ไตรสิทธิ์

ผู้เขียน : ไตรสิทธิ์

อัพเดท: 26 มิ.ย. 2007 13.34 น. บทความนี้มีผู้ชม: 10581 ครั้ง

TrizThailand.Community(ชุมชนผู้สนใจทริซประเทศไทย) ตั้งขึ้นด้วย วัตถุประสงค์ที่จะเป็นศูนย์รวมของผู้สนใจทริซในประเทศไทยเพื่อเผย แพร่ความรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้นโดยใช้ TRIZ ขอ เชิญท่านผู้สนใจร่วมตั้งปัญหาและ/หรือเสนอแนวทางแก้ปัญหาตามวิธี การของทริซ เพื่อเป็นการร่วมเรียนรู้ ฝึกฝน ทำความเข้าใจ และร่วมแลก เปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ท่านผู้สนใจสามารถ สมัครเป็น สมาชิก โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่ประการใด เพียงใส่ชื่อล็อกอินและ รหัสที่ท่านต้องการ(เป็นภาษาอังกฤษ) แล้วระบุอีเมล์จริงที่ติดต่อได้ ท่าน ก็จะมีชื่อเป็นสมาชิก สามารถตั้งหรือตอบกระทู้หรือเข้าไปอ่านในราย วิชาต่างๆได้ทันทีโดยการยืนยันในอีเมล์ที่ให้ไว้ และสมาชิกยังสามารถ ติดตามข่าวสาร ขอเชิญสมัคร สมาชิกเพื่อรับ TRIZ News จากทางชุมชนฯได้อย่างสม่ำเสมอ


การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์ บทเรียนจากเวียดนาม

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์

บทเรียนจากเวียดนาม

                                โดย ผศ. ไตรสิทธิ์  เบญจบุณยสิทธิ์

                กล่าวกันว่าเวียดนามเป็นประเทศคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับเมืองไทย คำกล่าวนี้คงไม่เกินจริงไปนัก ถ้าเราลองมองย้อนกลับไปดูความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามที่ผ่านมา จะพบว่าเวียดนามมีอัตราการเพิ่มของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสูงกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคนี้รวมทั้งไทยด้วย ค่าเฉลี่ยอัตราการเพิ่มของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศระหว่างปี 2000 ถึง 2004 ของเวียดนามเท่ากับ 7.1% ในขณะที่ของไทยอยู่ที่ 5.1%   และตัวเลขในปี 2005 และ 2006 ของเวียดนามเติบโตขึ้นเท่ากับ 7.5% และ 8.2% ตามลำดับ  แต่ตัวเลขของไทยเรากลับลดลงอยู่ที่ 4.5% และ 5.0%   เราจะมาดูกันว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

                สาเหตุสำคัญที่ทำให้เวียดนามประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นคือนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมที่เรียกว่านโยบายโด่ยเหมย ( Doi Moi ) ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ทำการค้าโดยอิสระเสรีมากขึ้น    แต่นอกเหนือจากนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจนี้ซึ่งเริ่มในปี 1986 แล้ว   ต้องยอมรับว่าชาวเวียดนามเป็นคนที่ขยันขันแข็งใฝ่รู้ พยายามพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าตลอดเวลา และรัฐบาลเวียดนามก็ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่องดังจะเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปี 2549-2553 ซึ่งระบุถึงเป้าหมายและทิศทางของการพัฒนาประเทศในช่วง 5 ปีข้างหน้าดังนี้

1.      ดำเนินการตามนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ ( Doi Moi )

2.      สร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจการตลาดแบบสังคมนิยม

3.      พัฒนา Knowledge – based Economy

4.      ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเร่งรัดพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น  เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้เดินทางไปดูงาน ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนามร่วมกับคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ทำให้มีโอกาสได้พบผู้เชี่ยวชาญ TRIZ ชาวเวียดนาม ชื่อ  Duong Xuan Bao และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ จึงขอนำมาฝากไว้ ณ ที่นี้

 

                Mr. Duong Xuan Bao เป็นผู้หนึ่งในจำนวนนักศึกษาเวียดนามทั้งหมด 6 คน ที่ได้ไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ TRIZ  และความคิดสร้างสรรค์กับอัลต์ชูลเลอร์โดยตรงที่ Public Institute Inventive Creativity ในเมืองบาคู ประเทศรัสเซียในช่วงระหว่างสงครามเวียดนาม  TRIZ  เป็นชื่อย่อในภาษารัสเซียซึ่งหมายถึงแนวคิดในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์นวัตกรรม

                หลังจากสำเร็จการศึกษา เขาได้กลับมาเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ TRIZ และความคิดสร้างสรรค์ในเมืองฮานอยตั้งแต่ปี 1977 โดยเปิดหลักสูตร Creativity Methodology (CM) ซึ่งมีผู้สนใจมาเรียนกับเขามากกว่า 12,000 คน

                Mr. Duong Xuan Bao ได้ทำงานที่แผนกการประดิษฐ์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ก่อนที่จะออกมาตั้งมูลนิธิเพื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของนครฮานอย   เขาได้ให้แง่คิดดีๆเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไว้ว่า

                “…ยังไม่มีวิชาใดที่เหมือนวิชานี้  ระบบมหาวิทยาลัยของเราเน้นทางด้านวิทยาศาสตร์กับสังคมศาสตร์มากไป   ทั้งที่วิทยากรทางด้านความคิดสร้างสรรค์จะเป็นสิ่งที่นำพาเราไปสู่โลกในศตวรรษหน้า..”

“..การศึกษาในเวียดนามติดอยู่ในกรอบไม่ยืดหยุ่น และไม่ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์    ในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ความคิดสร้างสรรค์จะเป็นอาวุธสำคัญ   แต่กลับปรากฏว่ามีบริษัทเวียดนามเป็นจำนวนมากผลิตสินค้าอย่างเดียวกับที่ผลิตในที่อื่นๆ   พวกเขาต้องฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาสินค้าให้มีรูปแบบที่แตกต่างหรือมีไอเดียใหม่ๆมากกว่านี้..”

                ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ค้นพบว่ามนุษย์เราจะมีความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดเมื่อตอนอายุ 14 ปี   หลังจากนั้น คนเรามักคิดอยู่ในกรอบความคิดแบบเดิมๆ   ทั้งที่จริงๆแล้วความคิดสร้างสรรค์สามารถฝึกฝนและเรียนรู้กันได้

                Duong Xuan Bao   เคยคิดที่จะฝึกสอนนักธุรกิจให้มีความคิดสร้างสรรค์ และให้คำปรึกษาแก่บริษัทต่างๆ ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจ แต่เขาเปลี่ยนใจมาทุ่มเทให้กับการพัฒนาครูและนักเรียนให้รู้จักพัฒนาตนเองให้มีความคิดสร้างสรรค์และสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้

                นอกจาก Duong Xuan Bao แล้ว  เพื่อนของเขาอีกคนหนึ่งที่ไปเรียนกับอัลต์ชูลเลอร์มาด้วยกัน ชื่อ Phan Dung ได้ตั้งศูนย์ความคิดสร้างสรรค์เชิงเทคนิคและวิทยาศาสตร์ขึ้นที่ Ho Chi Minh City National University  และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ TRIZ และความคิดสร้างสรรค์อยู่ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม

                เขาทั้งสองมีความเชื่อที่ตรงกันอย่างหนึ่งว่าคลื่นลูกใหม่ต่อจากนี้ไปจะเป็นคลื่นแห่งความคิดสร้างสรรค์  เหมือนคลื่นลูกก่อน ๆ ที่เป็นคลื่นแห่งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และข้อมูลข่าวสาร

                Phan Dung ได้ฝากคำคมไว้อย่างน่าสนใจว่า “เราได้ตกรถไฟแห่งยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม   และเราพลาดรถไฟแห่งยุคข้อมูลข่าวสารไปหลายขบวน ถ้าเราไม่ร่วมมือกันทำอะไรบางอย่างลงไป เราจะตกขบวนรถไฟแห่งยุคความคิดสร้างสรรค์ด้วยเช่นกัน

“We missed the industrialization train, and to some extent , the information train.   If we do not get our act together, we will miss the creativity train as well.”

                คำคมนี้คงจะใช้ได้ดีไม่ใช่เฉพาะสำหรับเวียดนามเวียดนามเท่านั้น   แต่ยังน่าคิดสำหรับเมืองไทยอีกด้วย    ถ้าเรายังไม่ตื่นตัวในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบแล้ว   เราไม่เพียงจะตกรถไฟเท่านั้น   แต่ยังอาจถูกรถไฟแห่งความคิดสร้างสรรค์ที่มีเวียดนามนั่งอยู่นี้ ทับเอาจนโงหัวไม่ขึ้นและสายเกินกว่าที่จะตามทันได้

 5288_vietnam-triz.jpg

 เอกสารอ้างอิง

1.      Time to get creative , Vietnam Investment Review , 30  April 2007

2.      Viet Nam not using academic minds to their “full potential” ,  Vietnamnews ,

21 August 2004

3.      GDP Growth Comparison , www.mekongcapital.com ,etc


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที