วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 มี.ค. 2024 02.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 670340 ครั้ง

ผิวแห้งคัน ปัญหาคันยุบยิบที่รักษาให้หายได้


สิวฮอร์โมน สิวประจำเดือน เกิดจากสาเหตุใด มีวิธีรักษาอย่างไร

เมื่อถึงช่วงอายุหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน หรือช่วงเวลาก่อนที่จะมีประจำเดือนในแต่ละรอบเดือนนั้น อยู่ ๆ ก็จะมีสิวเกิดขึ้นมาบนใบหน้าเต็มไปหมด ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดิม ๆ โดยสิวชนิดนี้นั้นมีชื่อเรียกว่า ‘สิวฮอร์โมน’ นั่นเอง

สิวฮอร์โมนที่เกิดขึ้นเหล่านี้นอกจากจะสร้างความรำคาญให้แก่ผู้ที่เป็นแล้ว ยังทำให้บางคนอาจขาดความมั่นใจได้อีกด้วย ดังนั้นในความนี้เราจึงจะมาแนะนำสิวฮอร์โมนให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกัน 

ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของสิวฮอร์โมน สาเหตุที่ทำให้เกิด วิธีรักษาและดูแลผิวหน้าขณะที่เกิดสิวฮอร์โมน รวมไปถึงข้อข้องใจต่าง ๆ อีกมากมายที่พร้อมจะเฉลย เพื่อให้ทุกคนได้นำไปปรับใช้กับปัญหาสิวฮอร์โมนที่กำลังเผชิญอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สิวฮอร์โมน สิวประจำเดือน เกิดจากสาเหตุใด มีวิธีรักษาอย่างไร


สิวฮอร์โมน หรือ สิวประจำเดือน คืออะไร 

สิวฮอร์โมน คือสิวที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเชื่อมโยงกับระดับของฮอร์โมนภายในร่างกาย ซึ่งสิวฮอร์โมนสามารถเกิดได้ทั้งในกรณีที่ฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือแม้แต่การขาดความสมดุลของระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยช่วงระยะเวลาก่อนมีประจำเดือนมักจะเป็นช่วงที่สามารถเกิดสิวฮอร์โมนบ่อยมากที่สุด หรือที่บางคนอาจเรียกว่าสิวประจำเดือนนั่นเอง

แต่นอกจากจะสามารถเกิดสิวฮอร์โมนขึ้นได้ในช่วงเวลาก่อนหรือหลังมีประจำเดือนแล้ว ยังสามารถเกิดได้ในภาวะต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ ภาวะความเครียด รวมไปถึงช่วงอายุที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโตอย่างเต็มที่


สิวฮอร์โมน มีลักษณะอย่างไร 

สิวฮอร์โมนนั้นสามารถเป็นได้ทั้งสิวอุดตันและสิวอักเสบ โดยลักษณะสิวฮอร์โมนที่เกิดขึ้นก็จะแตกต่างกันไปตามประเภทสิวที่เป็น ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจึงจะมาบอกถึงลักษณะสิวฮอร์โมนที่สามารถเกิดขึ้นได้ ว่ามีหน้าตาเป็นแบบใด เพื่อให้ทุกคนได้ลองสังเกตตัวเองดูกัน

       1. สิวอุดตัน

สิวอุดตันสามารถแบ่งออกได้เป็นสิวอุดตันหัวปิดและสิวอุดตันหัวเปิด โดยลักษณะของสิวอุดตันทั้ง 2 แบบจะมีดังนี้

       2. สิวอักเสบ

สิวอักเสบสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบด้วยกัน คือ สิวหัวหนอง สิวตุ่มนูนแดง และสิวตุ่มแดงขนาดใหญ่ ซึ่งสิวอักเสบแต่ละแบบก็จะมีลักษณะดังนี้

โดยสิวฮอร์โมนสามารถเกิดได้ในหลายบริเวณด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสิวฮอร์โมนคาง สิวฮอร์โมนแก้ม สิวฮอร์โมนหน้าผาก รวมไปถึงสิวฮอร์โมนที่หลัง

สิวฮอร์โมนมีลักษณะอย่างไร


สิวฮอร์โมนเกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมนนั้นก็คือการเกิดความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย หรือฮอร์โมนขาดความสมดุล ซึ่งหลัก ๆ แล้วจะเกิดจากการที่ฮอร์โมนแอนโดรเจนมีปริมาณที่สูงขึ้น จนส่งผลให้ต่อมไขมันใต้ผิวหนังถูกกระตุ้นให้ผลิตน้ำมันหรือซีบัมออกมาในปริมาณที่มากขึ้นตามไปด้วย และเมื่อเกิดการสะสมร่วมกับเชื้อแบคทีเรีย ก็จึงทำให้เกิดการอุดตันหรือเกิดสิวฮอร์โมนขึ้นนั่นเอง

และถึงแม้ว่าสิวฮอร์โมนจะมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากระดับของฮอร์โมนในร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือขาดความสมดุล แต่สาเหตุหลักที่ว่ามานี้ก็สามารถเกิดได้จากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก แล้วปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงคืออะไรบ้าง เรามาดูกันเลย

สิวฮอร์โมนเกิดจากสาเหตุใด

ปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมน

ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมน


สิว และ ฮอร์โมน เกี่ยวข้องกันอย่างไร 

สิวฮอร์โมนเป็นแบบไหนทุกคนคงได้รู้กันไปแล้วจากหัวข้อข้างต้น แต่ว่าความเกี่ยวข้องกันระหว่างสิวและฮอร์โมนนั้นบางคนอาจจะยังคงสงสัยอยู่ ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงความเกี่ยวข้องระหว่างสิวและฮอร์โมนในร่างกายกัน

เมื่อใดที่ฮอร์โมนในร่างกายเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น หรือว่าระดับฮอร์โมนขาดความสมดุล ก็จะส่งผลให้ต่อมไขมันใต้ผิวหนังถูกกระตุ้นให้ผลิตน้ำมันออกมามากยิ่งขึ้น จนทำให้เกิดการสะสมและเกิดเป็นสิวฮอร์โมน หรือสิวประจำเดือนนั่นเอง 

โดยสิวฮอร์โมนสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม ทั้งสิวฮอร์โมนชายและสิวฮอร์โมนหญิง นอกจากนี้สิวฮอร์โมนมักจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในบริเวณหรือตำแหน่งเดิมเมื่อระดับฮอร์โมนขาดความสมดุลจากปัจจัยต่าง ๆ 

สิวและฮอร์โมน เกี่ยวข้องกันอย่างไร


วิธีรักษาสิวฮอร์โมน

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนนั้นสามารถใช้ได้ทั้งวิธีการรักษาแบบธรรมชาติและวิธีการใช้ยาในการรักษา และถึงแม้ว่าสิวฮอร์โมนรักษาแบบธรรมชาติได้ แต่การใช้ยาเป็นวิธีแก้สิวฮอร์โมนกลับเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากกว่า เนื่องด้วยสามารถเหตุผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยการรักษาสิวฮอร์โมนด้วยการใช้ยามีดังนี้

การใช้ยารักษาสิวฮอร์โมน ที่หาซื้อได้ทั่วไป

ยาที่ใช้ในการรักษาสิวฮอร์โมนที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปนั้นจะเป็นยาในรูปแบบยาทาภายนอกหรือยาทาผิว โดยจะนิยมใช้ในผู้ที่เป็นสิวฮอร์โมนในระดับที่ไม่รุนแรงมากนัก ซึ่งยารักษาสิวฮอร์โมนที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปจะได้แก่ Benzoyl Peroxide , Retinoids และยาในกลุ่มวิตามินเอ

การใช้ยาคุมกำเนิดรักษาสิวฮอร์โมน (Oral Contraceptives) 

การใช้ยาคุมกำเนิดในการรักษาสิวฮอร์โมนจะเป็นการปรับให้ร่างกายที่มีระดับฮอร์โมนขาดความสมดุลให้ระดับของฮอร์โมนกลับมาสมดุลได้ เนื่องจากยาคุมกำเนิดนั้นจะมีส่วนประกอบของฮอร์โมนเพศหญิงอยู่ 

การใช้ยาต้านแอนโดรเจน (Anti Androgen Drug)

การใช้ยาต้านแอนโดรเจนในการรักษาสิวฮอร์โมนจะเป็นการปรับระดับฮอร์โมนในร่างกายให้กลับมาสมดุลด้วยการยับยั้งการหลั่งของฮอร์โมนแอนโดรเจน


ดูแลผิวหน้าระหว่าง เป็นสิวฮอร์โมน อย่างไรดี

เมื่อเกิดสิวฮอร์โมนขึ้นมา นอกจากวิธีในการรักษาแล้ว วิธีการดูแลผิวหน้าระหว่างที่เป็นสิวฮอร์โมนก็สำคัญไม่แพ้กัน เพื่อที่จะไม่ให้อาการของสิวฮอร์โมนที่เป็นอยู่นั้นรุนแรงมากไปกว่าเดิม รวมถึงลดสิวฮอร์โมนให้น้อยลง ซึ่งวิธีในการดูแลผิวหน้าระหว่างที่เป็นสิวฮอร์โมนมีดังนี้

ดูแลผิวหน้าระหว่างเป็นสิวฮอร์โมนอย่างไรดี


คำถามที่เกี่ยวข้อง 

ฮอร์โมนและสิวมีผลต่อผู้ชายและผู้หญิงแตกต่างกันหรือไม่

ในช่วงวัยรุ่นนั้นทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเพิ่มขึ้นในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน จึงทำให้สามารถพบสิวฮอร์โมนได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายในช่วงวัยนี้ แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยผู้ใหญ่ ผู้หญิงจะมีความแปรปรวนของระดับฮอร์โมนในร่างกายที่มากกว่าผู้ชาย เนื่องด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น ประจำเดือน การตั้งครรภ์ หรือการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

ประจำเดือนมีผลกระทบจากฮอร์โมนหรือไม่

การเป็นประจำเดือนของผู้หญิงนั้นระดับฮอร์โมนในร่างกายจะมีความแปรปรวนค่อนข้างมาก ซึ่งแต่ละช่วงวันก่อนที่รอบเดือนถัดไปจะมาก็จะมีความแตกต่างของระดับฮอร์โมนในร่างกายที่ไม่เหมือนกัน 

โดยช่วง 1-14 วันแรกหลังจากหมดรอบเดือน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะมีระดับที่สูงกว่าฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ส่วนในช่วง 15-28 วันหลังจากหมดรอบเดือน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะมีระดับต่ำกว่าฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน 

และเมื่อประจำเดือนรอบถัดไปมาทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดต่ำลง จนส่งผลให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนนั้นมีระดับที่สูงกว่า จึงทำให้ต่อมไขมันใต้ผิวถูกกระตุ้นให้ผลิตน้ำมันออกมามาก และทำให้เป็นสิวฮอร์โมนนั่นเอง

เพราะอะไร? หมดประจำเดือนแล้วแต่ยังเป็นสิวอยู่ 

เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจนเตอโรนจะมีการผลิตออกมาในระดับที่น้อยลง ซึ่งนอกจากจะส่งผลให้รอบเดือนมีความผิดปกติแล้ว ยังทำให้มีปัญหาผิวต่าง ๆ ตามมาอีกด้วย เช่น ผิวไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นได้ ผิวบางลง ผิวเริ่มขาดความยืดหยุ่น ผิวมีความบอบบาง และผิวไวต่อการเกิดสิว

เป็นสิวปกติ หรือ เป็นสิวฮอร์โมนสังเกตได้อย่างไร ? 

สิวฮอร์โมนนั้นสามารถสังเกตได้ว่ามักจะเกิดขึ้นในบริเวณหรือตำแหน่งเดิม ๆ และมักจะเกิดในช่วงที่มีประจำเดือน หรือมีเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่มากระตุ้นให้ระดับฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือขาดความสมดุล

สิวในระหว่างตั้งครรภ์เกิดช่วงไหนบ้าง

สิวฮอร์โมนที่จะเกิดในระหว่างการตั้งครรภ์นั้นมักจะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการตั้งครรภ์


ข้อสรุป

ถึงแม้ว่าสิวฮอร์โมนจะสามารถทำการรักษาให้หายขาดได้ยาก เนื่องจากสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เป็นสิวฮอร์โมนนั้นบางอย่างเราก็อาจไม่สามารถควบคุมได้ แต่ทั้งนี้เราก็สามารถที่จะใช้วิธีรักษาสิวฮอร์โมนด้วยยา และหมั่นดูแลตัวเองตามวิธีการที่แนะนำ เพื่อลดสิวฮอร์โมนให้เกิดน้อยลงได้เช่นกัน


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที