เมื่อมีสินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตำหนิ สินค้าที่หมดอายุ และเศษซาก มักมีภาระต้นทุน และภาษีเกิดขึ้น ผู้ประกอบการต้องปฎิบัตตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขต่างๆ เพื่อทำลายสินค้า โดย En-tech เป็น บริษัทรับ ทำลายสินค้า อย่างถูกต้องตามข้อกำหนด ดังนี้
ตามประมวลรัษฎากร การ “ขาย”สินค้าแล้วได้รายได้กลับมานั้น จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ !! แต่หากสินค้าชำรุดเสียหาย เสื่อมสภาพ จึงจำเป็นจะต้องนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น การบริจาค การรีไซเคิล คำถามต่อมาคือ จะต้องเสียภาษีหรือไม่ ?
คำตอบคือ..จะต้องเสียภาษีเนื่องจากตามประมวลรัษฎากรยังถือว่าเป็นการ “ขาย” แต่จะทำอย่างไรจึงจะไม่เสียภาษี คำตอบคือต้อง “ทำลาย” สินค้าเท่านั้น
ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้กำหนดให้มีการกำกับดูแลมาตรฐานของสินค้า/ผลิตภัณฑ์
ทั้งด้านรูปแบบ ส่วนประกอบ ความสามารถ ความทนทาน ความปลอดภัย รวมไปถึงการทำหีบห่อ วิธีการบรรจุเพื่อให้สินค้า/ผลิตภัณฑ์
เพื่อไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนและไม่ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในการประกอบกิจการอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลเสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศ
ซึ่งหากตรวจพบว่ามีสินค้า/ผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างไปจากมาตรฐานที่กำหนด จึงจำเป็นที่จะต้องมีการสั่ง “ทำลายสินค้า” ดังกล่าวให้เสียสภาพ
คำถาม : กรณีนำเข้าวัตถุดิบโดยใช้สิทธิ BOI แต่วัตถุดิบไม่ได้คุณภาพ ผู้ขายไม่ต้องการให้ส่งกลับไปประเทศตน จึงขอให้บริษัททำลายเอง อยากทราบว่าใครเป็นผู้ประเมินค่าภาษี
คำตอบ : วัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิ BOI แต่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ไม่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์เดิมได้ สภาพของวัตถุดิบยังอยู่ในสภาพวัตถุดิบขณะนำเข้า การจะดำเนินการใด ๆ ต้องได้รับอนุญาตจาก BOI เช่น จะขอทำลายวัตถุดิบนั้น หาก BOI อนุญาตก็สามารถดำเนินการได้ วิธีการคือ บริษัทยื่นขออนุมัติทำลายตามวิธีที่เหมาะสมจาก BOI หาก ”ทำลายหมดจะไม่มีภาระภาษี” แต่หากมีเศษซากหลังการทำลายที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ และบริษัทประสงค์จะขอจำหน่ายหรือโอนเศษซากดังกล่าวภายในประเทศ จะต้องขอให้ BOI มีหนังสือแจ้งไปยังกรมศุลกากรให้เรียกเก็บค่าภาษีอากรสำหรับเศษซาก หลังจากการทำลายบริษัทต้องจัดส่งหลักฐานการดำเนินการต่าง ๆ ให้กับ BOI เพื่อขอตัดบัญชีวัตถุดิบด้วย
การทำลายวัตถุดิบ หรือสินค้าเสื่อมสภาพ เพื่อลดภาษี สรุปขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้
– ต้องเป็นวัตถุดิบที่เป็นส่วนสูญเสีย ตามประกาศ สกท ที่ ป.5/2543
– ให้ยื่นขออนุมัติวิธีทำลาย
– เมื่อจะทำลาย ต้องให้ บ.Inspector ที่ได้รับมอบหมายจาก BOI ร่วมตรวจสอบรับรองการทำลายด้วย
– จากนั้น ยื่นขอปรับยอด (ตัดบัญชีวัตถุดิบ) ตามรายการและปริมาณที่ได้ทำลาย ตามที่ บ.Inspector รับรอง
– หากเศษซากจากการทำลาย มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะต้องยื่นชำระภาษีตามสภาพเศษซากนั้นๆ ด้วย
Q : บริษัทต้องการทำลายสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วแต่ไม่ได้มาตรฐาน จะต้องดำเนินการอย่างไร?
A : จะต้องดำเนินการ ดังนี้
1) แจ้ง BOI เพื่อขออนุญาตทำลายส่วนสูญเสียตามประกาศสำนักงาน ที่ ป.5/2543
2) แจ้งกรมสรรพากรเพื่อลดมูลค่าสินค้าในระบบบัญชีของบริษัท
ดังนั้น จะเห็นว่าหน่วยงาน สรรพากร สมอ. ศุลกากร หรือ BOI มีข้อกำหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับสินค้า วัตถุดิบ ที่เสื่อมสภาพ หรือไม่เป็นตามข้อกำหนด ว่าจะต้องมีการทำให้เสียภาพ หรือทำลายให้สิ้นซากเท่านั้น
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.en-technology.com/product-off-spec/
ที่มา : บริษัทรับกำจัดกากอุตสาหกรรม
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที