ธนัยวงศ์

ผู้เขียน : ธนัยวงศ์

อัพเดท: 16 มิ.ย. 2007 07.57 น. บทความนี้มีผู้ชม: 19811 ครั้ง

ตอนที่ 3 ครับผม


การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการบริหารการเงิน (ตอนที่ 3)

โดย ดร. ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์

16707_pmail2.gif

            นอกเหนือจากการที่เราสามารถนำหลักการคำนวณ และสูตรทางคณิตศาสตร์พื้นฐานมาใช้เพื่อจัดทำรายงานทางการเงิน อันได้แก่ งบดุล และงบกำไรขาดทุนกันแล้ว ยังสามารถนำมาหลักเกณฑ์เดียวกันมาใช้สำหรับการวิเคราะห์งบการเงินได้อีกด้วย

 

การวิเคราะห์งบการเงิน (Financial Statement Analysis)

            โปรแกรม Microsoft Excel ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลการดำเนินงานของกิจการ ว่ามีฐานะเป็นอย่างไร มีความมั่นคงมากน้อยเพียงใด โดยผู้ประกอบการสามารถใช้ Microsoft Excel ในการวิเคราะห์งบการเงินแบบย่อขนาด (Common Size Analysis) รวมถึงการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis)ได้ ทั้งนี้สำหรับการวิเคราะห์งบแบบย่อขนาด ถ้าเป็นงบดุล จะกำหนดให้สินทรัพย์รวมเป็นตัวฐานในการเปรียบเทียบ โดยให้มีค่าเท่ากับ 100% แล้วจึงทำการเปรียบเทียบข้อมูลทุกรายการในงบดุลว่าเป็นสัดส่วนเท่าใดของสินทรัพย์รวม ถ้าเป็นงบกำไรขาดทุนจะกำหนดให้ยอดขายเป็นตัวฐาน แล้วทำการเปรียบเทียบข้อมูลทุกรายการในงบกำไรขาดทุนว่าเป็นสัดส่วนเท่าใดของยอดขาย ดังตัวอย่างที่แสดงไว้ต่อไปนี้

 

            ตัวอย่างการวิเคราะห์งบดุลแบบย่อขนาด:

 

A

B

C

E

1

บริษัท แก้วขนลุก จำกัด

2

งบดุล

3

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547

4

สินทรัพย์

จำนวนเงิน

การคำนวณ

ผลลัพธ์

5

สินทรัพย์หมุนเวียน

 

 

 

6

เงินสด

      1,374,180

=(B6/B16)*100

13.58%

7

ลูกหนี้

        625,500

=(B7/B16)*100

6.18%

8

สินค้าคงคลัง

      1,453,104

=(B8/B16)*100

14.36%

9

   สินทรัพย์หมุนเวียนรวม

      3,452,784

=(B9/B16)*100

34.12%

10

สินทรัพย์ถาวร

 

 

 

11

ที่ดิน

      2,000,000

=(B11/B16)*100

19.76%

12

อาคาร

      4,000,000

=(B12/B16)*100

39.53%

13

เครื่องใช้สำนักงาน

      1,000,000

=(B13/B16)*100

9.88%

14

หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม

-       333,334

=(B14/B16)*100

-3.29%

15

   สินทรัพย์ถาวรรวม

      6,666,666

=(B15/B16)*100

65.88%

16

 สินทรัพย์รวม

    10,119,450

=(B16/B16)*100

100.00%

17

 

 

 

 

18

หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ

 

 

 

19

หนี้สิน

 

 

 

20

เจ้าหนี้การค้า

        331,600

=(B20/B32)*100

3.28%

21

ตั๋วเงินจ่าย

        500,000

=(B21/B32)*100

4.94%

22

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

        460,000

=(B22/B32)*100

4.55%

23

หนี้สินหมุนเวียนอื่นๆ

        537,140

=(B23/B32)*100

5.31%

24

   หนี้สินหมุนเวียนรวม

      1,828,740

=(B24/B32)*100

18.07%

25

เงินกู้ระยะยาว

      4,700,000

=(B25/B32)*100

46.45%

26

 หนี้สินรวม

      6,528,740

=(B26/B32)*100

64.52%

27

ส่วนของเจ้าของ

 

 

 

28

ทุนส่วนหุ้นสามัญ

      2,000,000

=(B28/B32)*100

19.76%

29

ส่วนเกินมูลค่าหุ้น

      1,000,000

=(B29/B32)*100

9.88%

30

กำไรสะสม

        590,710

=(B30/B32)*100

5.84%

31

   ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม

      3,590,710

=(B31/B32)*100

35.48%

32

 หนิ้สิน และส่วนของเจ้าของรวม

    10,119,450

=(B32/B32)*100

100.00%

 

            ตัวอย่างการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนแบบย่อขนาด:

 

A

B

C

E

34

บริษัท แก้วขนลุก จำกัด

35

งบกำไรขาดทุน

36

สำหรับปีสินสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2547

37

 

จำนวนเงิน

การคำนวณ

ผลลัพธ์

38

ยอดขาย

2,698,200

=(B38/B38)*100

100%

39

ต้นทุนขาย

1,004,480

=(B39/B38)*100

37%

40

กำไรขั้นต้น

1,693,720

=(B40/B38)*100

63%

41

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

 

 

 

42

   ค่าใช้จ่ายในการขาย

438,480

=(B41/B38)*100

16%

43

   ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

292,320

=(B42/B38)*100

11%

44

   ค่าเสื่อมราคา

333,334

=(B43/B38)*100

12%

45

กำไรจากการดำเนินงาน (EBIT)

629,586

=(B44/B38)*100

23%

46

ดอกเบี้ยจ่าย

90,000

=(B45/B38)*100

3%

47

กำไรก่อนหักภาษี (EBT)

539,586

=(B46/B38)*100

20%

48

ภาษี (30%)

161,876

=(B47/B38)*100

6%

49

กำไรสุทธิ (Net Profit)

377,710

=(B48/B38)*100

14%

 

            สำหรับการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน จะเป็นการนำเอารายการทางบัญชีที่ปรากฎอยู่ในงบการเงินซึ่งมีความเกี่ยวข้อง หรือสัมพันธ์กันมาพิจารณาในรูปแบบของอัตราส่วน โดยสามารถแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็นอัตราส่วนที่สำคัญ 4 กลุ่มดังต่อไปนี้

1.        อัตราส่วนสำหรับวิเคราะห์สภาพคล่องของกิจการ (Liquidity Ratio)

a.        อัตราส่วนทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน/ หนี้สินหมุนเวียน

b.        อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว = (สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงคลัง)/ หนี้สินหมุนเวียน

2.        อัตราส่วนสำหรับวัดประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ (Efficiency Ratio)

a.        อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า = ยอดขาย/ ลูกหนี้การค้า

b.        ระยะเวลาจัดเก็บหนี้โดยเฉลี่ย = จำนวนวันต่อ 1 ปี/ อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า

c.        อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง = ต้นทุนขาย/ สินค้าคงคลัง

d.        ระยะเวลาเฉลี่ยของสินค้าในคลัง = จำนวนวันต่อ 1 ปี/ อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง

e.        อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร = ยอดขาย/ สินทรัพย์ถาวร

f.         อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม = ยอดขาย/ สินทรัพย์รวม

3.        อัตราส่วนสำหรับวัดความสามารถในการชำระหนี้ (Leverage Ratio)

a.        อัตราส่วนหนี้สิน = (หนี้สินรวม/ สินทรัพย์รวม) *100

b.        อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ = หนี้สินรวม/ ส่วนของเจ้าของรวม

c.        อัตราส่วนกำไรต่อดอกเบี้ยจ่าย = กำไรจากการดำเนินงาน/ ดอกเบี้ยจ่าย

4.        อัตราส่วนสำหรับวัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratio)

a.        อัตราส่วนกำไรขั้นต้น = (กำไรขั้นต้น/ ยอดขาย) * 100

b.        อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงาน = (กำไรจากการดำเนินงาน/ ยอดขาย) * 100

c.        อัตราส่วนกำไรสุทธิ = (กำไรสุทธิ/ ยอดขาย) * 100

d.        อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ = (กำไรสุทธิ/ สินทรัพย์รวม) * 100

e.        อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ = (กำไรสุทธิ/ ส่วนของเจ้าของ) * 100

 

            ตัวอย่างการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน:                                                                 1 ปี = 360 วัน

 

A

B

C

51

การวิเคราะห์สภาพคล่อง

การคำนวณ

ผลลัพธ์

52

อัตราส่วนทุนหมุนเวียน

=B9/B24

1.89

53

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว

=(B9-B8)/B24

1.09

54

การวัดประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์

 

55

อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า

=B38/B7

4.31

56

ระยะเวลาจัดเก็บหนี้โดยเฉลี่ย

=360/B55

83.46

57

อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง

=B39/B8

0.69

58

ระยะเวลาเฉลี่ยของสินค้าในคลัง

=360/B57

520.78

59

อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร

=B38/B15

0.40

60

อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม

=B38/B16

0.27

61

การวัดความสามารถในการชำระหนี้

 

62

อัตราส่วนหนี้สิน

=(B26/B16)*100

65%

63

อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ

=B26/B31

1.82

64

อัตราส่วนกำไรต่อดอกเบี้ยจ่าย

=B45/B46

7.00

65

การวัดความสามารถในการทำกำไร

 

66

อัตราส่วนกำไรขั้นต้น

=(B40/B38)*100

63%

67

อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงาน

=(B45/B38)*100

23%

68

อัตราส่วนกำไรสุทธิ

=(B49/B38)*100

14%

69

อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์

=(B49/B16)*100

4%

70

อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ

=(B49/B31)*100

11%


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที