วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 15 พ.ย. 2022 13.57 น. บทความนี้มีผู้ชม: 149719 ครั้ง

การออกแบบสอบถาม คืออะไร ทำอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีความสำคัญอย่างไร? อยากทำวิจัย ต้องอ่าน!

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ถือเป็นอุปกรณ์การทำแบบสอบถามที่นิยมใช้กันมากที่สุดอีกหนึ่งปัจจัย เพราะเครื่องมือในการวิจัยเป็นตัวสำคัญที่ช่วยทำให้การเก็บตัวอย่างจากกลุ่มเป้าหมายที่ได้ตั้งขอบเขตการศึกษาไว้ มาแปรผลข้อมูลระดับปฐมภูมิออกมาเป็นผลสรุปการทำแบบสอบถามที่มีเนื้อหาครบถ้วน และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ทำมาต่อยอดการนำไปศึกษาต่อเพิ่มเติมได้  โดยเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยแบ่งจำแนกได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย และ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วสองเครื่องมือในการวิจัยเหล่านี้มีหลักการใช้งานอย่างไรบ้าง ทาง Enable survey จะมาอธิบายให้หายข้อสงสัยกัน


เครื่องมือที่ใช้สำหรับการทดลอง (Treatment)

 

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประเภท การทดลองเป็นหลัก ซึ่งหลักการดำเนินการของวิจัยชนิดนี้ มุ่งเน้นการวิจัยเชิงทดลองในขอบเขตพื้นที่นักออกแบบต้องการจะศึกษาผลลัพธ์ โดยมี ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม มาช่วยแสดงผลประกอบการในระยะดำเนินการได้เสร็จสมบูรณ์ ยกตัวอย่างเช่น 2 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่…

ยกตัวอย่างเช่น “เด็กทารกเพศชายและหญิง ถูกกำหนดสีประจำเพศเป็นสีน้ำเงินและสีชมพูอยู่เสมอ” โดย “เพศ” เป็น ตัวแปรต้น และ “สี” เป็น ตัวแปรตาม เป็นต้น

 

 

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data collection instruments)

แบบสอบถาม (Questionnaire)

แบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึก , ความเชื่อ  , ทัศนคติ , ความสนใจ และรวมไปถึงการสอบถามข้อมูลส่วนตัวของผู้ทำอีกด้วย เป็นแบบสอบถาม ออนไลน์ และออฟไลน์ได้ ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบสามารถสร้างชุดแบบฟอร์มเป็นรูปแบบไหน และยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเก็บเกี่ยวพื้นที่ที่ศึกษาอย่างได้ถูกต้อง แม่นยำ และบรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างแบบสอบถามการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเก็บเกี่ยวพื้นที่ที่ศึกษาอย่างได้ถูกต้อง แม่นยำ และบรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างแบบสอบถาม

ข้อดี

ข้อเสีย

 

แบบสัมภาษณ์ (Interview)

โดยนักวิจัยสามารถทำการนัดผู้สัมภาษณ์มาสื่อสารพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูล และเก็บข้อมูลจากการสนทนาในรูปแบบตัวต่อตัวได้อย่างลึกซึ้ง เพราะเป็นรูปแบบการสอบถามที่ละเอียดถี่ถ้วนเพื่อให้ได้ข้อมูลดิบจากผู้สัมภาษณ์โดยตรงอย่างมีประสิทธิภาพสูง อีกทั้งผู้วิจัยสามารถเปิดประเด็นคำถามแก่ผู้ตอบได้โดยตรง

 

ข้อดี

 

ข้อเสีย

 

แบบสังเกต (Observation)

  แบบสังเกตเป็นการสำรวจวัดผลวิจัยแบบหลายประเภท เช่น แบบตรวจสอบรายการ  , แบบจัดอันดับคุณภาพ และอื่น ๆ จากกลุ่มเป้าหมาย  โดยใช้ใช้ประสาทสัมผัสของผู้สังเกต ตั้งแต่ตา และหู ในการติดตามข้อมูลขอบเขตที่เราต้องการศึกษาไว้ โดยตัวอย่างของกลุ่มผู้บริโภค ต้องเป็นตัวชี้วัดสำหรับการเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ผู้วิจัยสามารถใช้ได้ตลอดเวลา

ข้อดี

ข้อเสีย

 

แบบทดสอบ (Test)

เป็นแบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสำหรับการวัดผลระดับความเข้าใจ ความจำ และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายแบบโดยตรง ซึ่งแบบทดสอบสามารถเป็นแบบฟอร์มสำหรับการวิจัยที่มีมาตรฐาน หากเนื้อหาในการทำแบบทดสอบมีเนื้อหาสอดคล้องกับการตั้งวัตถุประสงค์แก่กับกลุ่มเป้าหมายได้ตรงกลุ่ม

 

ข้อดี

ข้อเสีย


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ดีควรเป็นอย่างไร

6 คุณสมบัติในการวัดเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยอยู่เสมอ ได้แก่

 

มีความเที่ยงตรง (Validity)

วัตถุประสงค์ของการหยิบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจะต้องสามารถวัดผลการดำเนินการทำแบบสอบถามได้จริง วัดผลลัพธ์ได้ และสรุปผลใจความสำคัญได้ตั้งแต่ต้นเหตุจนไปถึงปลายเหตุของขอบเขตการศึกษาที่นักวิจัยได้เลือกเอาไว้

มีความเชื่อถือได้ (Reliability)

ไม่ว่าจะใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสำหรับการทำแบบสอบถามประเภทต่าง ๆ จะต้องเป็นอุปกรณ์ที่สามารถวัดผลลัพธ์ซ้ำ ๆ กันได้คำตอบเหมือนเดิมทุกครั้ง เพื่อสร้างความมั่นใจได้ว่าเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยของคุณเป็นตัวชี้วัดการดำเนินกระบวนการได้แน่นอน คงเส้นคงวา และแสดงผลคลาดเคลื่อนได้น้อยที่สุด

 

 

มีประสิทธิภาพ (Efficiency)

การใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยทุกชนิดของการทำแบบสอบถาม ควรคำนึงถึงคุณลักษณะประโยชน์ของตัวอุปกรณ์ว่าเป็นตัวแปรควบคุมที่สามารถจัดการตัวแปรต้น และตัวแปรตาม ไปตามลำดับได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพในขั้นตอนของการดำเนินงานอีกด้วย

สามารถจำแนก (Discrimination)

โดยตัวเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่วัดระดับอำนาจจำแนกได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น การทำแบบสอบถามประเภท ทดสอบ ควรมีความยากในระดับความรู้ของผู้ทำได้อย่างเหมาะสม ไม่มีการนำข้อมูลนอกเหนือจากขอบเขตการศึกษาของผู้ทำมาใช้ในแบบทดสอบ ซึ่งข้อมูลแบบสอบถามรูปแบบนี้ในภายหลังสามารถเอาไปขั้นตอนสรุปวัดผลได้

ใช้งานได้ (Practicality)

ต้องเป็นแบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่สามารถใช้งานได้ โดยผู้ออกแบบต้องทำการวินิจฉัยคุณสมบัติของตัวอุปกรณ์ที่เป็นตัวแปรควบคุมของแบบสอบถามอยู่สม่ำเสมอ หรือทำการทดลองแบบสอบถามก่อนเอาให้กลุ่มเป้าหมายทำตลอดทุกครั้ง เพื่อให้หลักการดำเนินการให้ผู้ทำนั้นไม่เกิดปัญหาในภายหลัง

วัดผลได้ (Measurability)

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในขอบเขตของผู้ออกแบบ สามารถสรุปผลและวัดค่าข้อมูลดัชนีได้อย่างครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการศึกษา และเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสำหรับการทำแบบสอบถามที่สามารถสรุปผลลัพธ์และชี้ผลตรงตามวัตถุประสงค์ได้อย่างเที่ยงตรง เชื่อถือได้ มีประสิทธิภาพ จำแนก และใช้งานได้ในทั้งภาคปฎิบัติและทฤษฎี


 
 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที