Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 17 ต.ค. 2022 21.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 289920 ครั้ง

รอบรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รู้ก่อน รักษาก่อน บทความที่จะมาเชิญชวนให้นักอ่านทุกคนหันมาดูแลสุขภาพเพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก


ปวดหัวข้างขวา ปวดหัวไมเกรนเรื้อรัง ดูแลรักษาอย่างไรให้หาย

ปวดหัวข้างขวา

อาการปวดหัว เชื่อว่าหนุ่มสาวออฟฟิศหลายๆ คนน่าจะมีอาการปวดหัวอยู่เป็นประจำ เนื่องจากเครียดกับงานหรือนั่งทำงานอยู่ท่าเดิมๆก็ส่งผลให้มีการปวดหัวได้ แต่เคยสงสัยหรือเคยเป็นกันหรือไม่ว่าอาการปวดหัวข้างขวาข้างเดียว บางครั้งก็ปวดลามจนถึงเบ้าตา มีสาเหตุมาจากอะไร วันนี้เรามาหาคำตอบกัน


ปวดหัวข้างขวา

อาการปวดหัวข้างขวา อาจเกิดจากระบบประสาท การใช้ยาเกินขนาด ผลข้างเคียงจากยา เนื้องอก ไมเกรน ความเครียด และอื่นๆอีกหลายสาเหตุ นอกจากนี้อาการปวดหัวข้างขวาอาจมาพร้อมกับอาการวิงเวียนศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกเยอะผิดปกติ


ปวดหัวข้างขวา เกิดจากสาเหตุใด

 ปวดหัวข้างขวา สาเหตุ

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างขวา อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมาจากไมเกรนและอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ (Cluster headaches) หรืออาการปวดหัวข้างเดียวอย่างรุนแรงบริเวณกระบอกตาหรือขมับ และความเครียด ซึ่งบางครั้งอาจส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะร่วมด้วย


อาการปวดหัวข้างขวาเป็นอย่างไร

ปวดหัวข้างขวาลามมาตา

อาการปวดหัวข้างขวามีหลายประเภท ลักษณะของการปวดหัวแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริเวณตำแหน่งที่ปวด ซึ่งจะบอกสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ ดังนั้นเราจึงควรรู้ข้อมูลของอาการปวดแต่ละบริเวณเพื่อหาวิธีรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหัวได้อย่างถูกวิธี

ปวดหัวข้างขวาลามไปกระบอกตา

มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือบางครั้งก็จะเป็นๆหายๆ อาการร่วมกันอาจจะมีดังเช่น ตาพร่ามัว มือเท้ามีอาการชา มีไข้ ซึ่งอาการปวดหัวแบบนี้อาจมีสาเหตุมาจากโรคทางสมอง เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคหลอดเลือดสมองหรือ Stroke และโรคเนื้องอกในสมอง อาการนี้มีความอันตรายขั้นรุนแรง ควรพบแพทย์อย่างเร่งด่วน

ปวดหัวข้างขวาบริเวณหลังหู

อาการนี้มักปวดบริเวณหลังหูหรือกราม และข้อต่อขากรรไกร มักจะปวดในตอนตื่นนอนหรือเคี้ยวอาหาร สาเหตุเกิดจากการนอนกัดฟันแบบไม่รู้ตัว(อาจเกิดจากความเครียด)

ปวดหัวคิ้วข้างขวา

เป็นอาการที่เกิดร่วมได้กับอาการปวดหน้าผากไปจนถึงโหนกแก้มหรือดั้งจมูก จุดเหล่านี้คือไซนัส ดังนั้นอาการปวดลักษณะนี้มักมีสาเหตุมาจากอาการไซนัสอักเสบ

ปวดหัวข้างขวาบริเวณท้ายทอย

อาจมีอาการปวดบริเวณขมับหรือรอบหัว ลามไปถึงท้ายทอย คอ บ่า ไหล่ อาการนี้ส่วนใหญ่เกิดจากเกิดจากความเครียด เหนื่อย พักผ่อนน้อย ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง อีกทั้งเส้นประสาทบริเวณท้ายทอยอักเสบก็เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดบริเวณท้ายทอยได้เช่นกัน

ปวดหัวข้างขวาข้างเดียว

อาการปวดหัวข้างขวาอาจมีหลายสาเหตุด้วยกัน โดยหลักๆแล้วจะเกิดจากความเครียด ทำให้เป็นไมเกรนหรืออาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์

ปวดหัวข้างขวาสลับซ้าย

อาการปวดหัวข้างขวาหรือข้างซ้าย หรือปวดสลับๆกัน มักจะมีอาการปวดจี๊ด หากปวดมากอาจลามไปถึงกระบอกตาได้ มักมีอาการร่วมคือวิงเวียนศีรษะ อาเจียน โดยสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการนี้อย่างเช่นอยู่ในที่แสงจ้า หรือเสียงดัง ซึ่งลักษณะอาการนี้จะเรียกว่าอาการปวดหัวแบบไมเกรน


ประเภทของอาการปวดหัวข้างขวา

1. ปวดหัวข้างขวาจากไมเกรน

อาการปวดหัวแบบไมเกรนคืออาการปวดหัวข้างขวาตุบๆอย่างรุนแรง หรือในบางกรณีอาจเกิดขึ้นได้ทั้ง 2 ข้าง อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย มีไข้ ร้อนๆหนาวๆ มีความรู้สึกเหมือนโดนของแหลมๆทิ่ม อาการนี้เรียกว่าภาวะพาเรสทีเชีย

2. ปวดหัวข้างขวาจากคลัสเตอร์

อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ เป็นอาการที่พบได้ยาก โดนส่วนใหญ่ผู้ชายมักพบในผู้ชาย สาเหตุของอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ยังไม่สามารถสรุปแน่ชัดได้ อย่างไรก็ตาม มีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ได้รับกลิ่นที่แรงเช่นกลิ่นน้ำหอม กลิ่นน้ำมัน หรืออาจเกิดจากพันธุกรรมได้อีกด้วย

3. ปวดหัวข้างขวาจากความเครียด

อาการปวดหัวจากความเครียดเกิดจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว เป็นอาการปวดหัวที่พบได้บ่อยที่สุด มักมีอาการปวดหัวทั้งสองข้าง แต่ในบางครั้งก็มีโอกาสที่จะปวดหัวข้างเดียวได้เช่นกัน เป็นได้ทั้งปวดหัวข้างซ้ายและปวดหัวข้างขวา อาการดังกล่าวจะมีความรู้สึกตื้อๆ กลางหน้าผาก แต่ไม่มีไข้ ไม่คลื่นไส้ หรือตาพร่ามัวแต่อย่างใด

4. ปวดหัวข้างขวาจากปัจจัยแวดล้อม

ปัจจัยรอบๆ ตัวก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ เช่น การอยู่ในที่มีแสงสว่างมากเกินไป ทำให้ดวงตาเกิดความเหนื่อยล้า การอยู่ในที่เสียงดังเกินกว่า 90db หรือเกินมาตรฐานระดับเสียงที่ส่งผลอันตรายต่อหู และกลิ่นฉุนต่างๆเช่น น้ำหอม น้ำมันก็ทำให้แวดหัวได้

5. ปวดหัวข้างขวาจากผลข้างเคียงโรคอื่น

การเจ็บป่วยจากโรคต่างๆหรือผลข้างเคียงจากยาก็อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวได้เช่นกัน การเจ็บป่วย เช่น ภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ ปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณคอ เส้นเลือดโป่งพอง เนื้องอกทั้งแบบธรรมดาและเนื้อร้ายที่เป็นเซลล์มะเร็ง อาการปวดเส้นประสาทท้ายทอย โรคปวดประสาทใบหน้า โรคหลอดเลือดขมับอักเสบ เป็นต้น


การใช้ยาบางชนิดอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวได้ รวมไปถึงการใช้ยาในปริมาณที่มากเกินไปหรือเป็นใช้ยาเป็นระยะเวลานาน ควรอ่านเอกสารกำกับยาหรือปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน 


ปวดหัวข้างขวา เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

ปวดหัวตรงคิ้วขวา

อาการปวดหัวข้างขวาอย่างรุนแรง หากมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยดังนี้ ควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน

  • มีไข้
  • อ่อนเพลีย
  • ตาพร่ามัว
  • เห็นภาพซ้อน
  • ปวดบริเวณขมับ
  • รู้สึกแข็งๆบริเวณคอ
  • รู้สึกเจ็บหรือปวดเมื่อเคลื่อนไหว
  • พูดไม่ชัด

การวินิจฉัยอาการปวดหัวข้างขวา

อาการปวดหัวข้างขวามีการวินิจฉัยหลักๆ ดังนี้

  • เอกซเรย์ผ่านคอมพิวเตอร์หรือ CT scan ซึ่งสามารถวินิจฉัยทั้งเนื้องอก ความเสียหายทางสมอง อาการเลือดออกในสมอง การติดเชื้อ
  • การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ (MRI: Magnetic resonance imaging) คือการสแกนสมองด้วยคลื่นวิทยุและคลื่นแม่เหล็ก ซึ่งช่วยในการวินิจฉัยเนื้องอก เลือดออกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง การติดเชื้อ และภาวะของสมองและระบบประสาท

แนวทางการรักษาปวดหัวข้างขวา

การบรรเทาอาการปวดหัวข้างขวาด้วยตัวเอง

ปวดหัวข้างขวา รักษา

อาการปวดหัวข้างขวาสามารถบรรเทาอาการในเบื้องต้นด้วยตัวเอง โดยมีข้อแนะนำดังนี้

  • ปรับเปลี่ยนท่าทางหรือยืดเส้นยืดสาย ไม่นั่งหรือยืนอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน เพื่อให้กล้ามเนื้อได้คลายตัว
  • หากมัดผมให้ลองปล่อยผมเพื่อลดความตึงของเส้นผม
  • อาบน้ำอุ่นเพื่อให้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายเกิดการคลายตัว
  • รับประทานยาแก้ปวดหัวชนิดพาราเซตตามอล
  • นอนหลับพักผ่อนสักพัก เพื่อลดอาการปวดหัว
  • หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีแสงจ้า เสียงดัง หรือกลิ่นที่กระตุ้นอาการปวดหัว
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันอาการปวดหัวเนื่องจากขาดน้ำ
  • ประคบอุ่นหรือร้อนบริเวณหลังคอเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว

การรักษาปวดหัวข้างขวาทางการแพทย์

การรักษาปวดหัวข้างขวา

อาการปวดหัวข้างขวาเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่อย่างไรก็ตามทางทีมแพทย์จะรักษาอาการปวดหัวจากสาเหตุหลักๆ ได้แก่ ไมเกรนและอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์

  • ไมเกรน จะใช้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ฯลฯ และยังมียาป้องกันอาการปวดเพื่อป้องกันไม่ให้ปวดหัว เช่น ยาลดความดัน ยากล่อมประสาท
  • อาการปวดหัวคลัสเตอร์ ใช้ยารักษาชนิดออกฤทธิ์เร็ว เช่น การฉีดยาทริปแทนส์ ยาชาเฉพาะจุด การสูดออกซิเจนผ่านหน้ากาก

วิธีป้องกันปวดหัวข้างขวา

ปวดขมับขวา

อาการปวดหัวข้างขวาสามารถบรรเทาหรือป้องกันได้ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

  • งดคาเฟอีน ผงชูรส แอลกอฮอล์
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนมากกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไป
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละ 8 แก้ว
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว
  • หลีกเลี่ยงการมัดผมที่แน่นเกินไป ซึ่งทำให้ปวดหัวได้
  • หลีกเลี่ยงสถานที่มีแสงจ้า เสียงดัง และกลิ่นฉุน
  • พักสายตาจากจอมือถือ จอทีวี อย่างน้อย 20 นาที
  • ทำกิจกรรมที่รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียดและความวิตกกังวล เช่น นั่งสมาธิ โยคะ วาดรูป
  • รับประทานยาแก้ปวด แต่ไม่ควรใช้ยาเกินขนาด เพราะอาจทำให้อาการทรุดลง
  • อาบน้ำร้อนหรือน้ำอุ่นเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว
  • ใช้น้ำมันหอมระเหย เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันยูคาลิปตัส ช่วยบรรเทาอาการปวดหัว

ข้อสรุป

ปวดหัวข้างขวาทุกวัน

อาการปวดหัวข้างขวา อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่อาการที่มักพบได้บ่อยมีดังนี้  ได้แก่ อาการปวดหัวไมเกรน ซึ่งวัยทำงานมักเป็นกันบ่อยโดนเฉพาะผู้ชายที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำจนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน เป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ อาการปวดหัวคลัสเตอร์หรืออาการปวดหัวแบบเป็นๆ หายๆ มักมีอาการปวดตุบๆ บริเวณขมับ

วิธีการบรรเทาก็มีหลากหลายวิธี แต่วิธีที่ได้ผลเร็วที่สุดคือการรับประทานยาแก้ปวด ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดได้ดี แต่อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์และไม่ควรใช้ยาเกินขนาด เพื่อป้องกันอาการทรุด นอกจากนี้ควรยืดเส้นยืดสายบ่อยๆ ไม่ควรนั่งหรือยืนท่าเดิมๆ ออกกำลังกายเป็นประจำและงดอาหารประเภทคาเฟอีน แอลกอฮอล์ ก็ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหัวได้เช่นกัน


หากทำตามขั้นตอนดังกล่าวทั้งหมดแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการปวดหัวได้แม่นยำพร้อมทั้งวิธีรักษาที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดอาการปวดหัวแบบเรื้อรัง

 

ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจาก https://www.migrainethailand.com/

 

 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที