MaiMeeSaRa

ผู้เขียน : MaiMeeSaRa

อัพเดท: 18 ก.ค. 2023 15.37 น. บทความนี้มีผู้ชม: 8862 ครั้ง

ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ


ภาวะหัวใจหยุดเต้นขณะหลับ ไม่ดูแลให้ดี อันตรายถึงชีวิตได้เลย

ภาวะหัวใจหยุดเต้นขณะหลับ

 
หัวใจหยุดเต้นขณะหลับ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ขณะนอนหลับ เกิดจากการที่ระบบหายใจถูกปิดกั้น ซึ่งจะทำให้ระบบการหายใจหยุดทำงานได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้น ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางกาย หรือสรีรวิทยา เช่น โรคอ้วน และลักษณะทางกายภาพบางอย่าง เช่น คอหนา ทางเดินหายใจแคบ ต่อมทอนซิลมีการโตมากกว่าปกติ ส่วนเรื่องการหยุดหายใจขณะหลับกี่ครั้งอันตรายนั้น จากการศึกษาและการวิจัยได้ผลสรุปออกมาว่า คนที่นอนหลับแล้วมีภาวะหยุดหายใจมากกว่า 5 ครั้งใน 1 ชั่วโมง เป็นอันตราย และถ้าหากหยุดหายใจในขณะหลับนานกว่า 10 วินาที ก็มีโอกาสเสียชีวิตได้
 

หัวใจหยุดเต้นขณะหลับมีกี่ประเภท

 

อาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

  1. กรนดังและเรื้อรัง มีเสียงกรนที่ดังกว่าคนทั่วไป และยังกรนบ่อยในทุกๆวัน
  2. นอนหลับไม่ต่อเนื่อง มักจะตื่นบ่อยตลอดทั้งคืน ในตอนที่ตื่นจะรู้สึกหายใจถี่ หรือเหมือนจะรู้สึกสำลัก
  3. ปวดหัวตอนเช้า เมื่อตื่นนอนในตอนเช้าจะรู้สึกตื่นปวดหัว เป็นผลมาจากการขาดออกซิเจนในระหว่างการนอนหลับ
  4. หยุดหายใจชั่วคราวในระหว่างการนอนหลับ คนที่มีอาการนี้ อาจจะไม่รู้ตัวเลยว่าตัวเองได้หยุดหายใจชั่วคราวในระหว่างนอนหลับ
  5. ปากแห้งหรือเจ็บคอ คนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจตื่นขึ้นมาด้วยอาการปากแห้ง หรือเจ็บคอเพราะมีการหายใจทางปาก หรือกรนในระหว่างการนอนหลับ
  6. ปัสสาวะตอนกลางคืน เป็นอาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เพราะการหยุดชะงักทางการหายใจในระหว่างการนอนหลับ ส่งผลต่อการควบคุมของเหลวในร่างกาย
  7. ง่วงนอนตอนกลางวันมากเกินไป เป็นอาการทั่วไปของภาวะหัวใจหยุดเต้นขณะหลับ อาการนี้จะทำให้การตื่นตัวลดลง สมาธิลดลง และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายลดลง
  8. อารมณ์แปรปรวนและหงุดหงิด ภาวะหยุดหายใจในขณะหลับสามารถนำไปสู่ความหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน และความรู้สึกซึมเศร้า ซึ่งเป็นผลมาจากการอดนอนเรื้อรัง หรือนอนหลับไม่สนิท

การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

รักษาภาวะหัวใจหยุดเต้นขณะหลับจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและปัจจัยต่างๆ ด้วยวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมและใช้ได้ผลดี มีดังนี้
 
1.การบำบัดด้วยความดันบวกทางเดินหายใจต่อเนื่อง (CPAP) เป็นวิธีการรักษาทั่วไปที่มีประสิทธิภาพ มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปานกลาง ถึงรุนแรง วิธีการรักษาแบบนี้จะใช้การสวมหน้ากากปิดจมูก หรือปากในขณะนอนหลับ โดยหน้ากากจะถูกเชื่อมต่อกับเครื่องให้แรงดันอากาศ เพื่อทำให้ทางเดินหายใจเปิด และเพื่อป้องกันการหยุดหายใจ
 
2.การบำบัดด้วยการจัดตำแหน่งร่างกาย จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยบางคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มักจะเกิดความผิดปกติเมื่อนอนในบางท่า เช่น นอนหงาย ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องรักษาด้วยการจัดตำแหน่งของหัวและคอ เช่น ใช้หมอนพิเศษ หรืออุปกรณ์ที่ช่วยให้นอนตะแคง เพื่อทำให้ทางเดินหายใจโล่ง และเพื่อไม่ให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับขึ้นบ่อยๆ
 
3.รักษาด้วยการผ่าตัด ในบางกรณี การผ่าตัดเป็นการรักษา และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้าง ที่ส่งผลต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งจุดประสงค์ในการผ่าตัด ก็เพื่อนำเนื้อเยื่อส่วนเกินออกจากลำคอ เพื่อแก้ไขความผิดปกติในขากรรไกร หรือช่องจมูก และเพื่อจัดตำแหน่งโครงสร้างทางร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก https://rakmor.com/heart-stops-beating-while-sleeping/


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที