วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 30 มี.ค. 2024 23.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 53704 ครั้ง

ความรู้ทั่วไป การตลาด ประชาสัมพันธ์


Data analytic คืออะไร มีประโยชน์ต่อธุรกิจขนาดไหน?

Big Data Analytics หรือที่เรารู้จักกันในรูปแบdata analytic คือศาสตร์การวิเคราะห์ข้อมูล Big Data เป็นการนำข้อมูลดิบมาวิเคราะห์ มีประโยชน์อย่างมากในเชิงธุรกิจ เพราะทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลไปใช้ต่อยอดได้ ทั้งเพื่อกลยุทธ์การตลาด กลยุทธ์การผลิต และการหาผลกำไร โดยจะใช้เครื่องมือต่อไปนี้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ data mining, predictive analysis และ machine learning

Big Data คือฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่ยังไม่ได้ทำการวิเคราะห์ใดๆ  โดยทั่วไปมักหมายถึงข้อมูลจำนวนมากที่ซับซ้อน แต่บริษัทวิจัย Gartner ที่ปรึกษาทางธุรกิจของทางอเมริกา ได้ให้คำนิยามของ Big Data ไว้ว่า Big Data นั้นมี 3 คุณสมบัติหลักคือ ขนาดใหญ่ (Volume), เปลี่ยนแปลงเร็ว (Velocity) และหลากหลาย (Variety) ซึ่งส่วนมาก Big Data จะถูกใช้ควบคู่ไปกับ อัลกอริทึม (Algorithms)

Data Analytic


Data analytics คืออะไร

Data Analytics คือศาสตร์การวิเคราะห์ที่จะนำข้อมูลดิบมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป ซึ่งข้อมูลจะเป็นข้อมูลจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อนำไปต่อยอดตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ในอนาคต หากเป็น data analytic ที่เรารู้จักจะเป็น big data analytics หรือก็คือการวิเคราะห์เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านธุรกิจโดยเฉพาะ 

Data analytics vs Data Analysis เหมือนกันไหม ต่างกันยังไง ใช่อันเดียวกันรึเปล่า?

หลายท่านอาจจะสงสัยว่าทั้งสองอย่างนี้คืออย่างเดียวกันหรือไม่ คำตอบคือ ไม่เชิงเป็นอย่างเดียวกันซะทีเดียว Data analysis คือส่วนย่อยของ Data Analytics อีกที ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นง่ายๆ ก็คือ

Data Analytics เป็นศาสตร์การวิเคราะห์ ซึ่งจะใช้เครื่องมือ วิธีการประมวลผลต่างๆ ประกอบด้วยเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิศวกรรม ที่ถูกสร้าง ออกแบบ หรือเชี่ยวชาญโดยเฉพาะมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเข้าด้วยกัน


Data Analysis คือการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลที่ทำการจัดเรียงข้อมูล ทำการแปลงหรือจัดระเบียบข้อมูลมาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งการวิเคราะห์จะมีทั้งหมด 5 แบบ ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงข้อความ (Text Analysis),แบบเชิงสถิติ (Statistical Analysis), แบบวินิจฉัย (Diagnostic Analysis), แบบพยากรณ์ (Predictive Analytsis) และแบบให้คำแนะนำ (Prescriptive Analysis)
 
Data Analysis คือ

Data analytics มีประโยชน์ต่อธุรกิจด้านใดบ้าง 

  • ด้าน Strategic Planning ช่วยให้เจ้าของธุรกิจหรือฝ่ายบริหารสามารถกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของธุรกิจและยังสามารถแสวงหาวิธีที่จะทำให้เป้าหมายนั้นๆ บรรลุผล
  • ด้าน Marketing Research ช่วยในเรื่องการวางแผนการตลาด กลยุทธ์ต่างๆ ในบริษัท หาข้อดีข้อด้อยเพื่อพัฒนาและปรับปรุงได้
  • ด้าน Digital Marketing ช่วยวางแผนการตลาดออนไลน์ได้ง่ายขึ้น สามารถวิเคราะห์แนวโน้มของกระแสใน Social media เพื่อสร้างคอนเทนต์ที่เหมาะกับธุรกิจ
  • ด้าน Scientific research ช่วยวิจัยข้อมูลเชิงลึกเพื่อช่วยแก้ปัญหาหรือพัฒนา ช่วยให้กระบวนการตัดสินใจง่ายขึ้น
  • ด้าน ROI ช่วยคำนวนกำไรสุทธิหักลบจากค่าใช้จ่ายอย่างแม่นยำ เพื่อดูว่าผลตอบแทนเป็นอย่างไร
  • ช่วยให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ทั้งด้านพฤติกรรม รวมถึงทำนายแนวโน้มพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย

ตัวอย่างการใช้งาน Data Analytics

Walmart เป็นบริษัทที่เริ่มต้นจากการเป็นร้านค้าปลีกที่มักจัดโปรโมชั่นส่วนลดให้กับลูกค้าบ่อยครั้ง แต่เมื่อเริ่มต้นทำ eCommerce กำไรสุทธิในปี 2564 ของ Walmart กลับเพิ่มสูงถึง 35 พันล้านดอลลาร์ ซึ่ง Walmart อาศัยแผนกวิจัยและแผนกวิเคราะห์ข้อมูลที่รู้จักกันดีในชื่อ Walmart Labs (Data Analytics) ในการทำวิเคราะห์ข้อมูล

 
จากการลงทุนอย่างหนักนี้ส่งผลงอกงามให้กับ Walmart เพราะแผนกนี้สามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลขนาด 2.5 PB ได้ภายในเวลา 1 ชั่วโมง! (1 PB = 1,024 TB) นอกจากนี้Walmartยังทำการลงทุนสร้างตัวจัดการเทคโนโลยี อย่างเช่น โครงสร้างพื้นฐาน, Cloud จัดเก็บข้อมูล, DevOps หรือ ระบบความปลอดภัยของข้อมูลใน Walmart อีกด้วย
 
Data Analytics

รูปแบบของการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)

การวิเคราะห์ข้อมูลมีหลายวิธี แต่วิธีนี้ถือเป็นพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ที่จะช่วยให้การทำ data analytics นั้นง่ายขึ้นมีหลากหลายเทคนิค แต่เทคนิคที่เป็นที่รู้จักจะได้แก่ 5 รูปแบบนี้ 

1.การวิเคราะห์แบบเชิงข้อความหรือการทำเหมืองข้อมูล Text analysis/Data Mining

เป็นการวิเคราะข้อความ ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าการทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) โดยวิธีนี้จะใช้การค้นหาและนำข้อมูลขนาดใหญ่จากฐานข้อมูล (data bases) หรือเหมืองข้อมูลอื่นๆ เช่น ระบบคลังข้อมูล (data warehousing) มาวิเคราะห์

2.การวิเคราะห์แบบเชิงสถิติ (Statistical analysis)
การวิเคราะห์รูปแบบนี้จะช่วยตอบคำถามว่า ปัญหาหรือผลลัพธ์นี้เกิด “อะไร” ขึ้น โดยใช้ข้อมูลจากในอดีต ที่อยู่ในรูปแบบแดชบอร์ด( Dashboard) ซึ่งจะสามารถรวบรวม วิเคราะห์ ตีความ นำเสนอ และจำลองข้อมูลขึ้นมาได้

3.การวิเคราะห์แบบเชิงวินิจฉัย (Diagnostic analysis) 

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงวินิจฉัยช่วยตอบคำถามว่า “ทำไม” ปัญหาหรือผลลัพธ์นี้ถึงเกิดขึ้น โดยค้นหาสาเหตุจากข้อมูลเชิงลึกที่พบจากการวิเคราะห์ทางสถิติ ซึ่งจะมีประโยชน์มากในการระบุรูปแบบพฤติกรรมของข้อมูล

4.การวิเคราะห์แบบพยากรณ์ (Predictive analysis) 

การวิเคราะห์นี้จะใช้ข้อมูลก่อนหน้านี้ มาวิเคราะห์ปัญหาหรือผลลัพธ์ที่ “จะ” เกิดขึ้นในอนาคต

5.การวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำ (Prescriptive analysis)

การวิเคราะห์ชนิดนี้จะเป็นการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากการวิเคราะห์เชิงข้อความ สถิติ วินิจฉัย และพยากรณ์เพื่อ “แก้” ปัญหาหรือ “โน้มน้าว” การตัดสินใจ


รูปแบบการวิเคราะห์ของ Big Data analytics 

ก่อนจะไปทำความรู้จักกับรูปแบบของ Data Analytics เราควรทบทวนจุดประสงค์หลักอีกครั้ง โดย Data Analytics มีไว้

Big data

ใน Big Data Analytics มักจะใช้การวิเคราะห์หรือเครื่องมือเหล่านี้ในการทำงาน

1.เหมืองข้อมูล (Data Mining / Text Analysis)

ค้นหารูปแบบข้อมูลขนาดใหญ่จากฐานข้อมูล (data bases) หรือเหมืองข้อมูลอื่นๆ เช่น ระบบคลังข้อมูล (data warehousing)

2.การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ (Predictive Analysis)

เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วสิ่งที่ทำต่อมาคือการคาดการณ์ถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากข้อมูลที่มี โดยวิเคราะห์จากสถิติ (Statistics)

3.ระบบคอมพิวเตอร์เรียนรู้ข้อมูลด้วยตนเอง (Machine Learning)

ช่วยประหยัดเวลาในการให้ผู้เชี่ยวชาญมานั่งวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือที่รู้จักกันในชื่อ AI ในการรับรู้และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหา และทำให้หาทางออกได้


ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics)

โดยปกติแล้วขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลจะออกมาในรูปแบบของ Data Pipeline เพราะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งข้อมูลจะถูกลำเลียงไปตามช่องทางต่างๆ ลักษณะเหมือนท่อลำเลียงน้ำมัน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

รวบรวม (Collect) > ปรับแต่ง (Refined) > จัดเก็บ (Store) > วิเคราะห์ (Analyze) > ส่งออก (Deliver)

ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ data pipeline

เครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics Tools)

โปรแกรมหรือเครื่องมือที่นิยมในการใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่

  • Crunching Numbers
  • Spreadsheets
  • Microsoft Excel
  • Raw Programming Languages
  • Manipulate Databases
  • Python
  • Tableau
  • Power BI
  • SAS
  • Apache Spark

 Data Analytic Tools


คำถามที่พบบ่อย

Q: เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีอะไรบ้าง

A: Crunching Numbers, Spreadsheets Microsoft Excel, Raw Programming Languages, Manipulate Databases, Python, Tableau, Power BI, SAS, Apache Spark



Q: อาชีพที่เกี่ยวข้องกับสายงานนี้คืออะไรบ้าง

A: Data Scientist, Data Engineer, Data Analyst

 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที