ศิริกุล

ผู้เขียน : ศิริกุล

อัพเดท: 22 เม.ย. 2022 11.47 น. บทความนี้มีผู้ชม: 6119 ครั้ง

มาสังเกตุอาการแพ้ครีมกัน และวิธีการไข ป้องกันอาการแพ้ครีมกัน


วิธีสังเกตุอาการแพ้ครีม และจะป้องกัน รักษาอย่างไร

 
จะพา สาว ๆ ทุกคนมารู้จักกับสัญญาณต่าง ๆ ที่บ่งบอกว่า ตนเองกำลังมี อาการแพ้ครีม พร้อมกับวิธีการแก้ไขและป้องกัน เมื่อเจอปัญหาดังกล่าว รับรองว่า คุณจะแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ในขณะเดียวกัน ก็จะป้องกันตนเองไม่ให้ต้องเจอกับ อาการแพ้ครีม ได้อีก
 
 “อาการหน้าแพ้ครีม” เป็นอาการที่มีสิทธิ์เกิดขึ้นได้กับทุกๆคน ตราบใดที่เรายังต้องทาครีมบำรุงผิวมากมายหลายตัวอยู่ทุกๆเมื่อเชื่อวัน โดยอาการของคนที่แพ้ครีมนั้นจะมีอาการแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่ก็จะมีอาการที่ใกล้เคียงกันคือ มีอาการหน้าแสบแดง มีผดผื่น หรือตุ่มน้ำเม็ดเล็กๆเห่อขึ้นมาเป็นจำนวนมาก บางครั้งก็ดูเหมือนสิวผด หรือไม่ก็มีสิวอักเสบขึ้นมาหลายเม็ดในตำแหน่งที่ไม่เคยขึ้นมาก่อน มักมีอาการคันร่วมด้วย หากพบว่าใบหน้ามีอาการแพ้ควรปฏิบัติดังนี้
 
สัญญาณของ อาการแพ้ครีม
 
 
1. ใช้ครีมใหม่ปุ๊บ สิวขึ้นใหม่ปั๊บ
 
ถ้าสาว ๆ คนไหน หน้าใสเป๊ะ ผิวหน้าเนียนนุ่มก่อนหน้านี้มาตลอด แต่จู่ ๆ พอเปลี่ยนครีมใหม่มาใช้ ตื่นขึ้นมาอีกที กลับมีสิวเม็ดโป้งขึ้นมา หรือมีสิวเม็ดเล็ก ๆ สิวเห่อ ขึ้นมาเต็มใบหน้าแล้วละก็ บอกได้เลยว่า อาการอย่างนี้ แพ้ครีมแน่นอน ซึ่งเป็นผลจากการที่ครีม ไปกระตุ้นให้ผิวระคายเคือง หรือ ผิวแพ้ง่าย ทำให้สิวขึ้นนั่นเอง
 
2. มีตุ่มขาวหรือตุ่มแดงเล็ก ๆ ขึ้นบนใบหน้า
 
ถ้าแพ้ครีม แล้วไม่มีสิวขึ้น ก็อาจมีโอกาสที่จะมีตุ่มขาวหรือตุ่มแดง เม็ดเล็ก ๆ ขึ้นบนใบหน้าแทน ซึ่งมาจากการที่ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวนั้น ๆ อาจมี Emollient หรือสารไขมันที่ช่วยทำให้ผิวนุ่มลื่น หรือมี Mineral Oil ในปริมาณมาก ทำให้อาจไปอุดตันอยู่ในรูขุมขนบนใบหน้า จนทำให้เกิดตุ่มเล็ก ๆ เหล่านี้ขึ้น
 
3. เจอปัญหา ผิวแห้ง ผิวแตก
 
การใช้ครีมบำรุง ก็เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว แต่ถ้าเกิดใช้ไปใช้มา ดันเจอปัญหาผิวแห้ง ผิวแตก ทั้ง ๆ ที่เพิ่งเปลี่ยนครีมมาใหม่ นั่นอาจหมายความว่า กำลังเจออาการแพ้ครีม ซึ่งอาการนี้มักมาพร้อมกับความแสบ ๆ คัน ๆ บนใบหน้าด้วย หากเจอปัญหาดังกล่าวแล้วละก็ ไม่ควรเอามือไปเกา เด็ดขาด ไม่งั้นหน้าอาจพังได้
 
4. รู้สึกแสบ ๆ คัน ๆ บนใบหน้า
 
ถ้าแสบ ๆ คัน ๆ แสดงว่า ครีมอาจไปทำให้ผิวของเราเกิดอาการระคายเคือง ทำให้ผิวแพ้ จนรู้สึกคันยุกยิกบนใบหน้า ซึ่งอาจมาจากการแพ้ส่วนผสมตัวใดตัวหนึ่ง หรือผลิตภัณฑ์นั้น ๆ อาจแรงเกินไปสำหรับสภาพผิวของเรา
 
5. มีผื่นแดงขึ้นเป็นปื้น ๆ
 
ตื่นเช้าขึ้นมา ยังไม่ทันได้แต่งหน้า แก้มก็แดงเองซะแล้ว ซึ่งถ้าไม่ใช่ลืมล้างหน้าเมื่อคืน ก็แสดงว่า บริเวณนั้นเป็นผื่นแดง ที่เกิดจากอาการแพ้ครีม โดยนอกจากจะทำให้หน้าของคุณน่าเกลียดแล้ว มันยังมาพร้อมอาการคัน ๆ ที่แสนทรมานอีกด้วย เพราะฉะนั้น ถ้าครีมตัวไหนทำให้เป็นแบบนี้แล้วละก็ รีบทิ้งให้ไว
 
6 รู้สึกหน้าตึง ๆ ร้อน ๆ ที่ผิว
 
เปลี่ยนครีมมาใหม่ แต่กลับรู้สึกหน้าตึงเหมือนฉีดโบท็อกซ์ และยังรู้สึกร้อน ๆ ที่ผิว ทั้งที่ไม่ได้ตากแดด บ่งบอกว่า แพ้ครีมชัดเจน ซึ่งอาจมาจากผลิตภัณฑ์นั้น มีสารในน้ำหอมหรือสารกันบูด วัตถุกันเสียบางอย่าง ซึ่งอาจทำให้ผิวแพ้ได้
 
7. ผิวไวต่อแดด
 
โดนแดดเมืองไทยปกติ ก็ร้อนจนแสบผิวอยู่แล้ว แต่ถ้าเพิ่งทาครีมแล้วออกไปข้างนอก กลับรู้สึกแสบผิวมากขึ้น อาจแปลว่า ครีมที่ใช้อยู่ ทำให้ผิวเราแพ้และบอบบางลง จนกลายเป็นคนที่มีผิวไวต่อแดด ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่อาจทำให้เกิดอาการดังกล่าวเช่น ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มรักษาสิวที่มีส่วนผสมของ AHA และสาร Benzoyl Peroxid
 
จะแก้ อาการแพ้ครีม อย่างไร
 
 
เมื่อสาว ๆ เกิดอาการแพ้ครีม ถ้ามีอาการหนัก ควรรีบไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยทันที เพื่อทำการรักษา แต่หากใครอาการยังเบา ๆ ไม่หนักมาก และอยากจะแก้อาการแพ้ครีมที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้
 
1. หยุดใช้ครีมทั้งหมดทันที
 
ถือว่าเป็นสิ่งแรกที่ควรทำ เพราะถ้าส่งผลไม่ดี จะเก็บไว้ใช้ทำไม ไม่ว่าจะแพงแค่ไหน แบรนด์ดังอะไร ถ้าทำให้ผิวแพ้ง่าย ก็หยุดใช้และทิ้งไปให้หมด หรือถ้ายังเหลือเยอะ และอยู่ในสภาพดีอยู่ อาจจะขายต่อก็ได้นะ แต่ย้ำว่า ต้องเลือกครีมที่เหมาะกับสภาพผิวของคน ๆ นั้นด้วย
 
2. ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า หรือน้ำเกลือ
 
ไม่จำเป็นต้องซื้อผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับการล้างหน้าเมื่อเกิดอาการแพ้เสมอไป เพราะน้ำเปล่า หรือน้ำเกลือ ก็มีค่า pH เป็นกลาง ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่าง ๆ ดังนั้น แค่ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำเกลือ ก็ช่วยลดอาการแพ้ครีมได้แล้ว
 
3. ไม่ควรพอกหน้าหรือมาสก์หน้าต่าง ๆ
 
เมื่อผิวหน้าแพ้จากการใช้ครีม ควรงดกิจกรรมที่จะเป็นการรบกวนใบหน้าของเราให้มากที่สุด ซึ่งการพอกหน้าหรือมาส์กหน้าก็เป็นหนึ่งนั้น เนื่องจากการพอกหน้า มักจะทำให้ผิวของเราแห้งมากกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นการทำให้ผิวหน้าของเรา ออกอาการหนักหนาสาหัสกว่าเดิมได้
 
4. รับประทานอาหารเสริมหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีจุลินทรีย์โปรไบโอติก
 
โดยธรรมชาติแล้วบนใบหน้าของเราจะมีจุลินทรีย์โปรไบโอติกอยู่ ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้ จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน และสร้างเกราะป้องกันมลภาวะบนใบหน้า เมื่อเกิดอาการแพ้ครีม จุลินทรีย์เหล่านี้มักจะตาย จนผิวหน้ามีอาการเสียสมดุล ดังนั้น หากอยากให้ใบหน้ากลับมามีสภาวะปกติ ก็ควรรับประทานอาหารเสริมโปรไบโอติก หรือ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีจุลินทรีย์โปรไบโอติก เพื่อให้สภาพผิวกลับมาดีได้ดังเดิม
 

สำหรับใครที่อยากเป็นเจ้าของแบรนด์ครีม หรือ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว แนะนำบริษัท SGECHEM ที่มี โรงงานผลิตครีม ขนาดใหญ่ ประสบการณ์มากมาย พร้อมบริการตั้งแต่คิดค้นสูตร จนผลิตภัณฑ์ครีมออกสู่ตลาด พร้อมเป็นที่ปรึกษาให้

 
วิธีป้องกันตนเองจาก อาการแพ้ครีม
 
 
 
อาการแพ้ครีม จะไม่เกิดขึ้นเลย หากรู้วิธีป้องกันตนเอง เพื่อไม่ให้ผิวของเราต้องเสียหายตั้งแต่แรก รวมถึงยังทำให้เราได้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับสภาพผิวของตนเอง และใช้เงินได้คุ้มค่ามากขึ้น เมื่อต้องเลือกซื้อครีมมาบำรุงผิว โดยวิธีป้องกัน มีดังต่อไปนี้
 
1. หลีกเลี่ยงส่วนผสมที่ทำให้แพ้ครีม
 
ก่อนเลือกซื้อทุกครั้ง ควรพิจารณาส่วนผสมที่อยู่บนฉลากผลิตภัณฑ์ เพื่อหลีกเลี่ยงส่วนผสมที่ทำให้ผิวเราเกิดอาการแพ้ ระคายเคือง ซึ่งส่วนผสมที่มักทำให้เกิดอาการแพ้ มักเป็นน้ำยางจากธรรมชาติ (สังเกตง่าย ๆมักเป็นคำที่ลงท้ายด้วย Latex) สารเคมีในน้ำหอม สารกันบูด วัตถุกันเสีย อย่างเช่น พาราเบน ฟอร์มาดีไฮด์
 
ซึ่งถ้าหากคุณอยากเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ๆ แต่ไม่แน่ใจว่าจะเพ้หรือเปล่า อาจเลือกผลิตภัณฑ์จากส่วนผสมที่คุ้นเคย หรือใช้มาก่อนแล้วรู้จักเป็นอย่างดี มาเป็นตัวอย่าง ว่ามีส่วนผสมที่คล้ายกันหรือไม่ ก็อาจจะทำให้หลีกเลี่ยงได้มากขึ้น และลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายกับผิวของคุณ
 
2. มองหาสูตรที่เหมาะสำหรับคุณ
 
เมื่อใช้ครีมมาในระดับหนึ่ง น่าจะทำให้คุณรู้ว่า ควรหลีกเลี่ยงสารตัวไหน ครีมแบบไหนที่เหมาะสมกับสภาพผิวของคุณ ซึ่งในปัจจุบัน ครีมแทบทุกยี่ห้อ ก็ได้ผลิตครีมแบบต่าง ๆ ที่เหมาะกับสภาพผิวของแต่ละคนออกมาแล้ว ดังนั้น ก่อนเลือกซื้อ จึงควรพิจารณาสูตรที่เหมาะสำหรับคุณ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด โดยให้สังเกตคำอธิบายบนผลิตภัณฑ์ ดังนี้
 
hypoallergenic = แพ้ง่าย
fragrance-free = ปราศจากน้ำหอม
without perfume = ไม่มีน้ำหอม
for sensitive skin = สำหรับผิวบอบบาง
dermatologist tested = ได้รับการทดสอบโดยแพทย์ผิวหนัง
sensitivity tested = ผ่านการทดสอบสำหรับผิวที่บอบบางแพ้ง่าย
non-irritating = ไม่ระคายเคือง
 
3. ทดสอบผลิตภัณฑ์ที่ไม่เคยใช้ก่อนเสมอ
 
ถึงแม้จะตรวจสอบบนฉลากก็แล้ว เลือกซื้อแบบเฉพาะที่เหมาะกับสภาพผิวนั้น ๆ ก็แล้ว อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ ดังนั้น หากเพิ่งเริ่มใช้ครีมใหม่ ให้ทดสอบในบริเวณผิวที่บอบบางที่สุด อาทิ ท้องแขน โดยการแต้มครีมในปริมาณเล็กน้อยดูก่อน รอประมาณ 48-72 ชั่วโมง (บางคนก็ทำซ้ำ 1-2 สัปดาห์ เพื่อความมั่นใจ) จากนั้น ให้สังเกตอาการว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือไม่ หากเกิดอาการแพ้ครีม ไม่ว่าจะระคายเคือง บวมแดง คัน หรือแสบร้อน ก็ให้หยุดใช้ในทันที แต่ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติ ก็แสดงว่า ครีมนั้นเหมาะกับสภาพผิว ใช้ได้ปกติ เพียงเท่านี้ ก็จะลดความเสี่ยงที่จะเกิด อาการแพ้ครีมได้แล้ว
 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที