อาการปวดหลังสามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่อายุยังน้อยไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยอาการเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาการแบบไหนที่ควรเข้ารับการผ่าตัดหลัง หรืออาการแบบไหนเป็นอาการปวดเมื่อยตามปกติ วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการสังเกตอาการของคุณ รวมถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการผ่าตัดด้วยวิธีการต่าง ๆ มาให้แล้ว
อาการแบบไหนที่ควรผ่าตัดหลัง ?
1. มีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง เรื้อรังมาเป็นเวลานาน
2. มีอาการปวดมากจนลามมาที่สะโพก ขา น่อง มือ หรือส่วนอื่น ๆ
3. มีอาการเหน็บชา
4. มีอาการแขนขาอ่อนแรง ไม่มีแรงเดิน
5. หลังคดหรืองอแบบผิดปกติอย่างสังเกตได้ชัด
6. หรือผู้ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีอาการของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ผู้มีภาวะถุงน้ำจากข้อต่อกระดูกทับเส้นประสาท และโรคเกี่ยวกับกระดูกบริเวณหลังอื่น ๆ ที่แพทย์วินิจฉัยว่าควรได้รับการผ่าตัดหลัง หรือมีการติดเชื้อ เช่น วัณโรค กรณีที่ติดเชื้อที่รุนแรงจนเชื้อทำลายกระดูก กรณีนี้ก็ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเช่นเดียวกัน
การผ่าตัดหลังมีกี่แบบ แตกต่างกันอย่างไร ?
ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีเทคนิคการรักษาและผ่าตัดด้วยทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น สำหรับวิธีการผ่าตัดหลังแบบต่าง ๆ มีดังนี้
1. การผ่าตัดแบบดั้งเดิม
เป็นการผ่าตัดหลังโดยวิธีการแบบดั้งเดิมแบบที่คุณจะนึกภาพการผ่าตัดโดยทั่วไปออก ข้อดีของวิธีการนี้คืออาจมีค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดที่น้อยกว่าการผ่าตัดแบบอื่น แต่ข้อเสียก็คือแผลอาจหายช้า เนื่องจากแผลผ่าตัดมีที่ขนาดใหญ่กว่าการผ่าตัดแบบสมัยใหม่อื่น ๆ
2. การผ่าตัดแบบส่องกล้อง
เป็นการผ่าตัดหลังที่ถูกพัฒนามาจากวิธีการแบบดั้งเดิม โดยจะใช้กล้องขนาดเล็กที่มีความสามารถในการขยายสูงมาเป็นเครื่องมือหลักในการผ่าตัด ช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ ประหยัดเวลา และลดข้อผิดพลาดในการผ่าตัด นอกจากนี้ยังช่วยให้เสียเลือดน้อยลง แผลผ่าตัดส่องกล้อง พักฟื้นไม่กี่วันก็หายอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องกังวลถึงแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ แต่อาจมีค่าใช้จ่ายในการผ่าที่สูงกว่าการผ่าตัดแบบดั้งเดิม
การผ่าตัดหลังมีเทคนิควิธีการผ่าตัดที่หลากหลายให้เลือกในปัจจุบัน การผ่าตัดแบบส่องกล้องเองก็มีแบ่งย่อยตามชนิดของกล้องและวิธีการที่แตกต่างกันไปอีก ผลลัพธ์ที่ได้หรือความเหมาะสมกับโรคอาจจะแตกต่างกันเล็กน้อย และแน่นอนว่าค่าใช้จ่ายก็แตกต่างกันด้วย หากคุณมีอาการปวดหลังที่ผิดปกติควรไปให้แพทย์วินิจฉัยก่อนว่าต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่ และเหมาะสมกับเทคนิคการผ่าตัดแบบใด หากกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย อย่าลืมสอบถามเกี่ยวกับสิทธิประกันหรือความคุ้มครองที่คุณสามารถใช้ได้ด้วย
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที