AskMeTooth

ผู้เขียน : AskMeTooth

อัพเดท: 04 ก.ค. 2022 05.42 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1734 ครั้ง

หากคุณเป็นผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม มาตรา 33 และ มาตรา 39 ที่ทำการส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน รวมถึงในกรณีที่คุณลาออกจากงานแล้ว ประกันสังคม ทำฟัน ยังให้สิทธิคุ้มครองค่าทำฟันฟรีต่อให้คุณอีก 6 เดือน โดยรายละเอียดการทำฟันประกันสังคม ที่รวมอยู่ในสิทธิประโยชน์ ได้แก่ การ ขูดหินปูนประกันสังคม, การอุดฟัน, การถอนฟัน, และการผ่าตัดฟันคุด ซึ่งทางคลินิกทันตกรรม จะให้สิทธิคุณทำฟันรายการดังกล่าว 900 บาท/ปี โดยที่คุณไม่ต้องสำรองเงินจ่ายก่อน รวมถึงคุณยังสามารถเบิกค่าใส่ฟันเทียมหรือการทำฟันปลอมได้อีกด้วย


ทำฟันประกันสังคม ฟรี 900 บาท ไม่ต้องสำรองจ่าย รักษาอะไรได้บ้าง?!

ทำฟัน ประกันสังคมฟรี 900 บาท/ปี ไม่ต้องสำรองจ่าย รักษาอะไรได้บ้าง?!



ทำฟัน ประกันสังคม

รูปโดย Superkitina on Unsplash

 


สิทธิทำฟัน ประกันสังคม สิทธิประโยชน์ที่ทุกๆคนควรรู้ ทำอะไรได้บ้าง เบิกได้เท่าไหร่ต่อปี ต้องสำรองจ่ายก่อนมั๊ย มาหาคำตอบกันได้จากบทความนี้กันได้เลยนะคะ 



สำหรับผู้ประกันตนประกันสังคมที่มีสิทธิทำฟัน ประกันสังคมโดยได้จ่ายเงินสมทบร่วมเข้ากองทุนประกันสังคม เป็นประจำในทุกเดือนอยู่แล้วละก็ เคยทราบไหมว่า ประกันสังคมให้สิทธิประโยชน์สำหรับทำฟัน ประกันสังคมไว้สำหรับดูแลผู้ประกันตนอย่างเราๆด้วยนะคะ เนื่องจากบางคนอาจจะมองข้ามไป เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องไม่สำคัญ จึงไม่ได้ใส่ใจกับสิทธิประโยชน์ที่ตัวเองมี แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เราก็ต้องไม่ลืมว่าจำนวนเงินที่ ต้องนำส่งในทุกเดือนนั้น ส่วนหนึ่งนั้นเป็นสวัสดิการทางทันตกรรม ในการที่จะให้เราสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้สะดวกและมีคุณภาพมากขึ้น เพราะอย่าลืมว่าแม้ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน อาจจะดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่หากเมื่อเกิดขึ้นกับใครแล้ว ก็เป็นปัญหาที่กวนใจได้ไม่น้อยเลย แต่ถ้าเราไปใช้สิทธิ์ทำฟัน ประกันสังคมทุกปี แล้วเจอปัญหาสุขภาพฟันขึ้นมาก็จะได้รีบรักษาแต่เนิ่น ๆ ไม่ต้องรอจนมีอาการเยอะแล้ว ค่อยมาทำการรักษา ซึ่งนอกจากจะเจ็บตัวแล้วยังไม่พอ ยังต้องเสียเงินค่ารักษาจำนวนมากโดยไม่จำเป็น ดังนั้น เรามาดูกันดีกว่าว่า สิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมจากประกันสังคมนั้น มีอะไรบ้าง เบิกได้เท่าไหร่ เมื่อรู้แล้วจะได้รีบไปใช้สิทธิ์ รีบรักษาผลประโยชน์ของตัวเองกันค่า 

 

สิทธิทำฟัน ประกันสังคม ใครสามารถใช้สิทธิได้บ้าง?! 



รูปโดย Mimi Thian on Unsplash

 

รู้หรือไม่ว่า ไม่ใช่ว่าทุกคนที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมจะได้รับสิทธิประกันสังคม ทันตกรรมเลย เฉพาะคนที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ประกันสังคม สิทธิทำฟันนั้น จะต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 เท่านั้น ซึ่งไม่รวมผู้ประกันตนตามมาตรา 40 และที่สำคัญคือ จะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนที่เข้ารับบริการทำฟัน โดยจะเป็นช่วงเดือนไหนก็ได้ ส่วนกรณีที่เราส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมครบ 3 เดือนแล้ว แต่ได้ลาออกจากที่ทำงาน ยังสามารถเข้ารับบริการทำฟันได้ เพราะสิทธิทำฟัน ประกันสังคมจะยังมีผลคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน โดยนับจากวันที่ลาออกค่ะ 



ประกันสังคม ทำฟัน สามารถรักษาอะไรได้บ้าง?

รูปโดย Quang Tri NGUYEN on Unsplash

 

ในตอนนี้ประกันสังคมให้สิทธิผู้ประกันตน สามารถเข้ารับการรักษาประกันสังคม สิทธิทำฟันได้ทั้งการขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน และผ่าฟันคุด ในวงเงินรวมไม่เกิน 900 บาท/ปี โดยไม่ได้มีการจำกัดจำนวนครั้งที่ทำการรักษาแต่อย่างไร แต่หากค่ารักษาทางทันตกรรมสูงกว่า 900 บาท ผู้ประกันตนจำเป็นต้องชำระเงินส่วนเกินตรงนั้นเองค่า 
 


ประกันสังคม สิทธิทำฟัน เบิกค่าทำฟันปลอมได้ไหม?


รูปโดย Diana Polekhina on Unsplash


นอกจากประกันสังคมจะให้สิทธิทำฟัน ประกันสังคมในการขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน และผ่าฟันคุดแล้ว หากผู้ประกันตนจำเป็นต้องทำการใส่ฟันปลอม จะมีสิทธิสามารถได้รับค่าบริการรักษาทำฟันปลอมได้ ภายในเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันปลอมนั้น โดยสามารถแยกเป็น 2 กรณี ดังต่อไปนี้ นะคะ 

1. ทำฟันปลอมชนิดถอดได้บางส่วน
        1.1 จำนวน 1-5 ซี่ สามารถเบิกได้เท่าที่จ่ายในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท
        1.2 มากกว่า 5 ซี่ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท 

2. ทำฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก
         2.1 ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง ได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท ในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียม (ฟันปลอม)
        2.2 ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง สามารถเบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันปลอม (ฟันปลอม) 

 



สิทธิทำฟัน ประกันสังคม ทำฟันได้ฟรี 900 บาท/ปี ไม่ต้องสำรองจ่าย!! 


รูปโดย สำนักงานประกันสังคม


หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ตอนนี้ถ้าเราจะไปใช้สิทธิทำฟัน ประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็น อุดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด หรือขูดหินปูน โดยไม่จำเป็นต้องสำรองจ่ายเงินเหมือนสมัยก่อนแล้ว ซึ่งได้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นมา ถือเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกันตน โดยไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาในการทำฟันและนำเอกสารกลับไปเบิกกับสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่เขตในภายหลัง ทั้งนี้หากเป็นการเข้ารับบริการในสถานพยาบาลของรัฐ ส่วนสถานพยาบาลและคลินิกเอกชนที่เป็นคู่สัญญากับสำนักงานประกันสังคม ซึ่งตอนนี้ได้เข้าร่วมโครงการแล้วมากกว่า 1,000 แห่ง ที่รับทำฟัน ประกันสังคม ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ว่าสถานพยาบาลแห่งไหนที่ไม่ต้องสำรองจ่าย ได้จากป้ายสติ๊กเกอร์ที่ระบุว่า “สถานพยาบาลแห่งนี้ให้บริการผู้ประกันตนกรณีทันตกรรม ทำฟัน ไม่ต้องสำรองจ่าย” และอย่าลืมพกบัตรประชาชนมาด้วยสำหรับการยืนยันใช้สิทธิทำฟัน ประกันสังคมด้วยนะคะ
ยกเว้นกรณีฟันปลอม ไม่ว่าจะเป็นแบบถอดได้บางส่วน หรือถอดได้ทั้งปาก ยังคงต้องสำรองจ่ายไปก่อนเหมือนเดิม แล้วจึงนำหลักฐานไปยื่นเบิกเงินกับสำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่ที่ให้บริการทีหลังค่า 

 


เบิกค่าทำฟัน ประกันสังคม อย่างไรได้บ้าง? 

ในกรณีที่เราจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาทางด้านทันตกรรมกับสถานพยาบาลหรือคลินิกที่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้าไปก่อน หรือเป็นการทำฟันปลอม ผู้ประกันตนสามารถที่จะยื่นขอเบิกค่าทำฟันย้อนหลังได้ที่ สำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่ที่ให้บริการในกรุงเทพ รวมถึงสำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) ในวัน-เวลาราชการ หรือสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมในวัน-เวลาราชการ จะยื่นเอกสารผ่านทางไปรษณีย์ก็ได้ โดยต้องส่งเอกสารไปทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ของสำนักงานประกันสังคมที่อยู่ใกล้บ้าน และจ่าหน้าซองว่า “ฝ่ายสิทธิประโยชน์” ค่ะ 

 


ประกันสังคม สิทธิทำฟัน เบิกได้กี่ครั้งใน 1 ปี 

รูปโดย Caroline LM on Unsplash

 

สำนักงานประกันสังคม ไม่ได้จำกัดสิทธิทำฟัน ประกันสังคม ว่าให้เบิกได้กี่ครั้งต่อปี เพราะฉะนั้นหากค่าใช้จ่ายการทำฟันในปีนั้น ๆ ยังใช้ได้ไม่ถึง 900 บาท เราก็ยังมีสิทธิยื่นเบิกได้เรื่อยๆ จนกว่าวงเงินจะถึง 900 บาท โดยวงเงินที่ให้จะเป็นแบบปีต่อปี หากหมดปีนั้นแล้วมีวงเงินเหลือจะโดนตัดสิทธิทันที นำไปทบยอดในปีถัด ๆ ไปไม่ได้ค่า 


สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสังคม สิทธิทำฟัน ไม่ต้องสำรองจ่าย เอกสารที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง สิทธิประโยชน์ ทำฟัน ประกันสังคม สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประกันสังคม หรือ โทร. 1506 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม
 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที