วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 มี.ค. 2024 02.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 672173 ครั้ง

ผิวแห้งคัน ปัญหาคันยุบยิบที่รักษาให้หายได้


ฉนวนกันเสียง ลดเสียงรบกวน ผู้ช่วยเพื่อความสงบในบ้านคุณ

 เสียงรบกวน

ปัญหาเสียงรบกวนเป็นสิ่งที่กวนใจใครหลายๆคน ไม่ว่าจะเป็นในบ้านที่เราใช้พักผ่อน หรือสถานที่อื่นๆอย่างโรงเรียน ที่ทำงาน ก็ล้วนก็ต้องการบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการทำกิจกรรมต่างๆ คงไม่ดีแน่หากมีเสียงรบกวนจากภายนอกเข้ามาทำลายสมาธิของเรา รวมถึงการที่การทำกิจกรรมต่างๆของเรา กลายเป็นมลพิษทางเสียงรบกวนคนอื่น ปัญหาเหล่านี้แก้ไขได้ไม่ยาก ด้วยการติดตั้งฉนวนกันเสียง


ฉนวนกันเสียง คือ

ฉนวนกันเสียง คือวัสดุที่ผลิตขึ้นเพื่อดูดซับเสียง มักผลิตจากใยหินภูเขาไฟ ใยแก้ว โฟม หรือฟองน้ำ ติดตั้งที่โครงสร้างผนังหรือเพดาน แผ่นฉนวนกันเสียงสามารถป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก ไม่ให้เข้ามาในห้องและป้องกันไม่ให้เสียงภายในดังออกไปนอกห้องได้ ทั้งยังสามารถใช้เป็นฉนวนลดเสียงสะท้อน ช่วยลดเสียงสะท้อนภายในห้องได้อีกด้วย

คุณสมบัติของแผ่นฉนวนกันเสียงนั้น นอกจากจะใช้ดูดซับเสียงแล้วยังสามารถใช้ตกแต่งผนังและเพดานได้ รวมถึงสามารถใช้เป็นฉนวนกันความร้อน ช่วยลดอุณหภูมิในห้อง ทำให้ห้องเย็นขึ้น นอกจากนี้ยังติดไฟได้ยาก จึงสามารถชะลอการลุกลามของไฟได้ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้


ฉนวนกันเสียง ประเภท

ฉนวนกันเสียง

ฉนวนกันเสียง หรือแผ่นฉนวนกันเสียง มีลักษณะเป็นรูพรุนเพื่อดูดซับเสียง สามารถผลิตได้จากหลายวัสดุ แต่ส่วนมากแล้วจะผลิตจากใยแก้ว และใยหินภูเขาไฟ ซึ่งวัสดุทั้งสองประเภทก็มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของคุณสมบัติ การใช้งาน ราคา ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานให้ตรงกับสถานที่และความต้องการได้

ฉนวนกันเสียงใยแก้ว

แผ่นฉนวนกันเสียงใยแก้ว แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือความหนาแน่นต่ำ และความหนาแน่นสูง

ฉนวนกันเสียงใยหินภูเขาไฟ

ฉนวนกันเสียงใยหินภูเขาไฟ มีสองแบบคือแบบม้วนและแบบแข็ง มีคุณสมบัติดูดซับเสียงได้ดี ทนความร้อนสูง และช่วยลดคุณหภูมิทำให้ห้องเย็นขึ้น สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นใช้ในห้องดนตรี ห้องประชุม หรือใช้เป็นฉนวนกันเสียงรถยนต์


จุดเด่นของฉนวนกันเสียง

 ฉนวนกันเสียงป้องกันเสียงรบกวน

แผ่นฉนวนกันเสียง มีคุณสมบัติและจุดเด่นดังนี้


ฉนวนกันเสียง ใช้งานอย่างไร

การใช้งานฉนวนกันเสียงภายในบ้านหรือสิ่งปลูกสร้าง สามารถใช้งานร่วมกับระบบผนังต่างๆภายในบ้าน เพื่อให้คุณสมบัติของฉนวนกันเสียงช่วยกลบข้อด้อย หรือเสริมข้อเด่นของระบบผนังแต่ละแบบ ซึ่งได้แก่ ระบบผนังเบา ระบบผ้า ระบบผนังคอนกรีต และระบบผนัง cavity

ระบบผนังเบา

การใช้ฉนวนกันเสียงร่วมกับผนังเบา เนื่องจากระบบผนังเบานั้นมีคุณสมบัติเด่นคือน้ำหนักที่เบา ใช้กันพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน ทว่าผนังเบาไม่สามารถกันเสียงระหว่างห้องได้ จึงต้องการการใช้ฉนวนกันเสียงเสริมเข้าไปเพื่อช่วยในเรื่องของการดูดซับเสียง ลดปัญหาเสียงรบกวนระหว่างห้อง

ระบบฝ้า

ฉนวนกันเสียง สามารถใช้ร่วมกับระบบฝ้าได้ โดยทั่วไปแล้วระบบฝ้าจะช่วยป้องกันความร้อนจากหลังคา ไม่ให้ความร้อนผ่านเข้ามาในห้องโดยตรง รวมถึงช่วยดูดซับเสียง ฉนวนกันเสียงจึงช่วยในการเสริมการป้องกันความร้อนและเสียงรบกวนจากด้านบน การติดตั้งฉนวนกันเสียงเพดานนั้น สามารถติดตั้งแผ่นฉนวนกันเสียงไว้ด้านบนโครงคร่าว แล้วจึงตีแผ่นยิปซัมปิดไว้ นอกจากจะช่วยลดความร้อนและเสียงรบกวนแล้ว ยังช่วยลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศด้วย

ระบบผนังคอนกรีต

นอกจากการป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกแล้ว การป้องกันเสียงจากภายในห้องไม่ให้ไปรบกวนห้องอื่นก็สำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะในห้องที่มีการใช้เสียง เช่น ห้องซ้อมดนตรี ห้องที่มีเครื่องปั่นไฟ ก็จะมีการเสริมฉนวนป้องกันเสียงเข้ากับผนังคอนกรีตและใต้เพดาน เพื่อลดเสียงรบกวน

ระบบผนัง cavity

ระบบผนัง cavity คือการใช้แผ่นฉนวนกันเสียง ใส่เข้าไปตรงกลางระหว่างผนัง โดยทั่วไปแล้วผนังในลักษณะนี้มีไว้เพื่อเสริมความแข็งแรงของอาคาร เมื่อเสริมด้วยฉนวนกันเสียงเข้าไป ก็จะได้คุณสมบัติในด้านการดูดซับเสียงเพิ่มด้วย


สรุปเรื่องฉนวนกันเสียง

 ติดตั้งฉนวนกันเสียง

ฉนวนกันเสียง เป็นวัสดุที่ช่วยเสริมความเป็นส่วนตัวให้กับบ้านของคุณ ป้องกันมลพิษทางเสียง รวมถึงช่วยลดความร้อนภายในบ้านและอาคารได้อีกด้วย ฉนวนกันเสียงผลิตจากวัสดุหลายแบบ แต่ละแบบก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป สามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด


 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที