นระ

ผู้เขียน : นระ

อัพเดท: 06 ส.ค. 2007 15.57 น. บทความนี้มีผู้ชม: 534424 ครั้ง

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ความหมายของ โลจิสติกส์ ก็เปลี่ยนไปตามวิธีการดำเนินธุรกิจของโลก ในยุคศตวรรษที่ 20 ในทางการทหาร หมายถึง การวางแผนและบริหารจัดการเพื่อการเคลื่อนกองทัพ กำลังพล ยุทโธปกรณ์ และสิ่งอุปโภคต่าง ๆ ส่วนในด้านอุตสาหกรรมและธุรกิจ หมายถึง การวางแผนและควบคุมการเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและผลผลิต รวมไปถึงการกระจายสินค้าสู่ตลาดจนถึงผู้บริโภค โดยมีการจัดองค์กรหรือกระบวนการผลิตอย่างเหมาะสมคุ้มค่า

โดย
ดร.นระ คมนามูล Ph.D.(London)
วุฒิวิศวกรสาขาวิศวกรรมโยธา


ตอนที่ 8/2 เส้นทางตลาดสำหรับ TELEMATICS

เส้นทางตลาดสำหรับ TELEMATICS

                                                                               ดร.นระ คมนามูล

ตลาดในอินเดีย

                ที่น่าสนใจคือ อินเดียเป็นตลาดสำหรับเทเลแมติกส์การขนส่งหรือไม่  ศักยภาพอะไรที่ประเทศอินเดียมีให้สำหรับบริษัทเทเลแมติกส์ทั้งหลาย      ต้องไม่ลืมว่าอินเดียมีความชำนิชำนาญในการพัฒนาคอมพิวเตอร์ “โคด” และ สร้าง “ซอฟ์ตแวร์โซลูชั่น” ที่มีราคาต่ำกว่าที่อื่น ๆ ซึ่งทุกวันนี้ผลของมันกำลังถูกนำไปใช้ในระบบเทเลแมติกส์ในสหรัฐ ฯ และในยุโรปโดยบริษัทคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงของโลกหลายบริษัท       นี่ชี้ให้เห็นถึงจุดเด่นในความจริงที่ว่าบริษัทอินเดียมีข้อได้เปรียบที่เด่นชัดในเรื่องเทเลแมติกส์และความสามารถในการพัฒนาโซลูชั่นต่าง ๆ สำหรับบริษัทต่างประเทศ

                อินเดียทั้งประเทศมีจำนวนรถยนต์ขนาดเล็ก(รวมรถยนต์นั่งส่วนบุคคล)ประมาณ 6.5 ล้านคัน และรถยนต์บรรทุก 2.5 ล้านคัน โดยมีอัตราการเจริญเติบโตในปี ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) อยู่ระหว่าง 15-20% และคาดคะเนว่าอัตราการเจริญเติบโตนี้จะดำเนินต่อไประหว่าง 10% และ20% ต่อปีในสองสามปีข้างหน้า นับว่าเป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วที่สุดประเทศหนึ่งในขณะนี้ และคาดหวังว่าตลาดรถยนต์ในอินเดียจะมีศักยภาพมากสำหรับเทเลแมติกส์

                ปัจจุบันประเทศอินเดียมีระบบทางหลวง 4-6 ช่องจราจรอยู่เพียงแค่ 2%  อีกทั้งระบบสื่อสารแบบไร้สายก็ยังครอบคลุมโครงข่ายทางหลวงได้ไม่ทั้งหมด   ความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ของการใช้กับกิจการรถบรรทุกก็ยังไม่ชัดเจน ยิ่งกว่านั้นเจ้าของรถบรรทุกต่าง ๆ ยังแบ่งออกเป็นรายเล็กรายน้อย            ถึงแม้ว่าจะมีข้อจำกัดดังกล่าว ความก้าวหน้าในด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเป็นฐานมีอยู่มาก เช่น โครงการสี่เหลี่ยมทองคำ  ซึ่งเชื่อมโยงสี่มหานครหลักของอินเดีย คือ   เดลฮี    กัลกัตตา   มุมไบ(บอมเบ) และเจนไน(มัทราส) ด้วยโครงข่ายทางหลวงแห่งชาติ 4-6 ช่องจราจรชั้นดี  เป็นระยะทาง 5,800 กิโลเมตร และโครงการถนนแนวเหนือใต้-แนวตะวันออกตะวันตก ซึ่งกำลังอัพเกรดเป็นทางหลวงแห่งชาติขนาด 4-6 ช่องจราจรชั้นดี รัฐบาลอินเดียได้เล็งเห็นอนาคตของการใช้ประโยชน์เทเลแมติกส์ จึงจัดตั้งสภาวิจัยศึกษาโอกาสและประโยชน์ของการใช้เทเลแมติกส์ในระบบขนส่งของอินเดีย

                ในส่วนของการสื่อสาร  บริษัทเทเลคอมส์หลายบริษัทกำลังพัฒนาอย่างก้าวหน้าในการปรับปรุงการเข้าถึงของสัญญาณโทรศัพท์ไร้สาย      การพัฒนาทั้งสองด้านนี้คาดว่าจะเปลี่ยนโฉมหน้าของโครง สร้างพื้นฐานด้านถนนหนทางของประเทศ และปูทางไปสู่การใช้เทเลแมติกส์สำหรับระบบขนส่งของอินเดีย

                        การศึกษาถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำเทเลแมติกส์มาใช้  นำไปสู่การก่อตั้งกลุ่มแกน

นำเกี่ยวกับการวิจัยรถยนต์ที่เรียกว่า    Core-group on Automotive Research (CAR)  ในปี ค.ศ. 2003 (พ.ศ.2546)   สภาวิจัยนี้ประกอบด้วยกลุ่มสำคัญสามกลุ่มเป็นตัวแทนของรัฐบาลและอุตสาหกรรม ซึ่งมี

·       The Technology Information Forecasting & Assessment Council (TIFAC)

ซึ่งเป็นองค์การอิสระภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐบาลอินเดีย

·       The Society of Indian Automobile Manufacturers (SIAM)    ซึ่งเป็นสมาคม

อุตสาหกรรมระดับยอดตัวแทนของผู้ผลิตรถยนต์และเครื่องยนต์ 35 ราย

·       The Automotive Component Manufacturers Association (ACMA) ซึ่งเป็น

สมาคมตัวแทนผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มากกว่า 400 ราย

                กลุ่มสำคัญที่เป็นแกนนำประกอบด้วยผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของอินเดีย คือ Ashok Leyland, Tata Motors และ Mahindra & Mahindra ซึ่งให้ทุนสนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมและสถาบันวิชาการ เช่นสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งอินเดีย (IISc) และสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งอินเดีย(IIIT) บังกาลอร์

                โปรแกรมงานวิจัยด้านเทเลแมติกส์ที่ดำเนินอยู่    (ด้านอื่นมี  embedded control systems, advanced materials, hydrogen fuel, safety และ recyclability) มีเรื่องการจัดการด้านโลจิสติกส์และการขนส่งสาธารณะโดยใช้เทคโนโลยี  GPS/GSM      การเก็บค่าโดยสารอิเล็กทรอนิกส์แบบสมาร์ตการ์ด(EFC) , RFID, การทำแผนที่ดิจิตอลทั่วประเทศ  และทำงานสู่มาตรฐานแบบเปิด   ซึ่งได้ทดลองใช้กับระบบขนส่งสาธารณะในเมืองหลักที่สำคัญ เช่นที่เมืองเชนไน(มัทราสเดิม)     นอกจากนี้ ยังใช้สำหรับบริษัทขนส่งสาธารณะเมืองบังกาลอร์ในระบบการจัดการและติดตามการเดินรถ ระยะทางและเวลาของเที่ยวเดินรถ  การฝ่าฝืนกฎจราจร(รวมถึงความเร็ว)  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงการให้บริการทั้ง หมด ประสิทธิภาพการจัดเส้นทางและช่องจอดรถที่สถานี  และการให้สารสนเทศสภาพจราจรแก่ผู้เดินทางทุก ๆ นาที

                เส้นทางสู่การใช้เทเลแมติกส์ในอินเดียไม่สู้จะราบรื่นนัก โดยเฉพาะกับพวกรถบรรทุก ส่วนรถนั่งส่วนบุคคลก็มักจะใช้ประโยชน์แค่การนำทางและการบันเทิงบ้างเล็กน้อย ปัญหาเรื่องราคาของการมีเทเลแมติกส์ยังเป็นอุปสรรคสำคัญ ทั้งนี้เพราะว่าผู้บริโภคชาวอินเดียคำนึงถึงเรื่องมูลค่ามาก      ดังนั้นเทคโนโลยีราคาถูกจึงจะเป็นทางออกที่เหมาะสมสำหรับตลาดอินเดียในการใช้เทเลแมติกส์  อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้การเป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือของประชากรอินเดียกำลังแพร่หลายและเติบโตอย่างรวด เร็ว กอปรกับการมีเทคโนโลยี 3G อาจจะเป็นปัจจัยเสริมการแพร่หลายของการใช้เทเลแมติกส์ในอินเดีย   

                ขณะเดียวกัน    ความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาทางหลวงในปัจจุบันอาจจะนำไปสู่การใช้ระบบการเก็บเงินค่าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์แบบสมาร์ตการ์ดที่ใช้เทเลแมติกส์    และรัฐบาลอินเดียก็กำลังพิจารณานำเทคโนโลยีอ่านป้ายทะเบียนรถที่เชื่อมโยงกับสมาร์ตการ์ดมาใช้สำหรับโทลล์เวย์


จบ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที