วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 มี.ค. 2024 02.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 661659 ครั้ง

ผิวแห้งคัน ปัญหาคันยุบยิบที่รักษาให้หายได้


โควิด 19 ในปี 2023 กับวิธีอยู่รอดในการกักตัว 14 วัน

กักตัว 14 วัน 

เชื้อโควิด 19 หรือชื่อเต็มโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปลายเดือน ธันวาคม พ.ศ.2562 เป็นระยะนานเวลากว่า 3 ย่างเข้า 4 ปีแล้วทุกคนบนโลกยังต้องเผชิญปัญหาอยู่ โดยเชื้อโรคสามารถติดต่อกันได้ผ่านทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุของการระบาดไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย เผลอไอ จาม หรืออยู่ใกล้กันอยู่สภาพแวดล้อมที่ไม่ถ่ายเท ทำให้เกิดการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม

แต่ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะคนที่ติดหรือได้รับเชื้อ อาจมีอาการหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุหลายปัจจัยแต่บทความนี้จะมาบอกเล่าถึงวิธีกักตัว 14 วัน ให้อยู่รอดในปี 2023 เมื่อติดแล้วมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร ให้ปลอดภัยและ ไม่แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นแบบไม่ตั้งใจ


กักตัว 14 วัน (Self-quarantine at Home)

Self-quarantine at Home แปลว่า การกักตัวเองที่บ้านเพื่อสังเกตอาการ ทำไมต้องกักตัวเนื่องจากผู้ป่วยโรคโควิด 19 สามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่อยู่ในระยะก่อนเริ่มป่วยแล้ว 1-2 วัน แต่วันที่เริ่มป่วยจะเป็นระยะที่มีโอกาสแพร่เชื้อได้มากที่สุด ทำให้ต้องกักตัวที่บ้าน มีการแบ่งระยะเวลาการกักตัว เพื่อลดโอกาสในการแพร่เชื้อทั้งในสถานที่ที่ท่านทำงานหรือในชุมชนที่ท่านอาศัยอยู่เป็นต้น

ทำไมต้อง 14 วัน เพื่อความมั่นใจทั้งเรื่องของการหายดี ไม่แพร่เชื้อ แต่ในปัจจุบันการกักตัวเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 นั้นมีการแยกการกักตัวตามลักษณะอาการผู้ป่วยที่ป่วยน้อยหรือผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อหนักกลุ่ม 608 หากใครสนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่บทความ กักตัว 14 วัน คลิกได้เลย 


กลุ่มเสี่ยงที่ควรกักตัว 14 วัน

กลุ่มเสี่ยงที่ควรกักตัว 14 วัน

กลุ่มเสี่ยงไหนบ้างที่ควรเข้ารับการกักตัว 14 วัน กรมควบคุมโรคแบ่งไว้เป็น 3 ระดับดังนี้

1. ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง

ผู้ที่ไปเที่ยวตามสถานบันเทิง หรือแม้แต่ทำงานในสถานประกอบการ ที่อาจมีการรับประทานอาหารร่วมกัน หรือการพูดคุยสนทนา โดยไม่มีการป้องกัน ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงต้องกักตัว 14 วัน โดยมีการตรวจ ATK ทุก 5 วัน และทุกวัน 10 วัน และมีการสอบถามไทม์ไลน์ผู้ติดเชื้อร่วมด้วย

2. ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ

ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ อาจติดหรือไม่ติดก็ได้ ควรตรวจ ATK แต่ไม่ต้องกักตัวพยายามหลีกเลี่ยงพื้นที่ชุมชน ควรห่างจากผู้อื่น คอยสังเกตอาการเป็นระยะเวลา 10 วัน

3. ผู้ไม่มีความเสี่ยง

ผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงควรระมัดระวัง ด้วยการใส่หน้ากากอนามัยต่อ ล้างมือบ่อย ๆ ต่อไป


คำแนะนำสำหรับการกักตัว 14 วัน

คำแนะนำสำหรับการกักตัว 14 วัน

ถ้ารู้ว่าตนเองเป็นกลุ่มเสี่ยงมีโอกาสติดเชื้อสูง หรือต้องเข้ารับการกักตัว 14 วันควรปฏิบัติดังนี้


วิธีสังเกตอาการในช่วงกักตัว 14 วัน

หากมีอาการตามหนึ่งข้อหรือมากกว่าในช่วงกักตัว 14 วัน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อขอตรวจเพิ่มเติม อย่าลืมใส่หน้ากากอนามัยตลอดการเดินทาง


กักตัว 14 วันอย่างไร ไม่ให้เครียด

กักตัว 14 วันไม่ให้เครียด

วิธีกักตัว 14 วันอยู่บ้านอย่างไร ให้ไม่เครียดจนสุขภาพจิตตก มีดังนี้

1. จัดการกับจิตใจพร้อมรับความเครียด

ระหว่างกักตัว 14 วันหากต้องอยู่คนเดียวมากเกินไปอาจเกิดความเครียดสะสมได้ ควรหากิจกรรมที่ตนเองชอบทำ ถือว่าเป็นการพักผ่อนร่างกาย จะได้ไม่เครียดมาก

2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่

การรับประทานอาหารดี ๆ สิ่งดี ๆ เราก็จะได้สุขภาพที่แข็งแรงตามไปด้วย ควรหลีกเลี่ยงของหวาน มัน เค็มจัด เพราะในช่วงระหว่างกักตัว 14 วัน อาจต้องกินยาเยอะเพื่อลดปัญหาสุขภาพไตตามมา

3. หมั่นดูแลสุขอนามัยพื้นฐาน

ดูแลความสะอาดอยู่เสมอ เพื่อฝึกให้เป็นนิสัยเป็นการเริ่มต้นของการมีสุขภาพดี

4. การผักผ่อนเป็นหัวใจสำคัญ

ควรผักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้ร่างกายแข็งแรงสู้กับโรคร้ายได้เรื่อย ๆ

5. ออกกำลังกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ

ออกกำลังกายก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดความเครียดได้หากต้องกักตัวอยู่ในห้องแคบ ๆ แนะนำให้เล่นโยคะ เต้น ยืดเส้นคลายกล้ามเนื้อเป็นต้น


กักตัว 14 วัน ครบแล้ว ทำอย่างไรต่อ

กักตัว 14 วันครบแล้วทำอย่างไรต่อ

กักตัว 14 วัน ครบแล้ว ควรสังเกตอาการตัวเองแล้วทำอย่างไรต่อดังนี้

หากกักตัว 14 วันแล้วพบว่ามีอาการ

สามารถโทรปรึกษาสายด่วนกรมควบคุมโรคได้ที่เบอร์ 1422 ถ้าแพทย์ที่ดูแลอยู่แนะนำให้กักตัวเพิ่มควรจะหยุดพักแล้วกักตัวตามแพทย์สั่งเพื่อความมั่นใจ และขอใบรับรองแพทย์

กักตัวครบ 14 วันแล้วไม่มีอาการ

เมื่อกักตัว 14 วันครบแล้วสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติได้เลย แต่ต้องเว้นระยะห่าง ดูแลตนเองดี ๆ ระวังไม่ให้ติดอีกครั้งต่อไป


ข้อสรุป

ในระหว่างกักตัว 14 วันควรเตรียมตนเองให้พร้อมรับมือทุกสถานการณ์ อาการป่วยอาจหนักขึ้นในช่วง 2-3 วันแรกที่กักตัว หรือไม่มีก็อย่านิ่งนอนใจควรดูแลตนเองให้พร้อม ระมัดระวังตนเองไม่กลับไปติดซ้ำ อย่าละเลยการดูแลสุขภาพจิตของตนเองในช่วงระบาดโควิด 19  เพื่อให้มั่นใจที่สุดควรรับวัคซีนไม่น้อยกว่า 4 เข็มในปี 2023 เพื่อลดความเสี่ยงต่ออาการหนักถึงขั้นรุนแรงและเสียชีวิตได้


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที