Persona ที่อ่านว่า เพอโซน่า คือ ส่วนประกอบที่สำคัญในการทำธุรกิจ เมื่อก้าวเข้าสู่วงการนักการตลาดหรือเรียนรู้ที่จะทำการตลาดแล้วนั้น จะต้องได้ยินคำว่า Persona, user persona ที่แปลว่า การจำลองลูกค้าในอุดมคติ หรือ Persona target ที่มีความหมายเช่นเดียวกัน ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น เราจึงอยากมาแนะนำว่า Persona คืออะไร ขั้นตอนการสร้างแบบจำลองมีอะไรบ้าง และเราจะแสดงตัวอย่างของ Persona เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการวางแผนให้กับธุรกิจ
Persona คืออะไร? ทำไมต้อง Persona? งั้นจะอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ โดย Persona แปลว่า บุคคล ส่วนในทางการตลาด Persona คือ แบบจำลองบุคคลหรือการเขียนข้อมูลลูกค้าซึ่งจะทำให้เข้าใจบริบท การใช้ชีวิตประจำวัน หรือพฤติกรรมของลูกค้า โดยเราสามารถนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนทางการตลาดให้เหมาะกับลูกค้าได้
นอกจากนี้ Persona ยังหมายถึง การสร้างบุคลิกหรือลักษณะของตัวแทนกลุ่มเป้าหมายในอุดมคติได้อีกด้วย โดย Persona มีชื่อเรียกที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น Buyer Persona ที่มีความหมายเดียวกับ Customer Persona คือ การใช้ข้อมูลวิจัยทางการตลาดมารวบรวมเป็นข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อกำหนดบุคลิกและอธิบายลักษณะของลูกค้าได้อย่างชัดเจน
หากคุณกำลังมีสินค้าหรือบริการที่ไม่ได้มีกลุ่มทางการตลาดเพียงกลุ่มเดียว แน่นอนว่าจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลในขั้นตอนนี้เป็นอย่างดี เนื่องจากจะได้ทำความเข้าใจว่ากลุ่มลูกค้าหลักของธุรกิจคุณคือใคร ซึ่งมีวิธีการดังนี้
1. รวบรวมข้อมูลลูกค้า โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมรายชื่อลูกค้าที่มีการซื้อสินค้าในธุรกิจทั้งหมด และข้อมูลของลูกค้าแต่ละรายจะแสดงอะไรบ้าง ซึ่งสามารถกำหนดได้ตามความต้องการ โดยสามารถเลือกว่าต้องการจะรวบรวมข้อมูลใดบ้าง เช่น
2. วิเคราะห์ระดับภาพรวม
เมื่อได้รวบรวมลูกค้าแล้วก็ควรจะเริ่มนำมาวิเคราะห์เพื่อมองหาแนวโน้มที่เป็นไปได้ต่อธุรกิจให้ได้มากที่สุด อาจกล่าวได้ว่าเป็นการมองหาแนวโน้มเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกว่าใครคือกลุ่มลูกค้าที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจ โดยมีรายละเอียดการวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าดังนี้
ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้จะเป็นตัวช่วยสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีผลต่อสินค้าหรือบริการ ดังนั้นอย่าลืมที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลของกลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุดเพื่อนำมาวิเคราะห์ในขั้นตอนทั้งหมด และยังสามารถเป็นการศึกษาพฤติกรรมได้เช่นกันว่าลูกค้ามีพฤติกรรมแบบไหน ลูกค้าถึงจะตัดสินใจเสียเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ
3. การวิเคราะห์ระดับบุคคล เป็นวิธีการหลังจากที่ทราบแล้วว่ากลุ่มลูกค้าที่ดีที่สุดคือใคร ดังนั้นก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องค้นหาลูกค้าที่อยู่ในอุดมคติของธุรกิจ โดยสามารถรวบรวมข้อมูลที่ได้มากจากการวิเคราะห์ระดับภาพรวม เช่น ตำแหน่งงานหรือเพศ และเมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดมาก็สามารถนำมาสร้างกราฟหรือแผนภูมิและหาจุดที่สำคัญอย่างยอดขาย ที่ส่วนใหญ่เกิดจากเพศชายหรือเพศหญิง แล้วนำข้อมูลนี้เสนอสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
หลังจากที่เข้าใจแล้วว่ากลุ่มเป้าหมายของธุรกิจคือใคร จากการศึกษากลุ่มเป้าหมายในระดับภาพรวมและระดับบุคคล มันก็ถึงเวลาที่ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบุคคลเหล่านี้ ซึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพและได้ผลสุด ๆ คือ การสัมภาษณ์ โดยมีขั้นตอนดังนี้
หลังจากที่ได้ข้อมูลทั้งหมดมาแล้ว เราจะเริ่มเข้าใจได้เป็นอย่างดีว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร และควรนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ทั้งหมดมาเริ่มสร้าง Persona Template (Drafting the Persona) เพื่อจะได้เห็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในอุดมคติคร่าว ๆ
เมื่อได้สร้าง Persona Template (Drafting the Persona) เสร็จสิ้นแล้ว จะต้องนำข้อมูลทั้งหมดส่งต่อไปยังทีมงานต่าง ๆ ในธุรกิจที่ต้องการข้อมูลเหล่านี้เพื่อนำไปวางแผนทางการตลาด เช่น การนำเสนอข้อมูลโดยเน้นลักษณะของลูกค้าในอุดมคติและนำไปสร้างสินค้าที่เหมาะสม หลังจากนั้นต้องหาข้อมูลการรีวิวหรือความคิดเห็นที่ได้จากลูกค้ามาวิเคราะห์อีกที เพื่อศึกษาว่าการทำ Persona ตรงกับความต้องการของ target persona หรือไม่โดย target persona คือกลุ่มเป้าหมายตามแบบจำลองลูกค้าในอุดมคตินั่นเอง
ขอบคุณรูปภาพจาก https://contentshifu.com/blog/understand-buyer-persona-plan-content#_Persona_B2B
B2C ย่อมาจาก Business to Consumer หรือธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการให้กับผู้บริโภคหรือกลุ่มลูกค้าทั่วไป โดยสำหรับการทำ Persona จะต้องดูเป้าหมายหรือ Goal ของลูกค้าคนนั้นว่าคืออะไร ลักษณะของลูกค้าเป็นแบบไหน และเกณฑ์ในการซื้อคืออะไร เราถึงจะสามารถสร้าง Persona ที่ตรงกับลูกค้ากลุ่มนั้นได้
ขอบคุณรูปภาพจาก https://contentshifu.com/blog/understand-buyer-persona-plan-content#_Persona_B2B
B2B นั้นย่อมาจาก Business to Business หรือการทำธุรกิจที่เน้นไปทางการขายไปยังกลุ่มลูกค้าที่เป็นองค์กร ซึ่งในส่วนนี้คุณจะต้องคำนึงถึง เป้าหมายขององค์กรเป็นหลัก รวมไปถึงเกณฑ์การซื้อต่าง ๆ นอกจากนี้ยังต้องศึกษาเส้นทางพฤติกรรมก่อนการตัดสินใจซื้อในสินค้าหรือบริการนั้น ๆ โดยรวมแล้วถ้าคุณมองเห็นภาพรวมหรือพฤติกรรมขององค์กรได้ทั้งหมด คุณก็จะสามารถวางแผนทางการตลาดได้เป็นอย่างดีแน่นอน
แน่นอนอยู่แล้วว่าการทำ Persona มีความสำคัญต่อธุรกิจเนื่องจากเป็นตัวช่วยในการสร้างกลุ่มเป้าหมายที่ตรงกับลูกค้าจริงมากที่สุด สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เหมาะกับบุคลิกของแบรนด์ได้ อีกทั้งยังเป็นเหมือนการขายสินค้าและบริการให้กับคนเฉพาะกลุ่ม (Niche Marketing)รวมไปถึงเป็นตัวช่วยในการวาง Content Mapping ได้ว่า กลุ่มเป้าหมายกำลังสนใจอะไรและต้องแสดงคอนเทนต์อะไรลูกค้าถึงจะดึงดูดลูกค้าได้ ยิ่งไปกว่านั้นในหน้าเว็บไซต์เราก็ยังสามารถทำ UX designing ได้เพื่อออกแบบประสบการณ์การใช้งานเพื่อให้ผู้ใช้เกิดความพอใจมากที่สุด ซึ่งก็จะเป็นการกำหนดเป้าหมายการโฆษณาได้อย่างครบถ้วนเลยทีเดียว
Persona
Customer Segment
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที