Google Tag Manager หรือ GTM เป็นเครื่องมือที่คิดค้นโดย Google มาตั้งแต่ปี 2012 นับว่าเป็นเครื่องมือที่ไม่เก่าไม่ใหม่ แต่คนทั่วไปอาจจะยังไม่ค่อยรู้จัก เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตลาดออนไลน์ สาย digital marketing จะรู้จักเครื่องมือนี้เป็นอย่างดี
แล้ว Google Tag Manager คืออะไร มีข้อดีอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาสรุปข้อมูลที่สำคัญของ Google Tag Manager กัน
Google Tag Manager คือเครื่องมือติดตามข้อมูลบนเว็บไซต์ให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ในยุคแรกของการทำเว็บไซต์ การติดตามข้อมูลบนเว็บไซต์ จะมีแค่ web developer หรือผู้พัฒนาเว็บไซต์เท่านั้นที่จะรู้วิธีทำ แต่สำหรับบริษัทที่ว่าจ้างทำเว็บไซต์กลับไม่มีข้อมูลใดๆ เนื่องจากมอบหน้าที่ให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์เป็นผู้รับผิดชอบเพียงผู้เดียว
เมื่อต้องการใส่โค้ดอะไรต่างๆ ก็เกิดความวุ่นวาย สับสนอลหม่าน และ Google Tag Manager นี้ก็เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ใดก็ตามสามารถติดตามข้อมูล และจัดการเรื่องการใส่โค้ดได้อย่างง่ายและสะดวกสบายยิ่งขึ้น
Google Tag Manager กับ Google Analytics มีความแตกต่างกันอย่างไร ก่อนหน้านี้เราได้ทำความรู้จักกับ Google Tag Manager ไปแล้ว คราวนี้เรามาดูฝั่ง Google Analytics กันบ้าง
Google Analytics คือเครื่องมือที่ติดตั้งบนเว็บไซต์ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ โดยแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
โดยสรุปแล้ว GA หรือ Google Analytics เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลของลูกค้าเพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงพัฒนาการตลาดบนโลกออนไลน์
ส่วน Google Tag Manager เป็นเครื่องมือที่จะนำข้อมูลที่ได้จาก Google Analytics และยังมีเครื่องมือชนิดอื่นๆ ที่เก็บข้อมูลเช่นเดียวกับ Google Analytics มารวมไว้อยู่ในที่เดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการติดตาม tag และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ว่าง่ายๆก็คือ Google Analytics เป็นเพียงแค่ Tag ตัวหนึ่งของ Google Tag Manager นั่นเอง ซึ่ง Tag ที่ว่าก็จะมีอีกมากมาย เช่น Facebook ก็จะมี Facebook Pixel ในการเก็บข้อมูลลูกค้า
Google Tag Manager ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ Tags Triggers Variables ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีการทำงานอย่างไร มาไล่ดูไปทีละหัวข้อกัน
1. สมัครใช้งานและ Log in โดยคุณจะต้องมีบัญชี G Suite หรือ Gmail ก่อน
2. สร้างบัญชี Google Tag Manager
2.1 หลังจากล็อกอินเข้ามาแล้วจะพบหน้าโล่งๆดังรูป ให้กดที่ Create Account ขวามือด้านบนได้เลย
2.2 เมื่อกดปุ่ม Create Account แล้ว ก็จะพบหน้ากรอกข้อมูล ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
เมื่อเสร็จแล้วให้อ่านข้อตกลง จากนั้นกด accept และกด Yes ด้านบนขวามือ
3. ติดตั้ง Google Manager บนเว็บไซต์ มี 2 วิธี ได้แก่
หลังจากติดตั้ง Google Tag Manager เสร็จเรียบร้อย ต่อมาก็จะติดตั้ง Google Analytics ซึ่งก็คือ Tags
1. ไปที่หน้าแรกของโปรเจค กด Add New Tag
2. ตั้งชื่อ Tags ตรงลูกศรซ้ายมือ
3. กดที่ไอคอนแก้ไขตามลูกศรขวามือ
4. เลือกประเภท Tags กรณีนี้เลือก Google Analytics: Universal Analytics
5. Track Type เลือก Page View
6. เลือก New Variable
7. ใส่ Google Analytics ID แล้วกด Save
8. ถัดมาเราจะใส่ Trigger เพื่อตั้งเงื่อนไขให้ Tags ทำงาน
9. All Pages จะทำให้ Tags ทำงานทุกหน้า หรือกด + ที่มุมขวาบนเพื่อเลือกหน้าที่ต้องการ เมื่อเสร็จสิ้นแล้วกด Save
10. หลังจากเสร็จสิ้นการติดตั้ง Trigger แล้วให้กด Submit มุมขวาบน
หลังจากที่เราได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับ Google Tag Manager พร้อมวิธีติดตั้งแล้ว คราวนี้เรามาดูการใช้งานจริงกันบ้างว่า Google Tag Manager นั้นสำคัญอย่างไร และเหมาะกับใคร
โดยปกติแล้ว ในการเก็บข้อมูลลูกค้าหรือผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ เราจะใช้ GA หรือ Google Analytics ในการเก็บข้อมูล Traffic เพื่อวิเคราะห์และนำไปใช้กับการสร้างแผนการตลอดออนไลน์หรือ digital marketing เป็นต้น ซึ่งในการใช้งาน Google Analytics นั้นมีความยุ่งยาก ซับซ้อน เนื่องจากข้อมูลที่ได้จะเป็นโค้ด ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์ต้องมีความรู้และความชำนาญเล็กน้อยในการเขียนโค้ด
นี่จึงเป็นที่มาของ Google Tag Manager ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของเว็บไซต์ สามารถจัดการ Tags ที่อยู่บนเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น โดยที่ไม่ต้องมีความรู้การเขียนโค้ดหรือจ้างผู้พัฒนาเว็บมาช่วยแก้ไขเรื่องโค้ดตลอดเวลา
ซึ่งถ้ามองแค่เรื่องของ GA อาจจะดูไม่ยุ่งยาก แต่บนเว็บไซต์เรายังมี Tags อยู่อีกมากมาย เช่น
และยังมี Tags อื่นๆ อีกเพียบ ลองคิดเล่นๆ ว่าถ้าเราต้องมานั่งจัดการ Tags ทีละตัวก็คงจะเสียเวลาอย่างมาก แต่ Google Tag Manager จะนำ Tags เหล่านี้มารวมไว้ในที่เดียว และมีเครื่องมือที่ใช้งานง่าย ไม่จำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องการเขียนโค้ดแม้แต่นิดเดียว
เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาในการจัดการข้อมูลก็จะสามารถลดเวลาจาก 1 ถึง 3 สัปดาห์เหลือเพียง 1 ถึง 3 ชั่วโมงเลยทีเดียว นับว่ารวดเร็วและสะดวกมากๆ ที่สำคัญเครื่องมือของ Google Tag Manager นั้น ทุกอย่างใช้งานฟรี ดีกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว
ทุกอย่างบนโลกนี้ มีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย ดังนั้นเรามาดูกันว่า ข้อเสียและข้อจำกัดของการติด Google Tag Manager นั้นมีอะไรบ้าง
1. ต้องมีความรู้ด้านเทคนิคเบื้องต้น
แม้ว่า Google Tag Manager จะช่วยลดเวลาเรื่องการเขียนโค้ด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใช้งานหรือเจ้าของเว็บไซต์ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องด้านเทคนิคแม้แต่นิดเดียว เจ้าของเว็บไซต์ควรมีความรู้เกี่ยวกับการเขียนโค้ดขั้นพื้นฐาน อย่างน้อยก็ควรรู้ว่าโค้ด Tags กับ Trigger ทำงานอย่างไร และจะติดตั้งอย่างไร
2. ใช้เวลาเรียนรู้
สอดคล้องกับข้อแรกที่บอกว่าต้องมีความรู้ด้านเทคนิค จึงอาจจะต้องใช้เวลาเรียนรู้ ถ้าคุณไม่ใช่ผู้พัฒนาเว็บไซต์
3. วุ่นวายกับการแก้ปัญหา
ถ้าคุณไม่ใช่ผู้พัฒนาเว็บไซต์ คุณอาจจะเสียเวลากับการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพราะถ้าคุณไม่รู้ว่าโครงสร้างของเว็บไซต์และ Tag ต่างๆ ทำงานอย่างไร ก็ยากที่จะแก้ปัญหาได้
Google Tag Manager เป็นเครื่องมือสำหรับการจัดการ Tag บนเว็บไซต์ (Tag Manager) ที่จะช่วยให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์ ติดตามการเข้าชมเว็บไซต์และพฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์หรือลูกค้าได้ง่ายขึ้น
โดย Google Tag Manager จะเปลี่ยนจากภาษาคอมพิวเตอร์หรือโค้ดดิ้งให้เป็นภาษาคน สามารถจัดการ Tag ต่างๆ ได้เพียงแค่ไม่กี่คลิก และหน้าตาของ UI ก็ยังเป็นมิตรกับผู้ใช้งานอีกด้วย เนื่องจากไม่มีความซับซ้อนใดๆ ทำให้ใช้งานได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที