วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 มี.ค. 2024 02.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 671321 ครั้ง

ผิวแห้งคัน ปัญหาคันยุบยิบที่รักษาให้หายได้


กระดูกสะโพกหัก อันตรายไหม กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุทำอย่างไร อ่านเลย

กระดูกสะโพกหัก

กระดูกหักสะโพกหักอาจเป็นผลมาจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดหรืออาการแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ บางครั้งกระดูกสะโพกหักอาจไม่สามารถหายได้เป็นปกติหากเกิดในผู้สูงอายุหรือผู้มีความเสี่ยงอื่น ทั้งยังมีอัตราเสียชีวิตจากกระดูกสะโพกหักสูงถึง 20% จึงไม่ใช่สิ่งที่ควรปล่อยไว้โดยไม่รักษา

มาเรียนรู้อาการกระดูกสะโพกหัก สาเหตุ วิธีรักษา และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ในบทความนี้


กระดูกสะโพกหัก (Hip Fracture)

กระดูกสะโพกหัก (Hip Fracture) หมายถึงกระดูกต้นขาหรือส่วนกระดูกฟีเมอร์หัก ร้าว ซึ่งกระดูกส่วนนี้นับตั้งแต่หัวกระดูกฟีเมอร์จนถึงกระดูกต้นขาหรือสะโพก สาเหตุที่กระดูกสะโพกแตกมักมาจากการบาดเจ็บรุนแรง เช่น ได้รับแรงกระแทกแรงๆ หกล้ม 

ผู้มีปัญหากระดูกสะโพกหักสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่

สามารถอ่านเรื่องกระดูกสะโพกหักจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่นี่ คลิก กระดูกสะโพกหัก ได้เลย


ทำความรู้จัก กระดูกสะโพก

กระดูกสะโพก

กระดูกสะโพก หรือ Hip Bone คือกระดูกบริเวณสะโพกที่เป็นส่วนข้อต่อเชื่อมกับกระดูกเชิงกราน ทำให้ขาสามารถเคลื่อนไหว งอ หมุน โดยปกติแล้วจะมีกล้ามเนื้อและเอ็นจำนวนมากช่วยรองรับกระดูกข้อต่อ หากได้รับบาดเจ็บบริเวณนี้จะทำให้เคลื่อนไหวไม่สะดวกอย่างมาก


สาเหตุอาการกระดูกสะโพกหัก

สาเหตุกระดูกสะโพกหัก

สาเหตุของกระดูกสะโพกหักหรือแตกมีได้หลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้

1. เพศกำเนิด

เพศหญิงจะมีการเสียแคลเซียมจากประเดิม เมื่อขาดแคลเซียมกระดูกก็จะอ่อนแอลง เมื่อหมดประจำเดือน ฮอร์โมนต่างๆก็จะลดลงรวมถึงฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนนี้มีส่วนช่วยป้องกันกันโรคกระดูกพรุน เมื่อลดลงกระดูกจึงบางลงไปด้วย

2. อายุที่เพิ่มมากขึ้น

ความหนาแน่นของกระดูกและมวลกล้ามเนื้อจะลดลงตามอายุเป็นธรรมชาติ หลังอายุ 40 มวลกล้ามเนื้อและกระดูกจะลดลงเร็วมากขึ้น หลังอายุ 70 จะยิ่งลดเร็วขึ้นทำให้กระดูกเปราะบาง แตกง่าย กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุจึงพบได้บ่อยกว่าวัยอื่นๆ เพราะเพียงได้รับแรงกระแทรกเล็กน้อยก็สามารถกระดูกแตกได้

3. อุบัติเหตุ

การกระแทกรุนแรงจากอุบัติเหตุ เช่น ลื่นล้ม หกล้ม หรืออุบัติเหตุทางรถยนต์ อาจทำให้กระดูกแตกได้ไม่ใช่แค่เพียงสะโพกหัก มีผู้ประสบอุบัติเหตุมากใช้ส่วนสะโพกหรือก้นลงพื้นเป็นตัวรับน้ำหนักทำให้กระดูกส่วนนี้ได้รับแรงกระแทกมากและหักบ่อย

4. การขาดแคลเซียม

แคลเซียมมีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้กระดูกแข็งแรง หากเสียแคลเซียมมากเกินไปจะทำให้เซลล์สร้างกระดูกหันมาทำลายกระดูกแทน กระดูกจึงบาง เปราะ เมื่อได้รับแรงกระแทกไม่มากก็สามารถแตกหักได้

5. โรคเรื้อรังประจำตัว

กระดูกสะโพกหักอาจเป็นอาการแทรกซ้อนหรืออาการที่เกิดได้ง่ายในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ผู้ป่วยโรคนี้จะสูญเสียแคลเซียมทำให้กระดูกไม่แข็งแรงเท่าคนธรรมดา

6. รับประทานยาบางชนิดเป็นประจำ

ยาบางชนิดส่งผลต่อระบบประสาท เช่น ยาแก้แพ้ ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ หากต้องรับประทานเป็นประจำ คนไข้อาจเวียนศีรษะส่งผลให้หกล้มง่ายขึ้น เสี่ยงต่อกระดูกสะโพกหัก และยังมียาบางชนิดที่ทำให้กระดูกอ่อนแออย่างยาสเตียรอยด์

7. การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์

สารนิโคนิตในบุหรี่ส่งผลต่อกระบวนการเสริมสร้างแคลเซียมที่กระดูก ส่วนแอลกอฮอลล์จะทำให้ลำไส้ดูดซึมแคลเซียมลำบากขึ้น ทั้งสองอย่างจึงทำให้กระดูกบางและอ่อนแอลง


ประเภทของอาการกระดูกสะโพกหัก

โดยเราสามารถแบ่งอาการกระดูกสะโพกหักได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

1. กระดูกโคนขาส่วนคอหัก

กระดูกสะโพกหักประเภทนี้คือกระดูกโคนขาส่วนหัวหักออกจากกระดูกโคนขา หากกระดูกส่วนนี้หักจะมีความเสี่ยงสูงที่กระดูกจะไม่สมานหรือตายเพราะเลือดไปหล่อเลี้ยงน้อยลง การรักษาจะขึ้นอยู่่กับการวินิจฉัยผู้ป่วย เช่น อายุ กระดูกเคลื่อนไปมากเท่าไร

2. กระดูกสะโพกหักผ่านแนวปุ่มบนกระดูกโคนขา

กระดูกสะโพกหักประเภทนี้คือกระดูกถัดจากกระดูกโคนขาส่วนคอหัก รักษาด้วยการผ่าตัดศัลยกรรมเพื่อยึดตรึงกระดูกโดยใส่หมุด สกรู หรือแผ่นโลหะ

3. กระดูกสะโพกหักใต้ปุ่มกระดูกโคนขา

กระดูกสะโพกหักประเภทนี้มักคือกระดูกหักบริเวณใต้ปุ่มกระดูกโคนขาปลายอันเล็ก อาจหักมากกว่าหนึ่งจุด แต่การที่กระดูกบริเวณนี้จะหักนั้นเป็นไปได้ยากกว่าส่วนอื่นๆ พบได้น้อยกว่า อาจรักษาด้วยการผ่าตัด


อาการกระดูกสะโพกหัก

อาการกระดูกสะโพกหัก

กระดูกสะโพกหักมักมีอาการดังนี้


กระดูกสะโพกหัก อันตรายไหม 

หากผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักนับว่าอันตรายมาก มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตภายในหนึ่งปี ทั้งนี้ สาเหตุอาจไม่ใช่กระดูกสะโพกหักโดยตรงแต่เป็นอาการแทรกซ้อนต่างๆ เพราะกระดูกสะโพกหักมีอาการแทรกซ้อนมากเนื่องจากผู้ป่วยขยับไปไหนไม่สะดวกจนต้องอยู่กับที่นานๆ เช่น

หากกระดูกสะโพกหักจึงควรรีบรักษาทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเหล่านี้


การวินิจฉัยอาการกระดูกสะโพกหัก

วินิจฉัยกระดูกสะโพกหัก

1. การซักประวัติ

เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำจะมีการถามประวัติคนไข้ก่อน ได้แก่ ประวัติสุขภาพ โรคประจำตัว ระดับความเจ็บปวดในตอนนี้ สาเหตุที่คาดว่าทำให้กระดูกสะโพกหัก ทั้งนี้อาจมีการสอบถามอื่นๆเพิ่มเติมตามที่แพทย์เห็นว่าเหมาะสมเพื่อสามารถรักษาได้ถูกจุด

2. การตรวจร่างกาย

หลังจากผ่านการวินิจฉัยเบื้องต้นจากการซักถาม จะตรวจร่างกายเพื่อตรวจอาการ เช่น คลำหาจุดเจ็บต่างๆ จุดฟกช้ำ จุดบวม 

3. การเอกซเรย์ (X-Ray)

หากวินิจฉัยว่ามีอาการกระดูกสะโพกหัก ผู้ป่วยจะต้องเอกซเรย์เพื่อหาว่ากระดูกส่วนใดหัก แตก บางเคสอาจต้องใช้ MRI (Magnetic Resonance Imaging) ด้วยเพื่อให้ได้ภาพที่ละเอียดมากขึ้น ส่วนมากเคสที่ต้องทำ MRI ด้วยตือกระดูกสะโพกคอหักแบบไม่เคลื่อน เพราะใช้เพียงเอกซเรย์อาจไม่เพียงพอ


วิธีรักษาอาการกระดูกสะโพกหัก

การรักษากระดูกสะโพกหักมีทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ

การรักษากระดูกสะโพกหักแบบไม่ต้องผ่าตัด

รักษากระดูกสะโพกหักแบบไม่ผ่าตัด

การผ่าตัดรักษากระดูกสะโพกหัก

รักษากระดูกสะโพกหักแบบผ่าตัด


หลังผ่าตัดสะโพกหัก พักฟื้นอย่างไร

พักฟื้นหลังกระดูกสะโพกหัก

หลังจากได้รับการรักษาแล้ว เพื่อที่จะสามารถใช้งานส่วนสะโพกได้ดังเดิม การฟื้นฟูก็สำคัญมาก สิ่งที่ควรทำเพื่อพักฟื้นมีดังนี้


ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากกระดูกสะโพกหัก 

ภาวะแทรกซ้อนส่วนมากมาจากการที่ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือขยับตัวได้โดยสะดวก เช่น

อาการแทรกซ้อนเหล่านี้อาจถึงชีวิตได้จึงควรรีบเข้ารับการรักษา


แนวทางการป้องกันกระดูกสะโพกหัก 

อาหารป้องกันกระดูกสะโพกหัก

สาเหตุของกระดูกสะโพกหักมักมาจากอุบัติเหตุหรือโรคที่มีอยู่แล้ว เช่น กระดูกพรุน ดังนั้น หากต้องการป้องกันกระดูกสะโพกหักควรหันไปใส่ใจการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกเพื่อให้กระดูกสามารถรับแรงกระแทกได้หรือลดความเสี่ยงการเป็นโรคกระดูกพรุน

แนวทางการดูแลกระดูกให้แข็งแรง

ดูแลกระดูกให้แข็งแรงได้ง่ายๆด้วยการทานอาหารที่มีแคลเซียมเยอะ เช่น นม ผลิตภัณฑ์จากนม สัตว์ตัวเล็กที่รับประทานได้ทั้งกระดูกหรือเปลือกอย่าง กุ้งฝอย ปลาตัวเล็ก นอกจากอาหารอุดมแคลเซียมแล้ว ควรทานอาหารเพิ่มวิตามินดี เช่น ปลาที่มีไขมันสูง ไข่แดง ธัญพืช เห็ด น้ำมันตับปลา

นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอลล์ แต่ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เสริมสร้างให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรง


ข้อสรุป

กระดูกสะโพกหัก มีสาเหตุจากได้รับแรงกระแทกรุนแรง ผู้ป่วยบางคนอาจมีโรคที่ทำให้กระดูกอ่อนแออยู่แล้วร่วมด้วย เช่น กระดูกพรุน หากไม่รีบรักษาอาจถึงชีวิตได้เพราะอาการแทรกซ้อนต่างๆโดยเฉพาะในผู้สูงวัย เช่น แผลกดทับ ปอดบวม ลิ่มเลือดอุดตัน

การรักษามีทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด ขึ้นอยู่กับกระดูกส่วนที่แตกหัก ความรุนแรง และอายุของผู้ป่วย สามารถป้องกันกระดูกสะโพกหักด้วยการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงอยู่เสมอ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที