Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 23 มิ.ย. 2022 14.25 น. บทความนี้มีผู้ชม: 125714 ครั้ง

รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา การสอบเข้าราชการ การสอบตำรวจ การสอบครูผู้ช่วย และการสอบท้องถิ่น หาความรู้ได้ในบทความนี้!


ไขข้อสงสัย สอบ ก.พ. ภาค ข คืออะไร? ทำตำแหน่งอะไรได้บ้าง?

วันนี้เราจะพาทุกคนที่อยากเข้าไปทำงานในหน่วยงานราชการต่าง ๆ มาทำความรู้จักกับการสอบ ก.พ. ภาค ข หรือการสอบวัดความรู้ ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งกัน ว่าการสอบ ก.พ. ภาค ข นั้น มีความแตกต่างจากการสอบ ก.พ. ภาค ก อย่างไร? มีข้อยกเว้นอะไรบ้าง? นอกจากนี้เรายังได้นำตัวอย่างตำแหน่งต่าง ๆ ที่ต้องใช้ผลการสอบ ก.พ. ภาค ข รวมถึงรายละเอียดการสอบ วิธีการสมัคร และวิธีเตรียมความพร้อมในการสอบ ก.พ. ภาค ข มาเป็นแนวทางให้กับทุกคนที่สนใจอีกด้วย


สอบ ก.พ. ภาค ข

สอบ ก.พ. ภาค ข เป็นการสอบความสามารถเฉพาะตำแหน่ง การสอบ ก.พ. ภาค ข จึงเป็นการสอบที่เน้นใช้ความรู้ และความสามารถเฉพาะตำแหน่งที่ผู้สมัครสอบได้ทำการสมัครกับหน่วยงานต่าง ๆ ไป โดยการสอบ ก.พ. ภาค ข จะแตกต่างจากการสอบ ก.พ. ภาค ก ตรงที่อาจเป็นการสอบแบบอัตนัยหรือปรนัยก็ได้ หรืออาจจะมีการสอบปฏิบัติ และทดสอบร่างกายร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับแต่ละหน่วยงานราชการที่เปิดรับสมัครนั่นเอง 

ก่อนที่จะมาสอบ ก.พ. ภาค ข ได้ผู้สอบจะต้องสอบผ่านในภาค ก  และจะต้องมีหนังสือรับรองผลการสอบมายืนยันเสียก่อน จึงจะสามารถสมัครสอบ ก.พ. ภาค ข ได้ การสอบ ก.พ. ภาค ข ผู้จัดสอบจะเป็นหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เปิดรับสมัคร สามารถติดตามข่าวประกาศรับสมัครสอบของส่วนราชการต่าง ๆ ได้ที่ http://job.ocsc.go.th


สอบ ก.พ. ภาค ข ก่อนสอบ ภาค ก ได้ไหม

โดยทั่วไปการสอบ ก.พ. ภาค ข ผู้สมัครจะต้องสอบ ก.พ. ภาค ก ให้ผ่านก่อน เพื่อนำหนังสือรับรองผลการสอบมายื่นในการสอบ ก.พ. ภาค ข ต่อไป แต่ส่วนราชการต่าง ๆ อาจประกาศรับคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จากการศึกษาในวุฒิคัดเลือกที่ ก.พ. กำหนด ทำให้ผู้สมัครไม่จำเป็นต้องผ่านการสอบ ก.พ. ภาค ก มาก่อนได้ แต่อย่างไรก็ตามผู้สมัครจะต้องทำการสอบย้อนหลัง หรือสอบสอบ ก.พ. ภาค ก. แบบพิเศษในภายหลังเช่นกัน


สอบ ก.พ. ภาค ข มีตำแหน่งอะไรบ้าง

ในปัจจุบันตำแหน่งงานที่ต้องผ่านการสอบ ก.พ. ภาค ข โดยเป็นตำแหน่งที่หน่วยงานราชการต่าง ๆ เปิดรับสมัครบ่อย มีด้วยกันหลากหลายตำแหน่ง เช่น


สอบ ก.พ. ภาค ข มีสอบอะไรบ้าง

รายละเอียดการสอบ ก.พ. ภาค ข จะขึ้นอยู่กับหน่วยงานราชการที่ทำจัดสอบขึ้น การสอบ ก.พ. ภาค ข เป็นข้อสอบเฉพาะทางสำหรับกลุ่มงานต่าง ๆ  ที่มีคะแนนเต็มเท่ากับ 200 คะแนน นอกจากนี้ข้อสอบ ก.พ. ภาค ข อาจอยู่ในรูปแบบปรนัยหรืออัตนัยก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้จัดการสอบนั่นเอง


โดย 5 ตำแหน่งงานที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้สอบ ก.พ. ภาค ข ได้แก่

 

1.เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน โดยการสอบ ก.พ. ภาค ข จะทดสอบความรู้เกี่ยวกับ

 

2.นิติกร โดยการสอบ ก.พ. ภาค ข จะทดสอบความรู้เกี่ยวกับ

 

3.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี โดยการสอบ ก.พ. ภาค ข จะทดสอบความรู้เกี่ยวกับ

 

4.นักวิชาการคอมพิวเตอร์ โดยการสอบ ก.พ. ภาค ข จะทดสอบความรู้เกี่ยวกับ

 

5.นักวิเคราะห์นโยบายและแผน โดยการสอบ ก.พ. ภาค ข จะทดสอบความรู้เกี่ยวกับ


ขั้นตอนการสมัครสอบ ก.พ. ภาค ข

หลังจากสอบผ่าน ก.พ. ภาค ก แล้ว ผู้สอบจะต้องเข้าไปพิมพิ์หนังสือรับรองการสอบผ่านในระบบ ผ่าน 6 ขั้นตอน ดังนี้

  1. เข้าไปที่ website https://job.ocsc.go.th
  2. เลือกเมนู "พิมพ์หนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ"
  3. กดปุ่ม "สมัครสมาชิก" ด้วย ID บัตรประชาชน
  4. เลือก.พ.ิมพ์หนังสือรับรองผลการสอบผ่านฯ
  5. ยื่นใบสมัครสอบโดยนำบัตรประจำตัวประชาชน และหนังสือรับรองการสอบผ่าน (ตัวจริงและสำเนา) ไปยังหน่วยงานราชการที่รับสมัครนั้น
  6. เข้าสอบ ก.พ. ภาค ข ต่อไป

สำหรับการหางานราชการในตำแหน่งต่าง ๆ  ในเว็บไซต์ ผู้สมัครสามารถดูรายละเอียดการรับสมัครของส่วนราชการต่าง ๆ ได้ที่เว็บไซต์ http://job.ocsc.go.th หัวข้อ “ประกาศรับสมัครสอบเข้ารับราชการ” และสามารถยื่นเอกสารได้ตามรูปแบบที่ทางหน่วยงานกำหนด


แนะนำวิธีเตรียมตัวสอบ ก.พ. ภาค ข

สอบ ก.พ. ภาค ก ให้ผ่าน

ขั้นแรกในการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานราชการ คือการสอบ ภาค ก. ให้ผ่าน การติวสอบจากสถาบันต่าง ๆ จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากสถาบันติวสอบจะมีการเตรียมเนื้อหาที่สำคัญ มีทริคในการจำ และมีการติวเข้มสอบ ก.พ. ที่จะช่วยเตรียมพร้อมก่อนสอบให้แก่ผู้สอบได้เป็นอย่างดี

 

ติดตามประกาศรับสมัคร

ในระหว่างที่เตรียมตัวสอบ ก.พ. ภาค ก หรือได้หนังสือรับรองการสอบผ่านแล้ว ควรติดตามข่าวการรับสมัครตำแหน่งงานจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่จะเปิดรับสมัครอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสสำคัญที่จะได้ทำงานราชการที่ชื่นชอบ และเตรียมพร้อมในการสอบ ก.พ. ภาค ข นั่นเอง

 

เตรียมสอบ ก.พ. ภาค ข

เมื่อสอบ ก.พ. ภาค ก ผ่านแล้ว ผู้สอบก็จะต้องเตรียมตัวสอบ ก.พ. ภาค ข ต่อไป โดยตำแหน่งงานในการสอบ ก.พ. ภาค ข จะใช้ความสามารถเฉพาะตำแหน่งต่าง ๆ  และถ้าหากตำแหน่งนั้น ๆ จำเป็นต้องสอบ ก.พ. ภาค ค ต่อเพื่อให้เข้าบรรจุราชการได้ ผู้สอบก็จะต้องเตรียมตัวในการสอบต่อไป

 


ข้อสรุป

การสอบ ก.พ. ภาค ข เป็นการสอบเข้าราชการที่มีความเข้มข้น และเฉพาะทางเป็นอย่างมาก แต่ก่อนที่จะไปถึงการสอบ ก.พ. ภาค ข ได้ ผู้สอบจะต้องสอบ ก.พ. ภาค ก ให้ผ่านเสียก่อน การอ่านสอบ ก.พ. ด้วยตัวเองก็อาจจะไม่ครอบคลุม เท่ากับการติวสอบ ก.พ. ภาค ก ออนไลน์ เนื่องจากการติวสอบจัดเต็มด้วยเนื้อหาที่อัพเดตเสมอ มีเทคนิคการจำ และมีการจำลองการสอบเสมือนจริงอีกด้วย


 

 
 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที