วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 30 มี.ค. 2024 23.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 54456 ครั้ง

ความรู้ทั่วไป การตลาด ประชาสัมพันธ์


กลยุทธ์ Storytelling เล่าเรื่องอย่างไร ให้แบรนด์เป็นที่จดจำ

storytelling คืออะไร

เทคนิคการเล่าเรื่อง (storytelling) เป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่ในยุคประวัติศาสตร์ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ จนกระทั่งยุคเทคโนโลยีไร้พรมแดนอย่างอินเทอร์เน็ต ทำให้ storytelling กลายเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ที่ได้รับความนิยมคือการสร้างเรื่องเล่าให้กับแบรนด์ สินค้า หรือบริการ ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เรื่องราวที่น่าสนใจจะกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ส่งผลต่อสารเคมีในสมองทำให้เกิดอารมณ์ และความรู้สึกต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้คนสนใจ อยากติดตามเรื่องราวของแบรนด์เรามากขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าเรื่องเล่าอะไรก็สามารถทำอย่างนั้นได้

การมี storytelling ที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติหลายประการ ตัวอย่าง เช่น ทั้งเทคนิคการสร้างเรื่องราวให้มีเส้นเรื่องที่ดี มีความเชื่อมโยง เข้าใจง่าย สื่อสารได้ดี เพื่อช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดอารมณ์ร่วมกับแบรนด์ สินค้า หรือบริการนั้น ๆ 


Storytelling คืออะไร 

Storytelling คือ การใช้เทคนิคการเล่าเรื่องราวเพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย ให้ผู้รับสารได้มีส่วนร่วมทั้งการได้รับประสบการณ์ การมีอารมณ์ และความเข้าใจร่วมกัน ผู้สื่อสารมีหน้าที่ทำให้ผู้รับสารสามารถจดจำเรื่องราวเหล่านั้นได้ อาจเกิดจากความสนุก หรือแรงบันดาลใจที่ได้รับ เพื่อให้ผู้รับสารซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้า หรือผู้บริโภคจดจำแบรนด์ เกิดความคิดความเข้าใจว่าทำไมเขาถึงควรใช้สินค้าบริการที่ได้มีการเล่าเรื่องไป ทำให้เกิดการซื้อขาย การลงทุนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิทัล - อินเทอร์เน็ตที่มีเครื่องมือในการเล่ามากขึ้น เช่น การเล่าผ่านวิดีโอ การเขียน ทำรูปมีม อินโฟกราฟิก รวมถึงการไลฟ์สดผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ผุดขึ้นมากมาย

ดังนั้นใจความสำคัญของ Storytelling คือการแบ่งปันเรื่องราวของแบรนด์ ให้เป็นที่จดจำในกลุ่มผู้คน ผู้บริโภคทั้งหลายนั่นเอง 


Storytelling มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

การจะสร้าง Storytelling หนึ่งเรื่องเพื่อเล่าเรื่องราวให้ดีควรมีองค์ประกอบดังนี้ 

  1. Character (ตัวละคร) คือสิ่งที่ช่วยดำเนินเหตุการณ์ในเรื่อง เพื่อให้เป็นไปตามโครงเรื่องที่กำหนดไว้ และมุ่งสู่จุดหมายปลายทาง อาจเป็นคน สัตว์ พืช สิ่งของก็สามารถมีบทบาทเป็นตัวละครหนี่งได้
  2. Plot (โครงเรื่อง)  การวางโครงเรื่องจัดลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในเรื่องที่ต้องการเล่าอย่างเป็นลำดับ การวางโครงเรื่องที่ดีจะทำให้เรามี Storytelling ที่น่าสนใจตามไปด้วย
  3. Conflict (ข้อขัดแย้ง) การมีความขัดแย้งที่จะเป็นอุปสรรคของเรื่องราว ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ Storytelling น่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยปมปัญหาที่มีส่วนช่วยให้เรื่องมีการพัฒนา และดำเนินต่อจุดหมายปลายทาง
  4. Theme (ธีม) แก่นของเรื่องที่เหมือนเป็นสาระสำคัญที่ผู้เขียนเรื่อง หรือผู้สื่อสารต้องการให้ผู้รับสารได้รู้ ได้เข้าใจตรงกัน 
  5. Setting (ฉาก) สถานที่ และเวลาที่เหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้น เป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้การเล่าเรื่องสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ประเภทของ Storytelling

Storytelling สามารถแบ่งออกได้หลายประเภทตามความต้องการสื่อสารของผู้เล่าเรื่อง ซึ่งการเล่าเรื่องในกลุ่มธุรกิจ หรือแบรนด์ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ 

1. Personal storytelling

เป็นการเล่าเรื่องจากบุคคล บ่งบอกถึงตัวตน ภาพลักษณ์ของบุคคลที่สร้างขึ้นและกลายเป็นที่จดจำ เป็นภาพแทนของธุรกิจนั้น ให้ผู้ชมได้จดจำภาพลักษณ์บุคคลนั้น ๆ ผ่านเรื่องราวไปพร้อมกับแบรนด์

2. Brand storytelling

การใช้ storytelling เพื่อเชื่อมโยงแบรนด์ของคุณกับลูกค้า โดยการเล่าเรื่องจะมุ่งเน้นที่แก่นแท้ของแบรนด์ เช่น แรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังธุรกิจที่ทำให้แบรนด์แตกต่างจากคู่แข่ง เป็นต้น 

3. Business storytelling

Business storytelling เป็นการเล่าเรื่องราวที่สามารถเชื่อมโยงธุรกิจ กับพนักงาน ผู้บริโภค หรือสิ่งเกี่ยวข้องใด ๆ กับธุรกิจคุณ เพื่อสื่อสารถึงข้อเท็จจริงที่ธุรกิจ สินค้า หรือบริการของคุณจะสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า จะช่วยวางตำแหน่งของธุรกิจเราในตลาดได้อย่างมั่นคง และช่วยสานสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

4. Digital storytelling 

การเล่าเรื่องผ่านช่องทางดิจิทัล ที่มีเพื่อถ่ายทอด หรือสื่อสารเรื่องราวความรู้ ข้อมูลต่าง ๆ ให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก ประสบการณ์ไปยังผู้รับชม อาจใช้การโน้มน้าว นำเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือจินตนาการก็ได้


Storytelling ในยุคการตลาดดิจิทัล

การตลาด Storytelling

ในยุคที่มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และอินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย Digital Marketing เป็นกลยุทธ์การตลาดสำคัญที่สร้างยอดขายได้เป็นอย่างมาก เพราะสามารถเผยแพร่สื่อโฆษณาต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึงคนทุกเพศทุกวัย ทุกมุมทั่วโลก ดังนั้นการนำ Storytelling มาผนวกกับการตลาดแบบดิจิทัล จึงผลดีต่อแบรนด์ เพราะการเล่าเรื่องจะกระตุ้นสมอง ให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วม และสร้างการจดจำแบรนด์ ธุรกิจ สินค้า หรือบริการที่ส่งเรื่องเล่าออกไป สร้างความทรงจำต่อกัน เกิดความผูกพันกับแบรนด์ โดยเฉพาะเมื่อมี Digital Marketing ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้จากทั้งทาง Search Engines และ Social Media platforms ก็จะทำให้มีผู้รับชมจดจำแบรนด์ได้มากขึ้น ก่อให้เกิดการบริโภคที่มากขึ้นตามมา 


Storytelling สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร

  1. Awaken emotions ทำให้แบรนด์เชื่อมต่อกับผู้ชมได้เนื่องจากการได้รับชมเรื่องราว อาจได้รับการกระตุ้นความจำจากอารมณ์ ความรู้สึก แรงบันดาลใจ ในขณะการรับชม 
  2. Transmit the essence of the brand แบรนด์ได้เชื่อมต่อกับผู้ชมผ่านค่านิยมที่ได้ทำการนำเสนอผ่าน Storytelling ช่วยให้แบรนด์แสดงจุดยืนของตน
  3. Inspire our audience นำเสนอเรื่องราวอันทรงพลังพอที่จะตรึงใจของผู้ชม เพื่อให้แบรนด์ยังคงเป็นที่ทรงจำแม้ผ่านการรับชมไปแล้ว 
  4. Humanize to connect with our audience เชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันผ่านการเล่าเรื่องราวที่ดี และเป็นประโยชน์ ให้ธุรกิจมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้คน 

เทคนิคการสร้าง Storytelling สำหรับธุรกิจ 

storytelling มีกี่ประเภท

1.  รู้จักกลุ่มเป้าหมาย 

ทำการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการจะเล่าเรื่อง เช่นเขาเป็นใคร มีปัญหาอะไร ต้องการ หรือคาดหวังสิ่งใด มีความชอบ แรงบันดาลใจในรูปแบบไหน เพื่อที่จะได้กำหนดทิศทางของเรื่องเล่าได้อย่างตรงประเด็น 

2. Three-Act Structure Storytelling 

เทคนิคการเล่าเรื่องที่เป็นที่นิยมอย่างมากประกอบด้วยสามองก์ แบ่งเป็นองก์หนึ่ง - ส่วนของการเริ่มต้น, องก์สอง - การเผชิญหน้ากับอุปสรรค ,องก์สาม - การก้าวข้ามผ่านปัญหาจนเจอบทสรุป

3. “WHY” Storytelling

หนึ่งในเทคนิคการเล่าเรื่องจากหนังสือ “START WITH WHY” คือเทคนิค Golden Circle ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องที่เริ่มต้นด้วยการถามว่า “ทำไม” ต่อด้วย “ทำอย่างไร” และ “ทำอะไร” ให้ผู้ชมเห็นเป้าหมายที่แท้จริง และมีความเชื่อเดียวกันกับแบรนด์ 

4. ช่องทางการนำเสนอ 

การเลือกช่องทางนำเสนอ Storytelling สำคัญมาก จำเป็นต้องเลือกช่องทางให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อผลลัพธ์ที่ดีในการบอกเล่าเรื่องราว เช่นการเลือกแพลตฟอร์มที่สามารถแสดงรูป หรือคลิปได้กับสินค้าประเภทอาหาร เป็นต้น 


ตัวอย่าง Storytelling ของธุรกิจ

Apple เป็นแบรนด์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และมือถือชื่อดัง ที่โดนเด่นด้าน Storytelling เป็นอย่างมาก การเปิดตัวแต่ละครั้งจะใช้ผู้บริหาร หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่มีการเปิดตัวในการเล่าเรื่อง ค่อย ๆ กระตุ้นต่อมความอยากรู้ของผู้ชม แสดงออกอย่างตรงไปตรงมาว่าองค์กรมีความเชื่อมั่นในเรื่องใด เล่าถึงดีไซน์ที่บอกว่าเขาออกแบบอย่างไร และปิดจบด้วยผลลัพธ์ที่เป็นสินค้าใหม่ที่ได้ทำการสร้างขึ้น ซึ่งระหว่างนั้นมีการแทรกแนวคิด ตอกย้ำถึงความก้าวหน้าที่เหนือกว่าคู่แข่ง ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่น และจดจำแบรนด์ได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงจดจำสินค้า และบุคคลร่วมก่อตั้งหลายท่าน 


คำถามที่พบบ่อย 

1. Storytelling กับ Story Telling เหมือนกันหรือไม่? 

ด้านในนัยของความหมายในด้านการตลาดในการทำธุรกิจ ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก 

2. Storytelling สามารถเป็นเหตุการณ์สมมติได้หรือไม่ 

 Storytelling ที่มีในการทำธุรกิจคือการบอกเล่าเรื่องราวข้อเท็จจริง เหตุการณ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้า แบรนด์ หรือธุรกิจนั้น ๆ เพียงแต่มีการทำให้มีความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้นจากการเป็นแค่ข้อมูลทั่วไป ดังนั้นจึงไม่ควรสร้างเหตุการณ์ต่าง ๆ จากจินตนาการเพียงอย่างเดียว 


ข้อสรุป

ในยุคดิจิทัล Storytelling มีบทบาทมากในภาคธุรกิจเพราะสามารถสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้า ทำให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับแบรนด์  สร้างความเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมาย นำไปสู่การต่อยอด การลงทุน การบริโภคสินค้าซ้ำ หรือเกิดกลุ่มลูกค้าใหม่จากเรื่องราวที่เราเลือกเล่า ดังนั้นทักษะ Storytelling คือทักษะที่สำคัญที่ควรจะศึกษา และพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับธุรกิจ


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที