4.5 การตรวจสอบ
4.5.1 การเฝ้าติดตามและตรวจวัด
1. องค์กรต้องจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาขั้นตอนการปฏิบัติงานในการเฝ้าติดตามและตรวจวัดในส่วนสำคัญของการปฏิบัติงานที่สามารถมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญอย่างสม่ำเสมอ
2. ขั้นตอนการปฏิบัติงานต้องรวมถึงเอกสารที่แสดงข้อมูลของประสิทธิภาพการเฝ้าติดตาม , การควบคุมการปฏิบัติงานต่างๆที่เกี่ยวข้องและเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร
3. องค์กรต้องมั่นใจว่าจะใช้งานและดูแลรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ในการเฝ้าติดตามและตรวจวัดที่ได้รับการสอบเทียบหรือทวนสอบแล้ว
4. และต้องเก็บบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการสอบเทียบหรือทวนสอบไว้
4.5.2 การประเมินความสอดคล้อง
4.5.2.1
1. เพื่อแสดงถึงความความมุ่งมั่นในการปฏิบัติให้สอดคล้อง องค์กรต้องจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาขั้นตอนสำหรับการประเมินความสอดคล้องกับข้อกฎหมายต่างๆเป็นระยะๆ
2. องค์กรต้องเก็บบันทึกของผลการประเมินเป็นระยะๆนี้ไว้
4.5.2.2
1. องค์กรต้องประเมินความสอดคล้องกับข้อบังคับต่างๆที่องค์กรเกี่ยวข้อง องค์กรอาจจะรวมการประเมินนี้กับการประเมินข้อกฎหมายต่างๆในข้อ 4.5.2.1 หรืออาจจะแยกกันก็ได้
2. องค์กรต้องเก็บบันทึกของผลการประเมินเป็นระยะๆนี้ไว้
4.5.3 ความไม่สอดคล้อง การปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน
1. องค์กรต้องจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับดำเนินการกับความไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดที่เกิดขึ้นหรือมีแนวโน้มว่าจะเกิด เพื่อดำเนินการแก้ไขและป้องกันความไม่สอดคล้องนั้น
2. ขั้นตอนการปฏิบัติงานต้องระบุข้อกำหนดสำหรับ
ก) ชี้บ่งและแก้ไขสิ่งที่ไม่สอดคล้องนั้น และดำเนินการลด ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น
ข) สืบสวนและพิจารณาสาเหตุของความไม่สอดคล้องนั้น และดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นอีก
ค) ประเมินความจำเป็นของการดำเนินการในการป้องกันความไม่สอดคล้องนั้น และนำการดำเนินการที่เหมาะสมนั้นไปใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก
ง) บันทึกผลของการแก้ไขและการป้องกันนั้น และ
จ) ทบทวนประสิทธิผลของการแก้ไขและป้องกันนั้น
3. การดำเนินการต้องเหมาะสมกับขนาดของปัญหาและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
4. องค์กรต้องมั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จำเป็น จะนำไปจัดทำเป็นเอกสารของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.5.4 การควบคุมบันทึก
1. องค์กรต้องจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาบันทึกที่จำเป็นในการแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องตามข้อกำหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และตามมาตรฐานนี้ และแสดงให้เห็นถึงผลสำเร็จ
2. องค์กรต้องจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับการชี้บ่ง , การจัดเก็บ , การป้องกัน , การเรียกคืน , ระยะเวลาจัดเก็บและการทำลายบันทึก
3. บันทึกต้องอ่านง่าย , แสดงชื่อไว้และสอบกลับได้
4.5.5 การตรวจติดตามภายใน
1. องค์กรต้องมั่นใจว่าการตรวจติดตามภายในของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการตามช่วงเวลาที่วางแผนไว้ เพื่อ
ก) พิจารณาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมว่า
1) สอดคล้องตามแผนที่กำหนดไว้ในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงมาตรฐานฉบับนี้
2) มีการนำไปใช้และคงรักษาอยู่
ข) จัดเตรียมข้อมูลผลการตรวจติดตามให้ผู้บริหารรับทราบ
2. กำหนดการตรวจติดตามต้องถูกวางแผน , นำไปใช้และคงรักษาโดยองค์กร โดยพิจารณาถึงความสำคัญของการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง และผลการตรวจติดตามครั้งที่ผ่านมา
3. ขั้นตอนการตรวจติดตามต้องจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาโดยระบุ
- หน้าที่ความรับผิดชอบและข้อกำหนดสำหรับการวางแผนและการดำเนินการตรวจติดตาม , การรายงานผลและการเก็บบันทึกที่เกี่ยวข้อง
- การพิจารณาเกณฑ์การตรวจติดตาม , ขอบเขตการตรวจ , ความถี่และวิธีการ
4. การเลือกผู้ตรวจและการตรวจต้องมั่นใจในความยุติธรรมและเป็นอิสระจากงานที่ตรวจ
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที