วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 มี.ค. 2024 02.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 661164 ครั้ง

ผิวแห้งคัน ปัญหาคันยุบยิบที่รักษาให้หายได้


ข้อควรรู้ แนะนำวิธีใช้ยาแก้ปวดไมเกรนให้ปลอดภัย ยาไมเกรนมีอะไรบ้าง?

ยาแก้ปวดไมเกรนใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

หลายๆคนคงมีความหงุดหงิดหรือรู้สึกไม่สบายใจกับโรคไมเกรนเนื่องจากโรคนี้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของหลายๆคน เนื่องจากมีอาการปวดศรีษะอยู่ตลอด หลายคนมักนิยมใช้ยาแก้ปวดไมเกรนในการลดอาการปวดศรีษะ ซึ่งการใช้ยาแก้ปวดหัวไมเกรน จะต้องใช้อย่างระมัดระวัง เช่น ยาลดปวดไมเกรน Ergotamine มีข้อควรระวังในการใช้ ต้องรับประทานยาอย่างถูกวิธี และหมั่นตรวจเช็คอาการผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้


ไมเกรนคืออะไร

ไมเกรน (Migraine) เป็นโรคที่มีอาการปวดศรีษะพบได้บ่อยๆทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ โดยสาเหตุหลักๆของโรคนี้มักมาจากความเครียด หรือปัจจัยต่างๆที่เป็นตัวกระตุ้น (Trigger Factor) ซึ่งจะส่งผลให้หลอดเลือดแดง (Vasodilation) ทั้งด้านนอก ด้านในกระโหลก ขยายตัวออกง่ายกว่าคนทั่วไป จึงนำมาสู่อาการปวดศรีษะได้ในที่สุด

 

นอกจากนี้ไมเกรนยังสามารถเกิดจากพันธุกรรมได้ด้วยเช่นกัน โดยวิธีการป้องกันการปวดไมเกรนนั้นส่วนใหญ่จะใช้วิธีการทานยาแก้ปวดไมเกรน ยาแก้ไมเกรนจะแบ่งออกได้เป็นสองรูปแบบ คือ  ยาป้องกันโรคไมเกรน (Preventive drugs) และยาแก้ปวดไมเกรนแบบฉับพลัน (Abortive drugs) ยาแก้ไมเกรนจะมีข้อควรระวังในการใช้ คือ ยา Ergotamine ยาแก้ปวดไมเกรนประเภทนี้มีการใช้ค่อนข้างมากเนื่องจากใช้รักษาแบบฉับพลันแต่ก็มีข้อควรระวังเช่นกันครับ


ปัจจัยกระตุ้นไมเกรน

ปัจจัยการกระตุ้นไมเกรนนั้นมีหลายประการ แต่ในปัจจุบันนั้นเรายังไม่สามารถทราบได้ว่าอาการปวดหัวไมเกรนนั้นเกิดจากอะไร โดยอาการกระตุ้น ได้แก่

-ไมเกรนสามารถเกิดได้จากความเครียด
-การอดอาหารหรือรับประทานอาหารไม่เพียงพอก็เป็นหนึ่งในปัจจัยกระตุ้นไมเกรนได้
-อาการถอนคาเฟอีน
-การทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายมากเกินไป หรือการออกกำลังกายอย่างหักโหมก็ทำให้เกิดโรคไมเกรนได้
-อีกหนึ่งปัจจัยที่เกิดไมเกรนได้คือการสูบบุหรี่
-การใช้ยาบางประเภท
-การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือนอนน้อย

 

อาการไมเกรนมีอะไรบ้าง

อาการส่วนใหญ่ของไมเกรนนั้น คือมีอาการปวดหัวตุบๆ หรืออาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยอาจมีอาการปวดหัวรุนแรงขึ้นได้ อาการจะเป็นๆหายๆ ส่วนมากไม่เกิน 1 วันก็จะดีขึ้นแต่อาการปวดหัวไมเกรนก็ยังสามารถเป็นใหม่ได้อยู่

 

ยาแก้ปวดไมเกรน

ยาแก้ปวดไมเกรนยี่ห้อไหนดี

หลายคนอาจมีอาการปวดหัวไมเกรนในวันที่สำคัญๆหรือวันที่มีธุระต้องทำ ทางเลือกในการรักษาไมเกรนได้ง่ายและไวที่สุด คือ การทานยาแก้ปวดไมเกรน ยาไมเกรนจะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้แต่อาจจะไม่ได้ทำให้หายขาดเนื่องจากไมเกรนนั้นในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาที่ทำให้หายขาดแต่มีวิธีการป้องกัน โดยยาแก้ปวดไมเกรนนั้นออกฤทธิ์ช่วยลดอาการปวดศรีษะกระตุ้นตัวรับของสารสื่อประสาทซีโรโทนิน (serotonin) ซึ่งส่งผลให้หลอดเลือดที่ขยายตัวผิดปกติเกิดการหดตัวลงและทำให้อาการปวดศีรษะหายไปในที่สุด


ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้ปวดไมเกรน

การใช้ยาแก้ปวดไมเกรนควรอยู่ในการกำชับดูแลของแพทย์เท่านั้น ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้ปวดไมเกรน มีดังนี้
 

-อาจมีอาการ คลื่นไส้อาเจียน

-ใจสั่น เจ็บหน้าอก

-ความดันโลหิตสูง

-ปลายมือ เท้าเย็นหรือชา


ยาแก้ปวดไมเกรน มีอะไรบ้าง

ยาแก้ปวดหัวไมเกรน มีอะไรบ้าง ใช้อย่างไร

ยาไมเกรนตัวไหนดี ปวดหัวไมเกรนกินยาอะไรหาย เป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โดยกลุ่มยาไมเกรน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 


1.ยารักษาไมเกรนตามอาการ โดยจะรักษาตามอาการของผู้ป่วย

2.ยาป้องกันโรคไมเกรน ช่วยในการป้องกันไมเกรนได้ในระดับหนึ่ง


กลุ่มยารักษาอาการปวดไมเกรนเฉียบพลัน

กลุ่มยารักษาไมเกรนเฉียบพลันจะช่วยรักษาไมเกรนตามอาการต่างๆของผู้ป่วย เช่น อาการปวดหัวธรรมดาๆ อาการปวดหัวรุนแรง หรืออาเจียน คลื่นไส้ โดยวันนี้เราจะพามาดูว่ากลุ่มยาไมเกรน มีอะไรบ้าง

ยารักษาไมเกรนเฉียบพลัน

ยาบรรเทาอาการปวดหัว

ยาบรรเทาอาการปวดหัวที่ไม่รุนแรง ได้แก่
-ยาสามัญ Paracetamol
-ยาลดการอักเสบที่ไม่ไช่สเตียรอด์ (NSAIDs) ได้แก่ Ibuprofen, Naproxen, Celecoxib, Etoricoxib

ยาแก้ปวดหัวไมเกรนรุนแรง

ยาแก้ปวดหัวไมเกรนรุนแรง ยากลุ่ม Triptans ได้แก่ Sumatriptan, Eletriptan

ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน

ยาสำหรับเบาเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน ได้แก่ Metoclopramide, Domperidone


กลุ่มยาป้องกันโรคไมเกรน

กลุ่มยาป้องกันไมเกรนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มยาต้านเศร้า กลุ่มยากันชัก กลุ่มยาลดความดัน
 

ยาป้องกันไมเกรน

1. กลุ่มยาต้านเศร้า (Tricyclic Antidepressants)

กลุ่มยาต้านเศร้าได้แก่ Amitriptyline สำหรับป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ไม่ได้เป็นผลจากการรักษาอาการซึมเศร้าที่อาจจะแอบแฝงอ

2. กลุ่มยากันชัก (Anticonvulsant)

กลุ่มยากันชักได้แก่ Valproate, Topiramate ยากันชักนั้นมีการนำมาใช้ป้องกันไมเกรนมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากมีการศึกษามากขึ้นว่านำมาใช้ป้องกันได้

3. กลุ่มยาลดความดัน (Beta blocker)

กลุ่มยาลดความดันได้แก่ Propranolol, Metoprolol tartrate, Verapamil ยากลุ่มนี้ถูกนำมาใช้มากที่สุดในการป้องกันไมเกรน เนื่องจากยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ยับยั้ง beta-receptor ในระบบประสาทส่วนกลาง
 


หากใช้ยาไมเกรนผิดวิธีจะส่งผลเสียอย่างไร

ยาแก้ปวดไมเกรน เป็นยาที่ควรใช้เมื่อมีอาการปวดศรีษะกำเริบเท่านั้น ในผู้ป่วยบางรายมีการรับประทานยาแก้ปวดไมเกรน ติดต่อกันมากเกินไปเพื่อลดอาการปวดศรีษะไมเกรน ซึ่งตามหลักแล้วเป็นวิธีที่ผิด ซึ่งอาจนำมาสู่ผลเสียรุนแรงที่อาจถึงชีวิตได้  โดยการรับประทานยาจำพวก Ergotamine ติดต่อกันมากเกินไปเรื่อยๆ จะส่งผลให้ผู้ใช้ยามีความดันโลหิตสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดในสมองแตก หรือถึงขั้นหัวใจวาย โดยเฉพาะกับผู้ที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมอง


วิธีแก้ปวดไมเกรนโดยไม่ใช้ยา

หลายๆคนคงมีชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไปจากการโดนโรคไมเกรนทำลายชีวิตประจำวันไป โดยในวันนี้เราจะพามาดูวิธีรักษาไมเกรนด้วยวิธีต่างๆ โดยไม่ใช้ยากันครับ จะมีด้วยกัน 6 วิธีหลักๆ โดยวิธีที่นิยมและแนะนำมากๆเลยคือวิธีการฉีดโบท็อก เนื่องจากเป็นวิธีที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีมากๆ

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ปรับพฤติกรรมแก้ไมเกรน

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นเป็นอีกหนึ่งวิธีแก้ปวดไมเกรนโดยไม่กินยา หลายๆคนอาจยังไม่รู้ว่าเราสามารถรักษาไมเกรนด้วยตัวเองหรือรักษาไมเกรนโดยการใช้ยาก็ได้ การรักษาไมเกรนด้วยตัวเองเบื้องต้นนั้นเราอาจมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง

 

โดยหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหม การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อย หรืออาจหากิจกรรมเพื่อลดความเครียดลงได้ เช่น การออกกำลังกายอย่างพอดี การเล่นดนตรี การเล่นกีฬาหรือพบปะเพื่อนฝูงสันทนาการ เป็นต้น

 

การรักษาไมเกรนด้วยวิธีการทานยาแก้ปวดไมเกรนนั้นสามารถช่วยบรรเทาอาการได้จริง แต่ควรใช้ยาอย่างระมัดระวังถูกต้อง หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มากเกินขนาดซึ่งอาจนำไปสู่อาการปวดศรีษะที่มากเกินไปหรืออาจมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้

2. ใช้การประคบเย็นเข้าช่วย

ประคบเย็นช่วยรักษาไมเกรน

อีกหนึ่งวิธีการรักษาไมเกรนได้โดยไม่ใช้ยาแก้ปวดไมเกรน คือการประคบเย็น โดยเราสามารถนำผ้าเย็นหรืออาจเป็นเจลแก้ปวดไมเกรนมาประคบบริเวณหน้าผากหรือส่วนคอได้ หากประคบเย็นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นเราอาจประคบเย็นที่หน้าผากและประคบร้อนบริเวณท้ายทอย โดยสลับกันทุกๆ 2 นาที ก็จะสามารถบรรเทาอาการปวดศรีษะลงได้

3. นวดกดจุดบรรเทาอาการปวดไมเกรน

นวดกดจุดรักษาไมเกรน

อีกหนึ่งวิธีที่นิยมใช้มากๆในการรักษาอาการปวดไมเกรนแทนการใช้ยาแก้ปวดไมเกรน คือ การนวดกดจุด เนื่องจากวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย เพราะไม่ต้องใช้ยา หรือไม่ต้องหาเจลแก้ปวดไมเกรนมาช่วยแต่เป็นเพียงการรักษาด้วยตนเองเบื้องต้นเพียงเท่านั้น

 

โดยมีวิธีการดังนี้ ให้ใช้มือข้างซ้ายรองไว้หลังศรีษะของตนเอง แล้วจากนั้นให้ใช้นิวโป้งมือขวาค่อยๆกดบริเวณหัวคิ้วค่อยๆเพิ่มน้ำหนักมือขึ้น จากนั้นค่อยคลายนิ้วมือออก เพียงเท่านี้ก็อาจจะช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้

4. ฝังเข็มแก้ไมเกรน

ฝังเข็มรักษาไมเกรน

การฝังเข็มรักษาไมเกรนเป็นอีกหนึ่งในวิธีการรักษาไมเกรนแทนการใช้ยาแก้ปวดไมเกรนได้ดีมากๆวิธีหนึ่ง โดยมีการวิจัยออกมาแล้วว่าการฝังเข็มนั้นได้ผลที่ดีมากกว่าการใช้ยาไมเกรน หลังจากที่ฝังเข็มแล้ว อาการปวดศรีษะไมเกรนจะลดลงอย่างเห็นผลได้ชัด จะรู้สึกผ่อนคลาย อาการเวียนศรีษะก็จะลดลงหายไปทำให้ผู้ป่วยหลายๆคนเลือกที่จะใช้วิธีนี้เพราะให้ผลลัพธ์ที่น่าพึ่งพอใจ

5. ฉีดยาบรรเทาไมเกรน

ฉีดยาไมเกรน

การฝังเข็มรักษาไมเกรนก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้ผลดี และมีการวิจัยออกมาแล้วว่าการฝังเข็มนั้นได้ผลที่ดีมาก หลังจากฝังเข็มแล้ว อาการปวดจะลดลง รู้สึกผ่อนคลาย อาการเวียนศีรษะลดลงเลยทำให้มีผู้ป่วยบางคนเลือกจะใช้วิธีนี้เพราะให้ผลลัพธ์ที่ดีวิธีหนึ่ง

6. ฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน

โบท็อกรักษาไมเกรน

อีกหนึ่งวิธีการรักษาไมเกรน คือ การฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน วิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการไมเกรนเรื้อรัง หรือผู้ป่วยที่มีอาการปวดศรีษะไมเกรนรุนแรง ปวดศรีษะอย่างน้อย 14 วันต่อเดือนขึ้นไป การฉีดโบท็อกเป็นหนึ่งในวิธีรักษาไมเกรนที่ดี เนื่องจากได้ผลลัพธ์ที่ดีในการรักษาไมเกรน ผู้ป่วยหลายๆคนจึงหันมาฉีดโบท็อกเพื่อรักษาไมเกรนกันมากขึ้น


แนวทางการดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยไมเกรน

การดูแลตัวเองจากอาการไมเกรนนั้น ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรนอนน้อย รับประทานอาหารให้ครบ ไม่ควรอดอาหาร อาจมีการรักษาเบื่องต้นด้วยตนเองได้หากมีการใช้ยาแก้ปวดไมเกรนควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์เสียก่อน

1. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น

หลีกเลี่ยงการพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อย ลดความเครียด หรือออกกำลังหายหักโหมมากจนเกินไป จะช่วยหลีกเลี่ยงอาการไมเกรนได้

2. ดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ

หมั่นดูแลร่างกาย ออกกำลังกายอย่างพอดี ไม่อดอาหาร ทานอาหารให้ครบ ทำกิจกรรมต่างๆลดความเครียดจะช่วยให้หลีกเลี่ยงการปวดหัวไมเกรนได้

3. เข้ารับการรักษาหากอาการรุนแรง

หากมีอาการปวดหัวไมเกรนที่รุนแรงจนไม่สามารถรักษาด้วยตนเองได้ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วนเพื่อรับการวินิจฉัย รักษาได้ทัน


ปรึกษาการใช้ยาไมเกรนกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

หากมีอาการปวดหัวไมเกรนนั้นการใช้ยาอาจเป็นวิธีที่ง่ายและไวในการรักษาไมเกรนเบื้องต้น แต่ยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงที่เราอาจไม่รู้ ดังนั้นควรปรึกษาเรื่องการใช้ยากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน เพื่อจะได้ใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ถูกวิธี


ข้อสรุป

ยาแก้ปวดไมเกรนนั้นสามารถช่วยป้องกัน ช่วยรักษาไมเกรนได้จริง แต่ก็แลกมากับการต้องใช้ยาอย่างระมัดระวัง เนื่องจากผลข้างเคียงของยานั้นส่งผลเสียได้ ดังนั้นหากมีอาการไมเกรนก็ควรรักษา หรือทานยาแก้ไมเกรนให้ถูกวิธี


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที