KC

ผู้เขียน : KC

อัพเดท: 06 มิ.ย. 2007 16.18 น. บทความนี้มีผู้ชม: 23141 ครั้ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน คงเป็นที่ทราบดีกันแล้วว่ารัฐบาลไทยมีความประสงค์จะทำให้สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi International Airport) เป็นจุดได้เปรียบเชิงแข่งขัน (competitive advantage) ของประเทศไทย โดยที่บริษัทการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย หรือ AOT ได้กำหนดให้สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นประตูสู่เอเชีย ซึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกนี้ไทยต้องแข่งขันในการให้บริการด้านการบินพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่พร้อมเพรียงกับสนามบินนานาชาติชาง กี ของสิงค์โปร์ สนามบินนานาชาติ Chek Lap Kok ของฮ่องกง และสนามบินนานาชาติ Beijing ของจีน ซึ่งจะเห็นได้ว่าแต่ละประเทศมีสนามบินที่มีชื่อเสียงและมีความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกในระดับมาตรฐานโลก ดังนั้นเพื่อให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้เข้าใจคู่ต่อสู้ของเราตามตำราพิชัยยุทธ์ของซุนหวู่ รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อย(หนึ่ง) ครั้ง ผมขออาสานำท่านผู้อ่านเที่ยวชมสนามบินนานาชาติ Chek Lap Kok ตั้งแต่เริ่มวางแผนโครงการจนแล้วเสร็จใช้งาน การที่เลือกสนามบินแห่งนี้เพราะว่าฮ่องกงได้เปิด Hong Kong Disneyland ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ดังนั้นสนามบินนานาชาติแห่งนี้จึงเป็น HUB หรือจุดศูนย์กลางการบินที่น่าจับตามองไม่น้อยเลย ตามผมมาได้เลยครับ


แผนผังอาคาร (Plan)

แผนผังอาคาร (Plan)

รูปที่ 5: แผนผังอาคาร

รูปที่ 6: ถนนด้านหน้าของอาคารผู้โดยสารขาออก

รูปที่ 7 : ชั้นผู้โดยสารขาออก

รูปที่ 8 : สะพานเชื่อมไปยัง check – in desk ที่ชั้นผู้โดยสารขาออกอยู่เหนือชั้นผู้โดยสารขาเข้า

รูปที่ 9 : Central concourse มองไปทางทิศตะวันออก

ผู้โดยสารขาออกที่เดินทางมาทางรถยนต์หรือรถไฟฟ้ามาที่อาคารศูนย์กลางการขนส่ง (GTC) ที่อยู่ด้านหน้าจะเดินผ่านสะพานเชื่อมไปยังอาคารผู้โดยสาร เมื่อเข้าไปในอาคารแล้วผู้โดยสารต้องเดินผ่านทางเดินเชื่อมไปยังโถงผู้โดยสารขาออกซึ่งมี check – in desk ตั้งอยู่ เมื่อผู้โดยสารขาออกผ่านการตรวจสอบเอกสารและกระบวนการที่กองตรวจคนเข้าเมืองแล้วผู้โดยสารขาออกจะผ่านเข้าไปที่โถงตะวันออก (East Hall) ซึ่งเป็นโซนของภัตตาคาร (restaurant) ร้านค้า และกิจกรรมเชิงพาณิชย์ต่างๆ จากโถงตะวันออกนี้ต่อเชื่อมด้วยอาคารเทียบเครื่องบิน หรือ Concourses แยกเป็น 3 ทิศทางพร้อมประตูทางออกขึ้นเครื่องสำหรับเครื่องบินลำตัวกว้างจำนวน 38 แห่ง เนื่องจากโถงตะวันออกและโถงตะวันตกอยู่ห่างกันถึง 1.2 กิโลเมตรดังนั้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารที่ต้องขึ้นเครื่องทางด้าน Diagonal Concourses ซึ่งอยู่ทางโถงตะวันตก จึงได้มีการติดตั้งระบบขนย้ายผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated people mover : APM) ที่ชั้นใต้ดินเพื่อต่อเชื่อมโถงตะวันออกและโถงตะวันตกเข้าด้วยกัน อุโมงค์ของระบบ APM นี้ยังใช้ลำเลียงสัมภาระและกระเป๋าเดินทางจากระบบสายพานลำเลียงกระเป๋าซึ่งอยู่ใต้อาคารผู้โดยสาร และยังได้ก่อสร้างอุโมงค์เพื่อรองรับอาคารผู้โดยสารเฟส 2 ในอนาคตและอาคารเทียบเครื่องบินที่เกี่ยวข้อง

รูปที่ 10 : รูปตัดในแนวตะวันออก – ตะวันตก

รูปที่ 11 : โถงรอรับกระเป๋าเดินทางและสัมภาระ (Baggage hall)

สำหรับผู้โดยสารขาเข้าจะเดินทางเข้าออกในทิศทางตรงกันข้ามกับผู้โดยสารขาออก โดยชั้นผู้โดยสารขาเข้าจะอยู่ใต้ชั้นผู้โดยสารขาออก โถงรอรับกระเป๋าเดินทาง (baggage reclaim hall) อยู่ทางด้านหลังของโถงตะวันออกและอยู่ระหว่างชั้นระบบสายพานลำเลียงกระเป๋าและชั้นผู้โดยสารขาออกในอาคารผู้โดยสาร จากจุดนี้จะมีทางเดินสั้นๆไปยังกองตรวจคนเข้าเมืองซึ่งอยู่ต่ำกว่าโถงผู้โดยสารขาเข้า และในที่สุดท่านผู้อ่านก็เดินทางเข้าสู่ฮ่องกงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที