุขภาพแบบ Copayment คือ ระบบประกันสุขภาพที่มีการมีส่วนร่วมจ่ายของผู้เอาประกัน เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยในตามจำนวน % ที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ ยิ่งมี % ที่สูง เราก็ยิ่งต้องชำระเพิ่มขึ้น แต่ก็แลกมากับการจ่ายเบี้ยประกันที่ถูกลง แต่เพิ่มวงเงินในการรักษาพยาบาลที่มากขึ้น โดยประกันสุขภาพแบบ Copayment นี้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีประกันสุขภาพแบบปกติอยู่ก่อนแล้ว


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที