วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 15 พ.ย. 2022 13.57 น. บทความนี้มีผู้ชม: 149724 ครั้ง

การออกแบบสอบถาม คืออะไร ทำอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ


แบบสอบถามคืออะไร สร้างแบบสอบถามที่ดีทำอย่างไร

แบบสอบถาม คือเครื่องมือที่สร้างขึ้นเพื่อวัดความคิดเห็น คำถามต่าง ๆ หรือต้องการทราบความจริงบางอย่าง อันจะทำให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เรียกว่า ข้อเท็จจริง เช่น พฤติกรรม ความชอบ ของกลุ่มเป้าหมายที่มีความแตกต่างกันออกไป

แบบสอบถาม จัดว่าเป็นสิ่งสำคัญในช่วงเริ่มต้นของการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ ทั้งสินค้าและบริการก็ตาม เพราะจะทำให้คุณได้ทราบถึงความต้องการ พฤติกรรม ลักษณะนิสัยความชอบ ความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งช่วยให้คุณสามารถนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ประมวลผลและต่อยอดการทำการตลาดของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในบทความนี้ทาง Enable Survey เลยขอพาทุกท่านมาศึกษาว่าที่จริงแล้ว การออกแบบสอบถาม เพื่อวิจัย วัดผล แม่นยำ ทำอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

แบบสอบถาม คือ

แบบสอบถาม คืออะไร

แบบสอบถาม คือ แบบฟอร์มที่รวมชุดคำถามหลักและคำถามย่อยแต่ละหมวดหมู่ที่รวมเป็นหัวข้อเดียวกัน เพื่อเป็นคำถามในการทำวิจัย การสำรวจตลาด การสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค การวิเคราะห์คู่แข่ง หรือต้องการทราบข้อมูลบางอย่างของกลุ่มเป้าหมายต่อหัวข้อที่เราต้องการทราบ

โดย แบบสอบถาม คือหนึ่งในเครื่องมือสำหรับการวิจัยที่นิยมใช้กันมาก ทั้งในวัตถุประสงค์ของการศึกษา การทำวิจัย ไปจนถึงการทำธุรกิจและการตลาด เพราะเป็นการที่ทำให้คุณได้มาซึ่งข้อมูลสำคัญ จากกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยจริง ๆ เก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างสะดวก และสามารถนำข้อมูลที่ได้มาจากแบบสอบถาม มาต่อยอดพัฒนาธุรกิจในอนาคตได้

แบบสอบถาม คืออะไร

ประเภทต่างๆของแบบสอบถาม

1. แบบสอบถามเชิงพรรณนา

 แบบสอบถามเชิงพรรณนา คือ  แบบสอบถามที่เป็นการศึกษาคนคว้าหาข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่มีอยู่ของข้อมูลชุดหนึ่ง เพื่ออธิบายลักษณะ หรือสภาพของข้อมูลชุดนั้นว่าเป็นอย่างไร ผ่านการใช้คำถามปลายปิด แบบสอบถามที่ให้ระบุความชอบเป็นตัวเลข เพื่อได้มาซึ่งข้อมูลในเชิงสถิติ ที่มีตัวเลขยืนยันชัดเจน

2. แบบสอบถามเชิงวิเคราะห์

แบบสอบถามเชิงวิเคราะห์ คือแบบสอบถามที่นำข้อสรุปจากข้อมูลจำนวนหนึ่ง ซึ่งมักไม่ใช้สถิติในการ

วิเคราะห์ เป็นเหมือนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ที่ผู้วิจัยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข หรือข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่น แบบสอบถามปลายเปิด การสัมภาษณ์ การสังเกต เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยข้อมูลที่ได้ หากจะนำมาปรับใช้กับการทำวิจัย หรือ การทำธุรกิจ ต้องมีการวิเคราะห์หาข้อสรุปและข้อเท็จจริงก่อนนำไปใช้

 

โครงสร้างที่ควรมีของแบบสอบถาม

1. คำนำ ชี้แจงวัตถุประสงค์

คำนำ หรือการชี้แจงวัตถุประสงค์ โดยส่วนมากมักจะอยู่ส่วนแรกสุดของแบบสอบถาม จะเป็นการระบุถึงจุดประสงค์ของการทำแบบสอบถามชุดนั้น ๆ  การนำคำตอบที่ได้ไปใช้ประโยชน์ อธิบายลักษณะของแบบสอบถามที่จะต้องทำ หรือเป็นการอธิบายขั้นตอนการทำแบบสอบถาม

ซึ่งบางแบบสอบถาม จะมีการใส่ข้อความที่ทำให้ผู้ทำแบบสอบถามมีความมั่นใจว่า ข้อมูลที่จะตอบลงในแบบสอบถาม จะถูกเก็บเป็นความลับและจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ทำแบบสอบถาม เป็นเหมือนการคุ้มครองสิทธิ์ส่วนบุคคล

2. คำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวเท่าที่จำเป็น

คำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวเท่าที่จำเป็น คือชุดคำถามแรกสุดในแบบสอบถาม เพื่อทำการรู้ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ของผู้ทำแบบสอบถามก่อน เช่น เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา รายได้ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ เป็นต้น

โดยคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวนี้ อาจมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือในการนำแบบสอบถามมาใช้งาน ซึ่งผู้ออกแบบสอบถามต้องคำนึงถึงตัวแปรที่สนใจจะศึกษานั้นมีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว และควรถามเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นในการวิจัยเท่านั้น

3.  คำถามเกี่ยวกับสิ่งที่วัดผล

เป็นคำถามที่ใช้ในแบบสอบถาม ที่มีความเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของแบบสอบถามหรือการทำวิจัยของคุณ ซึ่งแนะนำว่าควรมีทั้งการถามคำถามแบบคำถามปลายเปิด และคำถามปลายปิด เพื่อให้ได้ข้อมูลของการวิจัยอย่างครบถ้วน

โครงสร้างของแบบสอบถาม

หลักการสร้างแบบสอบถาม

1. ตั้งเป้าหมาย วัดตุประสงค์ที่ชัดเจน - เป็นขั้นตอนแรกของการเริ่มออกแบบสอบถาม ควรระบุให้ชัดเจนเลยว่าแบบสอบถามนี้ มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ต้องการใช้เพื่อการนำไปทำอะไรต่อ เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างความสับสนแก่ผู้ทำแบบสอบถาม


2. กำหนดรูปแบบของคำถาม - ต้องการทราบข้อมูลอะไรบ้าง และนำสมมติฐานเหล่านั้นมาสร้างเป็นคำถามที่ใช้ในแบบสอบถาม และควรกำหนดให้ชัดเจนตั้งแต่ขั้นตอนนี้เลยว่าคำถามข้อไหน จะใช้การถามเป็น คำถามปลายเปิด หรือ คำถามปลายปิด


3. กำหนดรูปแบบ ของภาษา ลำดับการถาม - ใช้ภาษาที่เป็นทางการ มีความเป็นสากลในการเข้าใจและรับสาร หลีกเลี่ยงการใช้คำย่อหรือภาษาพูด ที่จะทำให้ผู้ทำแบบสอบถามเกิดความเข้าใจผิดได้ เพื่อให้ผู้ทำแบบสอบถาม สามารถอ่านคำถามได้อย่างเข้าใจ


4. การร่างแบบสอบถาม - การสร้างคำถามให้ตรงตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เพื่อป้องกันการมีคำถามในแบบสอบถามที่นอกประเด็น และควรครอบคลุมเรื่องที่ทำวิจัย โดยมีจำนวนข้อคำถามที่พอเหมาะ ไม่มากเกินไปหรือไม่น้อยเกินไป

 

5. วิเคราะห์คุณภาพแบบสอบถาม -  เป็นการนำแบบสอบถามที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้วไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเล็กๆ เพื่อนำ Feedback มาตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม หรือแก้ไขในกรณีที่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นก่อนนำไปแจกแบบสอบถามให้กลุ่มเป้าหมายจริงได้ทำ


6. ปรับปรุงแบบสอบถามให้สมบูรณ์ - ตรวจเช็กแบบสอบถามอีกรอบ ปรับปรุงสิ่งที่ยังเป็นข้อผิดพลาดของแบบสอบถามให้หมด เพื่อความชัดเจนของแบบสอบถาม เป็นเหมือนการตรวจเช็กครั้งสุดท้ายก่อนนำแจกจ่ายเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ลองทำจริง


7. จัดพิมพ์แบบสอบถาม - จัดพิมพ์หรือเผยแพร่แบบสอบถามออนไลน์ ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น แนะนำ QR Code, ส่งอีเมล ให้ผู้ทำสแกนเข้าไปทำแบบสอบถามออนไลน์ ให้กลุ่มเป้าหมายได้ลองทำแบบสอบถามจริง เป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว และประหยัดการใช้ช่องทางออฟไลน์แบบเดิม

 
หลักการสร้างแบบสอบถาม
 

รูปแบบของคำถาม ของแบบสอบถาม

1. คำถามปลายเปิด

คำถามปลายเปิด คือรูปแบบสอบถาม ที่ให้ผู้ทำสามารถเสนอคำตอบได้อย่างอิสระ โดยไม่มีหลักเกณฑ์ใด ๆ มากำหนดการตอบคำถาม ซึ่งรูปแบบ คำถามปลายเปิด แม้จะทำให้ได้คำตอบจากผู้ทำแบบสอบถาม ที่เป็นคำตอบจากความคิดของผู้ทำแบบสอบถาม แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ คำตอบที่ได้มักจะไม่ตรงประเด็นสูง ดังนั้นผู้ออกแบบสอบถาม จำเป็นต้องกำหนดตัวคำถามให้มีความเจาะจงเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้คำตอบของผู้ทำมีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกัน

เหมาะสำหรับการวิจัยที่ต้องการทราบความต้องการส่วนตัว ข้อเสนอแนะ หรือสิ่งที่อยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย ที่ต้องการทราบจากการทำแบบสอบถาม

คำถามปลายเปิด

2. คำถามปลายปิด

คำถามปลายปิด คือรูปแบบคำถาม ที่เราสามารถกำหนดคำตอบได้อย่างชัดเจน ทำให้ผู้ตอบสามารถเลือกคำตอบได้โดยทันที เป็นคำถามแบบที่มีช้อยส์ให้เลือก เป็นรูปแบบคำถามที่เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนมาก เพื่อให้ได้คำตอบส่วนใหญ่ไปในทิศทางเดียวกัน ไม่หลงประเด็น ได้คำตอบที่สามารถนำมาแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ วิเคราะห์ วัดผลข้อมูลต่อได้ง่าย

เหมาะสำหรับการทำวิจัยที่ต้องการทราบข้อมูลต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมายในเชิงพรรณาหรือข้อมูลด้านสถิติตัวเลข เป็นรูปแบบคำถามที่มักจะใช้ในแบบสอบถามอย่างเป็นสากล

คำถามปลายปิด

ความสำคัญของการสร้างแบบสอบถาม

1. เป็นเครื่องมือในการวิจัยทุกรูปแบบ

แบบสอบถาม จัดว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกงานวิจัย ทั้งในเรื่องของการศึกษา และการทำธุรกิจ ช่วยให้คุณสามารถเข้าใจความเป็นมา พฤติกรรม ข้อมูลต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน เป็นเหมือนขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุด หากคุณต้องทำการวิจัย

2. เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโต

ในแง่มุมธุรกิจ แบบสอบถาม ถือว่ามีความสำคัญมากเพราะจะทำให้ธุรกิจของคุณได้เข้าถึงตัวลูกค้า กลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ทำให้ธุรกิจได้ล่วงรู้ความชอบ ความต้องการ สิ่งที่คาดหวัง สถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจ รวมถึงทุกสิ่งที่ต้องการทราบจากกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ซึ่งข้อมูลที่ธุรกิจได้จากการทำแบบสอบถาม ก็จะสามารถมาต่อยอดพัฒนาเป็นกลยุทธ์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ต่อไปในอนาคต

3. ช่วยในการทำการตลาดของธุรกิจได้อย่างรอบด้าน

ในการทำการตลาด แบบสอบถาม ก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นหนึ่งในการเริ่มต้นที่ขาดไม่ได้ เพราะนอกจากจะทำให้ธุรกิจได้รู้ถึงข้อมูลต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมายแล้ว ยังช่วยในการวิเคราะห์คู่แข่งทั้งหมด สิ่งที่ลูกค้าคาดหวัง รวมถึงข้อเสนอแนะอื่น ๆ ที่ต้องการให้ธุรกิจของคุณปรับปรุง และช่วยทำให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด

 

ข้อดีและข้อเสียของแบบสอบถาม

ข้อดีของแบบสอบถาม

- เก็บรวบรวมข้อมูลจากคนจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- นำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการทำธุรกิจ ทำวิจัยได้ดี

- ช่วยลดการบันทึกข้อมูลคำตอบที่ผิดพลาดได้ดีกว่าการสัมภาษณ์

- ถ้ามีการทำแบบสอบถามที่ดี จะช่วยประมวลผลได้สะดวก 

- ใช้แบบสอบถามออนไลน์ ช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้แบบสอบถามที่เป็นแบบออฟไลน์

- ไม่จำเป็นต้องฝึกอบรมพนักงานเก็บข้อมูลมากเหมือนกับวิธีการสัมภาษณ์

 

ข้อเสียของแบบสอบถาม

- ใช้ระยะเวลาในการร่างคำถามและรอผลลัพธ์

- บางคนมีประสบการณ์เกี่ยวกับแบบสอบถามที่ไม่ดีมาก่อน จึงไม่อยากตอบบางคำถามลงในแบบสอบถาม

- แบบสอบถามจะใช้ได้เฉพาะผู้ที่อ่านหนังสือออกเท่านั้น 

- ถ้ามีคำถามเยอะ ก็ต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์และสรุปผลนาน

- ถ้าผู้ทำแบบสอบถามไม่เข้าใจคำถามไม่ตอบคำถามบางข้อ ก็จะทำให้ข้อมูลมีความคลาดเคลื่อนได้

 

ตัวอย่างของแบบสอบถาม

เรามีตัวอย่างของคำถามและคำตอบใน แบบสอบถาม ที่มีประสิทธิภาพ จากแพลตฟอร์ม Enable Survey มาให้ทุกคนได้ศึกษากัน โดยสำหรับใครที่สนใจดูการสร้างคำถามและคำตอบในแบบสอบถาม ที่ดี สามารถกดเข้าไปดูตัวอย่าง แบบสอบถาม สำหรับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ จากเราทั้งหมดได้ ที่นี่

ตัวอย่างของแบบสอบถาม

ตัวอย่างแบบสอบถาม การสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค

 

ตัวอย่างของแบบสอบถาม 2

ตัวอย่างแบบสอบถาม การสํารวจความพึงพอใจของพนักงาน

 

ตัวอย่างของแบบสอบถาม 3

ตัวอย่างแบบสอบถาม การสำรวจคู่แข่ง

 

สรุป

แบบสอบถาม ยังคงเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดของการทำวิจัย ดังนั้นแล้วการสร้างแบบสอบถามที่ดี ตามเทคนิคที่เราได้แนะนำไป ก็จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะเข้ามาพัฒนาธุรกิจของคุณให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

และการเลือกใช้แพลตฟอร์มสำหรับสร้างแบบสอบถามออนไลน์อย่าง Enable Survey ที่สามารถสร้างแบบสอบถามได้ง่ายๆ มีแบบสอบถามสำเร็จรูปให้เลือกมากมาย ให้คุณรู้ผลได้ทันทีแบบ Real-time ทั้งแบบกราฟ ตาราง และข้อมูลดิบ เพื่อนำไปใช้กับงานวิจัยของคุณได้ ก็จะช่วยให้คุณประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย ทำให้แบบสอบถามมีประสิทธิภาพมากขึ้น เหมาะสำหรับการทำงานวิจัย แบบสอบถามในปัจจุบัน


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที