Nhonginter

ผู้เขียน : Nhonginter

อัพเดท: 02 มิ.ย. 2022 15.42 น. บทความนี้มีผู้ชม: 12426 ครั้ง

แนะนำการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการในอุตสาหกรรม อย่างถูกกฏหมาย


ของเสียในอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง และจัดการอย่างไร?

กากอุตสาหกรรม หรือ ของเสีย ที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆของโรงงานอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ดังนี้

กากของเสียที่เป็นอันตราย ( Hazardous waste )

  1. กำหนดโดย “บัญชีรายชื่อ และกระบวนการผลิต (Code Waste)
  2. คุณสมบัติ เข้าข่าย “ของเสียอันตราย” ตามกฎหมาย
    - ไวไฟ
    - กัดกร่อน
    - เกิดปฏิกิริยา
    - สารพิษ
    - ผลวิเคราะห์

?

?รวมถึง ค่า pH สามารถบ่งบอกลักษณะและคุณสมบัติของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วได้อีกด้วย

10 อันดับขยะอันตรายที่มีการนำไปกำจัดมากที่สุด มีอะไรบ้าง

 

กากของเสียที่ไม่เป็นอันตราย ( Non-Hazardous waste )

กากของเสียต้องมีผลวิเคราะห์ยืนยันความไม่เป็นอันตราย ของเสียชนิดนี้มักอยู่ในอุตสาหกรรมประเภท 
โรงงานผลิตอาหาร เครื่องดื่ม,โรงงานกระดาษ เยื่อกระดาษ, โรงงานเกษตรแปรรูป เป็นต้น แต่โรงงานประเภทอื่นๆสามารถส่งตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์ความไม่เป็นอันตรายได้ เช่นกัน

 

ขยะ หรือ ของเสีย แบบไหนที่ต้องยื่นขออนุญาตกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 กำหนดว่า

การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว คือ การบำบัด ทำลายฤทธิ์ ทิ้ง กำจัดจำหน่ายจ่ายแจก แลกเปลี่ยน หรือนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการกักเก็บไว้เพื่อทำการดังกล่าว

ผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้ว คือ ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้วไว้ในครอบครอง ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรือง  ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547 และโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 105

สรุปคือ สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วทุกประเภทจากโรงงาน ที่เข้าข่ายเป็นโรงงานตาม พระบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 หากมีการนำออกนอกสถานประกอบการ ต้องมีการขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน (สก.2) กับกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อนทุกครั้ง


ยกเว้น
1. สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตรายจากสำนักงาน บ้านพักอาศัยและโรงอาหารในบริเวณโรงงาน
2. กากกัมมันตรังสี
3. มูลฝอยตาม พรบ. สาธารณสุข
4. น้ำเสียที่ส่งไปบำบัดนอกโรงงานทางท่อส่ง

โดยหากมีการนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม จะถูกปรับไม่เกิน 200,000 บาทต่อครั้งหรือปิดปรับปรุงสถานประกอบการตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่

ที่มา : บริษัท รับกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรม

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที