เช็กลิสต์สิ่งที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจกู้เงินทำธุรกิจ
ปัญหาขาดสภาพคล่องถือเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญของการทำธุรกิจซึ่งอาจส่งผลให้ธุรกิจต้องสะดุดหรือชะงักงันได้ แต่สิ่งที่นักธุรกิจส่วนใหญ่เลือกเป็นทางออกในการแก้ปัญหาดังกล่าวก็คือการ กู้เงินทำธุรกิจ จากธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้
แต่ถึงอย่างนั้นการกู้เงินเปิดร้านก็มีเรื่องที่จะต้องพิจารณาหลายแง่มุม โดยเฉพาะเงื่อนไขการกู้และอัตราดอกเบี้ย ซึ่งถือเป็นต้นทุนทางการเงินที่สำคัญในการทำธุรกิจ
ปัจจุบันมีสินเชื่อเพื่อธุรกิจเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มุ่งตอบความต้องการของกลุ่มนักธุรกิจโดยเฉพาะ จึงมีเงื่อนไขต่าง ๆ สอดคล้องกับการทำธุรกิจเป็นอย่างดีและยิ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กก็จะมี สินเชื่อ SME เป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่มุ่งเฉพาะไปที่ผู้ประกอบการรายย่อยที่มีสินทรัพย์หรือเงินลงทุนไม่เกิน 200 ล้านบาท ซึ่งบางธนาคารได้ออกผลิตภัณฑ์ สินเชื่อ SME ไม่มีหลักทรัพย์ประกัน อัตราดอกเบี้ยต่ำ และยังสามารถขอกู้เงินเปิดร้าน ได้ง่าย ๆ อีกด้วย อาทิ สินเชื่อ SME ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่ให้กู้ได้ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำเพียง MLR+1.50% ให้วงเงินที่สูงเท่าที่ผู้ประกอบการต้องการ และยังมีระยะเวลากู้ยาวนานสูงสุดถึง 120 วัน ขณะที่สินเชื่อ SME ของธนาคารกรุงไทยนั้นได้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างหลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับประเภทของธุรกิจให้มากที่สุด อาทิ สินเชื่อ SME ไม่มีหลักทรัพย์ สินเชื่อ sSME EEC 4.0 สำหรับผู้ประกอบการในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคตะวันออก และสินเชื่อสำหรับการทำธุรกิจอะพาร์ตเมนต์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์ก็จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป
แต่กระนั้นก่อนที่จะตัดสินใจขอวงเงินกู้ประเภทดังกล่าวเจ้าของกิจการโดยเฉพาะที่เป็น SME ควรจะต้องพิจารณาเรื่องต่อไปนี้ให้ดีก่อน ได้แก่
- วัตถุประสงค์ของการใช้เงิน ต้องมีความชัดเจนว่าเงินที่จะกู้เพื่อนำไปใช้ในด้านใดและมีแผนอย่างไร
- เงินกู้ก้อนนี้จำเป็นในการทำธุรกิจแค่ไหน
- ต้องการเงินกู้เท่าไร
- หากไม่เป็นไปตามคาดหวังจะทำอย่างไร
ไม่เพียงแค่การมองวัตถุประสงค์และแผนการใช้เงินของผู้ประกอบการเท่านั้นที่เป็นเรื่องสำคัญควรจะต้องพิจารณาก่อนขอสินเชื่อ หากแต่ในด้านของสถาบันการเงินเองก็จะมีการพิจารณาผู้ประกอบการก่อนที่จะปล่อยกู้ให้ ซึ่งเป็นประเด็นที่จะบ่งบอกถึงความน่าเชื่อถือของกิจการ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้
1. ธุรกิจ SME มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
2. มีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ หากมีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายไว้อย่างเป็นระบบ รวมถึงมีการระบุถึงยอดขาย ต้นทุน สต็อกสินค้า และลูกหนี้การค้า จะทำให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือและจะเป็นผลดีต่อการปล่อยกู้ของธนาคาร
3. มียอดเงินเดินบัญชีบ่อย ๆ ไม่ใช่ถอนเงินก้อนเดียวออกมาจากธนาคาร การเดินบัญชีดังกล่าวจะสัมพันธ์กับรายรับรายจ่ายในการทำธุรกิจด้วย
4. มีประวัติการจ่ายหนี้ที่ดี ไม่ติดแบล็กลิสต์เครดิตบูโร เพราะจะสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารจัดการเงินอย่างไม่เป็นระบบ
5. วงเงินการขอสินเชื่อมีความเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจและสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ ไม่ใช่การขอวงเงินกู้ที่สูงเกินความจำเป็น
ดังนั้นผู้ที่ต้องการกู้ทำธุรกิจ จึงต้องจัดเตรียมความพร้อมในเรื่องข้อมูลทางบัญชีและการจัดระบบการทำธุรกิจให้มีความชัดเจนที่สุด จะทำให้สถาบันการเงินปล่อยกู้ได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
ที่มา
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : เช็กลิสต์สิ่งที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจกู้เงินทำธุรกิจ