วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 15 พ.ย. 2022 13.57 น. บทความนี้มีผู้ชม: 147123 ครั้ง

การออกแบบสอบถาม คืออะไร ทำอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ


การออกแบบสอบถาม คืออะไร ทำอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ

การออกแบบสอบถาม คืออะไร ทำอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ

การออกแบบอบถาม คืออีกหนึ่งขั้นตอนการทำการสำรวจตลาดที่สำคัญมาก ๆ ในช่วงเริ่มต้นของการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจของคุณ ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าหรือบริการก็ตาม เพราะจะทำให้คุณได้ทราบถึงความต้องการ พฤติกรรม สิ่งที่คาดหวัง ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งช่วยให้คุณสามารถนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาธุรกิจ การทำการตลาดของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยการออกแบบสอบถามที่ดีนั้น กลับเป็นเรื่องยากที่หลายธุรกิจมักจะทำพลาด ทั้งในการเลือกใช้แพลตฟอร์มทำแบบสอบถาม การออกแบบคำถามที่จะใช้งาน ไปจนถึงการส่งแบบสอบถามไปให้กลุ่มเป้าหมาย

ในบทความนี้ทาง Enable Survey เลยขอพาทุกท่านมาศึกษาว่าที่จริงแล้ว การออกแบบสอบถาม เพื่อวิจัย วัดผล แม่นยำ ทำอย่างไร และสิ่งที่คุณต้องรู้ หากต้องการเริ่มต้นสร้างแบบสอบถามเพื่อใช้งานทางธุรกิจทั้งหมดในปี 2022 จะมีอะไรบ้าง ไปติดตามกันต่อได้เลย

แบบสอบถาม คืออะไร

แบบสอบถาม คือ แบบฟอร์มที่รวมชุดคำถามหลักและคำถามย่อยแต่ละหมวดหมู่ที่รวมเป็นหัวข้อเดียวกัน เพื่อเป็นคำถามในการทำวิจัย การสำรวจตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค การวิเคราะห์คู่แข่ง หรือต้องการทราบความต้องการส่วนใหญ่ของกลุ่มเป้าหมายต่อหัวข้อที่เราต้องการทราบ

โดย แบบสอบถาม ถือว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำหรับการวิจัยที่นิยมใช้กันมาก ทั้งในวัตถุประสงค์ของการศึกษา การทำวิจัย ไปจนถึงการทำธุรกิจและการตลาด เพราะเป็นการที่ทำให้คุณได้มาซึ่งข้อมูลสำคัญ จากกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยจริง ๆ เก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างสะดวก นำมาเป็นข้อมูลสำหรับการทำงานได้ดี 

ซึ่งการทำแบบสอบถามนั้นสามารถทำได้ด้วยวิธีหลัก ๆ 2 วิธี ได้แก่ การสัมภาษณ์โดยตรง หรือการให้กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ทำแบบสอบถามด้วยตัวเอง
 
แบบสอบถาม คืออะไร
 

หลักการออกแบบสอบถาม (QUESTIONNAIRE DESIGN)

หลักการแบบสอบถามที่ดีนั้น สิ่งสำคัญที่สุดอันดับแรกคือ การเลือกใช้แพลตฟอร์มสำหรับทำแบบสอบถามที่มีประสิทธิภาพ เพราะในปัจจุบันก็ได้มีแพลตฟอร์มสำหรับการทำแบบสอบถามในลักษณะออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งมีฟีเจอร์ที่มีประสิทธิภาพและให้ผลลัพธ์ในการวิจัยได้ดี ประหยัดเวลากว่าการใช้แพลตฟอร์ม หรือซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่แพลตฟอร์มสำหรับการออกแบบสอบถาม

ซึ่งเมื่อคุณเลือกแพลตฟอร์มสำหรับใช้ในการออกแบบสอบถามได้แล้ว ก็จะต้องใช้เทคนิคในการออกแบบ แบบสอบถามที่ดี ตามเทคนิคที่เราจะแนะนำดังนี้

หลักการออกแบบสอบถาม

 

- ตั้งเป้าหมายในการสร้างทำแบบสอบถามที่ตรงประเด็นกับหัวข้อที่จะทำ เพื่อทำให้ผู้ทำแบบสอบถามได้รับรู้ถึงวัตถุประสงค์ของแบบสอบถามชุดนี้

- คำถามที่ใช้ในแบบสอบถาม จะต้องมีความชัดเจน ไม่อ่านแล้วเกิดความสงสัย ควรใช้ภาษาที่เป็นทางการในการสร้างคำถามที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่สร้างความมึนงงแก่ผู้ทำแบบสอบถาม 

- มีการแยกสัดส่วนของแบบสอบถามให้ชัดเจน ในกรณีที่แบบสอบถามของคุณมีความยาว ก็ควรจะต้องแบ่งเป็น หัวข้อหลัก หัวข้อย่อย และควรมีการเขียนคำถามให้มีความแตกต่างกัน ไม่กำกวม ผู้ทำแบบสอบถามจะได้เข้าใจในคำถามของคุณได้

- สร้างรูปแบบคำตอบที่ครอบคลุมประเด็นทั้งหมด ควรมีคำตอบให้ผู้ทำแบบสอบถามเลือก หลากหลายช้อยส์ เพื่อทำให้คุณได้ทราบถึงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง 

- เนื้อหาของแบบสอบถาม ควรมีความเป็นกลางที่สุด ไม่โจมตีแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง หรือแบรนด์คู่แข่ง ควรออกแบบสอบถามให้ผู้ทำแบบสอบถามรู้สึกดีและไม่เบื่อที่จะทำ

- เป็นแบบสอบถามที่สามารถเอาคำตอบจากผู้ทำมาเป็นประโยชน์ในการพัฒนาสินค้าและบริการภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการทำแบบสอบถามทั้งลูกค้า และพนักงานก็ตาม ต่างเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตัวธุรกิจออนไลน์ได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต

- ในกรณีที่เป็นแบบสอบถามปลายปิด และเป็นการออกแบบคำตอบที่ใช้ตัวอักษรเฉพาะในการแปลข้อมูล ควรมีรหัสเฉพาะสำหรับการคีย์ข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ เพื่อให้การทำงานการประมวลคำตอบจากแบบสอบถามให้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 

- หมั่นตรวจเช็กแบบสอบถามก่อนนำไปเผยแพร่เสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคำถาม ทุกคำตอบในแบบสอบถาม สามารถเป็นข้อมูลที่จะนำมาเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจและการทำการตลาดของคุณในอนาคตได้อย่างแน่นอน

 

ขั้นตอน การออกแบบสอบถามที่ดี

 1. ตั้งเป้าหมาย วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

การตั้งเป้าหมาย และกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ถือว่าเป็นขั้นตอนแรกของการเริ่มออกแบบสอบถามให้มีประสิทธิภาพ โดยเทคนิคนั้น เราแนะนำว่า คุณควรระบุให้ชัดเจนเลยว่าแบบสอบถามนี้ มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ต้องการใช้เพื่อการนำไปทำอะไรต่อ เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างความสับสนแก่ผู้ทำแบบสอบถาม และให้พวกเขาได้ทราบว่าเขาควรจะตอบคำถามประมาณไหน

โดยตัวคำถามต้องทำคำชี้แจงลักษณะคำถามแต่ละหมวดหมู่ พร้อมมีคำอธิบายที่รับประกันความปลอดภัยต่อผู้ทำเพื่อเป็นการยืนยันว่าข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ในแบบสอบถามจะไม่รั่วไหลไปภายนอกแน่นอน

 2. กำหนดรูปแบบของคำถาม

การกำหนดรูปแบบของคำถามนั้น อันดับแรกควรต้องคำนึงถึงหลักจริยธรรม แก่ผู้ทำแบบสอบถามก่อนเสมอโดยภายในเนื้อหาควรหลีกเลี่ยงการสร้างประเด็นอ่อนไหว เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างความบาดหมางแก่ผู้ทำที่มีทัศนคติเชิงลบแก่ตัวแบรนด์ในอนาคต

จากนั้นจึงเริ่มออกแบบว่าในแบบสอบถามชุดนี้ เราต้องการทราบข้อมูลอะไรบ้าง และนำสมมติฐานเหล่านั้นมาสร้างเป็นคำถามที่ใช้ในแบบสอบถาม และควรกำหนดให้ชัดเจนตั้งแต่ขั้นตอนนี้เลยว่าคำถามข้อไหน จะใช้การถามเป็น คำถามปลายเปิด หรือ คำถามปลายปิด เพื่อทำให้การเริ่มสร้างแบบสอบถาม เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุด

 3. กำหนดรูปแบบ ของภาษา ลำดับการถาม

รูปแบบภาษาในการออกแบบสอบถามนั้น ควรใช้ภาษาที่เป็นทางการ มีความเป็นสากลในการเข้าใจและรับสาร หลีกเลี่ยงการใช้คำย่อหรือภาษาพูด ที่จะทำให้ผู้ทำแบบสอบถามเกิดความเข้าใจผิดได้ โดยลำดับการตั้งถามแต่ประเด็น ควรตั้งคำถามที่ชัดเจน ไม่กำกวม และไม่สร้างความมึนงงแก่ผู้อ่าน หากจะสร้างคำถามที่ให้ผู้ตอบ ตอบประเด็นเป็นสองคำตอบ ควรจัดลำดับรูปแบบประโยคคำถามให้เป็นสัดส่วน ชัดเจน และถูกต้อง เพื่อให้ผู้ทำแบบสอบถาม สามารถอ่านคำถามได้อย่างเข้าใจและตรงวัตถุประสงค์ของธุรกิจมากที่สุดคุณลักษณะที่จะวัดแบบสอบถาม เพื่อกำหนดประเภทแต่ละคำถามให้ได้เข้าใจเนื้อหาสำคัญ

 4. วิเคราะห์คุณภาพแบบสอบถาม

การวิเคราะห์คุณภาพของแบบสอบถาม ก็เป็นอีกวิธีสำคัญที่จะละเลยไม่ได้ในการ ออกแบบสอบถาม ที่มีประสิทธิภาพ โดยหลังจากที่คุณได้เริ่มร่างแบบสอบถาม มีการคิดคำถามต่าง ๆ ออกมาเกือบจะสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว วิธีที่ดี (และง่ายที่สุด) ในการวิเคราะห์คุณภาพแบบสอบถามคือ คุณอาจจะเริ่มลองให้คนในทีมอื่น ๆ ในองค์กรของคุณได้เริ่มทำเป็นกลุ่มแรก เพื่อรับ Feedback จากคนในองค์กรก่อน หรืออาจจะลองส่งให้คนใกล้ตัวคุณได้เริ่มทำเป็นกลุ่มแรกก่อนส่งให้กลุ่มเป้าหมายจริงได้ทำแบบสอบถาม

กรณีที่มีข้อผิดพลาดในแบบสอบถามคุณจะได้สามารถแก้ไขได้ และรับทราบข้อผิดพลาด จุดที่ยังขาดความเข้าใจ หรือชุดคำถามที่ยังไม่ชัดเจน จากกลุ่มคนเหล่านั้นก่อนและนำมาปรับแก้แบบสอบถาม ก่อนการเผยแพร่ให้กลุ่มเป้าหมายจริงได้ทำ

5. ปรับปรุงแบบสอบถามให้สมบูรณ์

ต่อเนื่องจากข้อที่แล้ว หลังจากที่เราปรับปรุงแบบสอบถามให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นตาม Feedback ที่ได้รับมาแล้ว ก็ต้องหมั่นตรวจเช็กแบบสอบถามอีกรอบ ปรับปรุงสิ่งที่ยังเป็นข้อผิดพลาดของแบบสอบถามให้หมด เพื่อความชัดเจนของแบบสอบถาม เป็นเหมือนการตรวจเช็กครั้งสุดท้ายก่อนนำแจกจ่ายเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ลองทำจริง วิธีนี้จะช่วยทำให้แบบสอบถามของคุณมีความสมบูรณ์แบบ และช่วยให้ผู้ทำแบบสอบถามสามารถตอบคำถามที่คุณต้องการได้อย่างถูกต้องมากที่สุด

6. จัดพิมพ์แบบสอบถาม

การจัดพิมพ์แบบสอบถาม หรือการเผยแพร่แบบสอบถามออนไลน์ ให้กลุ่มเป้าหมายได้ลองทำแบบสอบถาม คือขั้นตอนสุดท้ายของการออกแบบสอบถาม อันดับแรกคุณต้องคิดก่อนว่าจะเผยแพร่ให้พวกเขาได้ทำแบบสอบถามผ่านช่องทางไหนบ้าง ธุรกิจมีฐานของกลุ่มเป้าหมายอยู่มากน้อยเพียงใด หรือถ้าไม่มีจะใช้ช่องทางไหนในการเผยแพร่

โดยวิธีที่ง่ายและสะดวกรวดเร็วมากที่สุด เราจะขอแนะนำเป็นการใช้ช่องทางออนไลน์ อย่างการทำเป็น QR Code ให้ผู้ทำสแกนเข้าไปทำแบบสอบถามออนไลน์ได้ หรือส่งเป็นอีเมลไปหาฐานลูกค้าเก่า, กลุ่มเป้าหมายของคุณก็ได้เช่นกัน เป็นวิธีที่จะทำให้คุณกระจายแบบสอบถามไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาและเงินในการเผยแพร่อีกด้วย

ขั้นตอน ออกแบบสอบถามให้มีประสิทธิภาพ

รูปแบบของคำถาม ของการออกแบบสอบถาม มีอะไรบ้าง

1. คำถามปลายเปิด

คำถามปลายเปิด คือรูปแบบสอบถาม ที่ให้ผู้ทำสามารถเสนอคำตอบได้อย่างอิสระ โดยไม่มีหลักเกณฑ์ใด ๆ มากำหนดการตอบคำถามของพวกเขา ซึ่งรูปแบบ คำถามปลายเปิด แม้จะทำให้ได้คำตอบจากผู้ทำแบบสอบถาม ที่เป็นคำตอบจากความคิดของพวกเขาจริง ๆ แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ คำตอบที่ได้มักจะไม่ตรงประเด็นสูง ดังนั้นผู้ออกแบบสอบถาม จำเป็นต้องกำหนดตัวคำถามให้มีความเจาะจงมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้คำตอบของผู้ทำ มีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกัน

แนะนำว่าการใช้คำถามปลายเปิด ควรมีปริมาณไม่เยอะในแบบสอบถาม เฉลี่ยคำถาม 10 ข้อควรเป็นคำถาม

แบบสอบถาม คำถามปลายเปิด

 

2. การใช้คำถามปิด

คำถามปลายปิด คือรูปแบบคำถาม ที่มีการกำหนดคำตอบมาในรูปแบบปรนัย เป็นคำถามที่เราสามารถกำหนดคำตอบได้อย่างชัดเจน ทำให้ผู้ตอบสามารถเลือกคำตอบได้โดยทันที หรืออธิบายง่าย ๆ คือคำถามแบบที่มีช้อยส์ให้เลือก เป็นรูปแบบคำถามที่เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนมาก เพื่อให้ได้คำตอบส่วนใหญ่ไปในทิศทางเดียวกัน ไม่หลงประเด็น ได้คำตอบที่สามารถนำมาแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ง่ายและชัดเจน

แบบสอบถาม คำถามปลายปิด

 

3. การร่างแบบสอบถาม

ก่อนจะนำแบบสอบถามที่เสร็จสมบูรณ์มาเริ่มให้กลุ่มเป้าหมายได้ทำนั้น ควรมีการร่างแบบสอบถามเป็นไกด์ไลน์อยู่เสมอ ในการศึกษาปลายเปิดแค่ 1 ข้อ และเลือกใช้เฉพาะคำถามที่ต้องการรู้คำตอบจากความคิดผู้บริโภคจริง ๆ เช่น ข้อแนะนำ คำแนะนำเพิ่มเติม หรือกรณีที่เป็นคำตอบ “อื่น ๆ” ก็ควรจะมีการใช้คำถามปลายเปิด ให้ผู้ทำแบบสอบถามระบุว่า อื่น ๆ ในที่นี้ หมายถึงอะไร

ข้อควรระวังของคำถาม ในการออกแบบสอบถาม

ข้อควรระวังของการสร้างคำถามในการออกแบบสอบถาม จะมีสิ่งที่ต้องระวังอยู่ดังนี้

 

1. หลีกเลี่ยงการใช้ภาษากำกวม เข้าใจยาก คำย่อ หรือคำที่ไม่เข้ากับภาพลักษณ์แบรนด์ เพราะจะทำให้ผู้ทำรู้สึกสับสน มึนงง ระหว่างการตอบแบบสอบถาม และอาจทำให้ธุรกิจของคุณดูไม่น่าเชื่อถือ

2. ห้ามนำประเด็นอ่อนไหวมาสร้างเป็นแบบสอบถาม เช่น เรื่องการเมือง ศาสนา เพศสภาพ ความเชื่อ และอื่น ๆ เพราะอาจนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างตัวลูกค้าและตัวแบรนด์ของคุณได้

3. ไม่ควรออกแบบสอบถามที่มีเนื้อหาเบี่ยงเบนในการเข้าข้างใฝ่ใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไป เพราะอาจเกิดประเด็นในแง่ลบได้

4. ไม่ควรใช้คำถามปลายเปิดมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ทำแบบสอบถามเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายในการทำ ใช้เวลานานในการพิมพ์คำตอบ รู้สึกเสียเวลา และทำให้ปิดการทำแบบสอบถามไปโดยปริยาย ควรออกแบบให้ทำง่ายและเสร็จเร็วที่สุด

5. ในการถามคำถามที่มีความคล้ายคลึงกันหลาย ๆ ข้อควรใส่ตัวหนา หรือขีดเส้นใต้สิ่งที่แตกต่างออกไปให้ชัดเจน จะช่วยทำให้ผู้ทำแบบสอบถามไม่รู้สึกสับสนในการทำแบบสอบถาม

ภาษาที่ใช้ในออกแบบสอบถาม

- เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ใช้ตัวย่อ และไม่ใช้ประโยคซ้อนในการตั้งคำถาม

- ภาษาของคำตอบถ้าเป็นศัพท์เฉพาะ หรือชื่อแบรนด์ที่เป็นภาษาอังกฤษ ควรวงเล็บภาษาไทยด้วย เพื่อให้ผู้ทำแบบสอบถามได้ทำความเข้าใจง่ายมากขึ้น

- เป็นภาษาที่กระชับ รวบรัด ได้ใจความสำคัญในการสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่าน

- หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่เป็นนามธรรม เพราะจะทำให้ผู้ทำแบบสอบถาม ไม่เห็นภาพ และตีความเข้าใจที่แตกต่างกัน

- เช็กตัวสะกด คำผิดต่าง ๆ ให้เรียบร้อยก่อนเผยแพร่แบบสอบถามไม่ว่าจะช่องทางไหนก็ตาม เพื่อเพิ่มความเป็นมืออาชีพ ความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์

ภาษาที่ใช้ในออกแบบสอบถามที่ดี เป็นอย่างไร

ออกแบบสอบถาม ลำดับของคำถาม อย่างไรให้ดี

1. เรียงลำดับคำถามให้ต่อเนื่องและสอดคล้องภายในหมวดหมู่คำถาม ควรเรียงข้อคำถามจากเรื่องกว้าง สโคปไปเรื่องที่เฉพาะตัว ตามลำดับ

2. แบ่งประเด็นจากหัวข้อใหญ่ๆ แต่ย่อยเป็นหัวข้อเล็ก ๆ เพื่อทำให้ผู้ทำแบบสอบถามเข้าใจโครงสร้างของแบบสอบถามได้ง่ายมากขึ้น

3. สร้างลำดับคำถามที่สร้างแรงจูงใจเป็นหัวข้อแรก ๆ เพื่อให้ผู้ทำรู้สึกสนใจในการทำแบบสอบถามในหัวข้อถัดไป

4. คำถามปลายเปิด ควรอยู่ลำดับสุดท้ายของหัวข้อต่าง ๆ ในแบบสอบถาม เช่นคำถามพวก ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สิ่งที่อยากให้ปรับปรุง ควรอยู่ลำดับสุดท้ายของแบบสอบถาม จะช่วยให้ผู้ทำแบบสอบถามไม่เกิดความรู้สึกเสียเวลาในการทำ เท่าการอยู่ในช่วงต้นหรือกลาง ของแบบสอบถาม

5. ถ้ามีการถามข้อมูลด้านประวัติส่วนตัว ข้อมูลด้านประชากรของผู้ทำแบบสอบถาม ควรเอามาอยู่ในลำดับแรกสุดของแบบสอบถาม ไม่ควรไปอยู่ในช่วงกลางหรือท้าย จะเป็นวิธีการทำแบบสอบถามที่มีความเป็นสากลมากกว่า

 

สรุป

การออกแบบสอบถามที่ดีนั้น สังเกตได้เลยว่าจำเป็นที่จะต้องใช้หลายเทคนิคในการออกแบบ ให้แบบสอบถามของเราออกมาอย่างสมบูรณ์ที่สุด ทั้งในมุมของการได้รับข้อมูลของแบรนด์ และมุมของการทำแบบสอบถามของกลุ่มเป้าหมาย

อย่างไรก็ตาม การวางรูปแบบคำถามที่ตรงลักษณะของกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน มีลำดับการตั้งคำถามแบบเป็นขั้นเป็นตอน  จัดวางการใช้ภาษาแก่ผู้ทำแบบสอบถาม และเลือกใช้แพลตฟอร์มสำหรับการทำแบบสอบถามที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถสร้างแบบสอบถามได้ง่ายๆ มีแบบสอบถามสำเร็จรูปให้เลือกมากมาย ช่วยประหยัดเวลาและทำให้งบการตลาดทุกบาทที่เสียไปของคุณ เกิดผลลัพธ์มากที่สุด ก็จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะเข้ามาพัฒนาธุรกิจของคุณให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคตแน่นอน


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที