Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 17 ต.ค. 2022 21.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 286616 ครั้ง

รอบรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รู้ก่อน รักษาก่อน บทความที่จะมาเชิญชวนให้นักอ่านทุกคนหันมาดูแลสุขภาพเพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก


ข้อเข่าเสื่อม โรคที่ห้ามไม่ได้ มีวิธีรักษาอย่างไร?

ข้อเข่าเสื่อม

ผู้สูงอายุหลายๆคนมักจะมีอาการ ปวดเข่าบ้าง เข่าบวมบ้างหรืออาจะมีเสียงดังในเข่านั่นบ่งบอกถึงอาการข้อเข่าเสื่อมนั่นเอง ข้อเข่าเสื่อม คือ ภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า เกิดการสึกหลอ เสื่อมลงอย่างช้าๆตามกาลเวลามักมีอาการเสื่อมตามอายุขัย ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้สูงอายุเพศหญิง มากกว่าเพศชาย

 

เนื่องจากผู้หญิงนั้นมักมีการนั่งพับเพียบบ้าง นั่งขัดสมาธิบ้างหรือการถอนสายบัวเพราะเป็นท่าที่ทำให้ข้อเข่านั้นถูกกดพับยิ่งถ้าทำท่าดังกล่าวนานๆบ่อยๆจะทำให้การหมุนเวียนของเลือดไปเลี้ยงข้อเข่าได้ไม่ดี และเมื่อสูงอายุแล้วไม่ได้ชื่นชอบการออกกำลังกายแล้วทำงานหนัก ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ด้วยเช่นกัน วิธีป้องกันหรือรักษาเบื้องต้น คือ ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก การนั่งสมาธิเป็นเวลานานๆ


โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis)

โรคข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข้าเสื่อมอาการปวดที่ข้อเข่ามักเกิดที่บริเวณหลังหัวเข่า ข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการใช้งานส่วนข้อเข่ามาเป็นเวลานาน มักจะพบเห็นได้มากในกลุ่มของผู้สูงอายุ เมื่อกระดูสึกหลอไปหมดแล้วส่วนของกระดูกข้อเข่าจะมาชนกัน ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง และมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ เช่น โรคข้ออักเสบหรือติดเชื้อในข้อเข่านั่นเอง


สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม 

ปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อมอาการนี้มีหลายปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ เช่น

  • อายุที่มากขึ้นของคนเราแน่นอนว่าอวัยวะต่างๆก็ต้องเสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา ข้อเข่า ก็เช่นกันเนื่องจากการใช้ข้อเข่ามาเป็นเวลานานส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมได้
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกระดูกก็มีส่วนเช่นกันในกลุ่มคนที่ออกกำลังกายก็จำทำให้ส่วนข้อเข่าแข็งแรงมีโอกาสเสื่อมช้าลงแต่คนที่ไม่ออกกำลังกายมักข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายเนื่องจากกระดูกข้อเข่าไม่แข็งแรง
  • เพศหญิงจะเกิดอาการข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายกว่าเพศชายเนื่องจากผู้หญิงมักมีการนั่งพับเพียบ หรือถอนสายบัว
  • ผู้ที่มีน้ำหนักมากมักมีโอกาสข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายกว่าผู้ที่น้ำหนักน้อย
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมนั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบหรือนั่งยองๆบ่อยๆ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเสียงที่หัวเข่าได้ที่ "หัวเข่ามีเสียง"


โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดกับใครได้บ้าง

โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดกับใครได้บ้าง

ข้อเข่าเสื่อมในผู้ที่อายุน้อย

  • ผู้ที่เคยได้รับการบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ทั้งจากการออกกำลังกายและอุบัติเหตุ เพราะบางกรณีทำให้ข้อเข่ามีสภาพไม่เหมือนเดิมเป็นเหตุให้ข้อเข่าเสื่อมได้ง่าย
  • ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน น้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์ เพราะน้ำหนักตัวที่มากส่งผลให้ข้อเข่านั้นรับน้ำหนักมากกว่าปกติ
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมชอบยกของหนักๆหรือผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องใช้แรงยกของหนักบ่อยๆ

ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เนื่องจากเมื่อมีอายุมากขึ้นแล้วโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุก็มักจะพบเห็นกันเป็นประจำเพราะว่าอายุที่มากขึ้นก็ทำให้ความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองของกระดูกอ่อนลดลงนั่นเอง


อาการส่งสัญญาณข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อมระยะแรก

ในระยะแรกขอโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นกระดูกอ่อนของผิวข้อจะยังสึกหลอไม่มาก จะเกิดอาการเจ็บข้อเข่าได้เฉพาะช่วงเวลาที่ทำกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อเข่าเยอะๆหรืออาจจะมีอาการในขณะ เดินขึ้นหรือเดินลงบันได นั่งยองๆ นั่งพับเพียบหรือเดินทางไกล ในระยะนี้อาการจะไม่ร้ายแรงมาก ปวดไม่นานก็หายหรือปวดเป็นช่วงๆตามกิจกรรมที่ทำไปและสามารถดีขึ้นเองได้ในช่วงเวลาไม่นาน

ข้อเข่าเสื่อมระยะปานกลาง

ในช่วงระยะกลางนี้ความสึกหลอของกระดูกอ่อนของผิวจะเพิ่มมากขึ้น มีการอักเสบต่อเนื่องในข้อเข่าจะมีอาการปวดเข่าบ่อยขึ้นหรือมีเสียงดังกรอบแกรบในข้อเข่า อาการเจ็บหรือปวดจะมีในช่วงการเดิน ลุกขึ้นยืนหรือยืนเฉยๆได้ ส่วนการทำกิจกรรมที่ใช้ข้อเข่ามากก็จะมีอาการเจ็บปวดมากขึ้น ในระยะนี้อาการปวดหรืออักเสบจะไม่หายเองหรือไม่หายสนิท 

ข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรง

ในระยะรุนแรงนี้กระดูกอ่อนที่สึกหลอลงไปอาจบางจนไม่เหลือแล้ว อาจจะส่งผลให้ ขาโก่ง ข้อเข่าผิดรูป งอเหยียดได้ไม่สุด เดินตัวเอียง อาการเจ็บปวดในระยะรุนแรงนี้ทำให้ทุกการทำกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นการเดิน ยืน หรือขยับเข่าก็จะมีอาการเจ็บปวดทุกครั้งแต่อาจจะไม่มีอาการเจ็บปวดเลยได้เช่นกันหากข้อเข่าติดแข็งมาก เคลื่อนไหวได้น้อย


การวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม

1.การตรวจวินิจฉัยข้อเข่า

  • ส่งตรวจเอกซเรย์ เพื่อทำการหาช่องว่างของกระดูกว่าห่างมากแค่ไหน โดยปกติแพทย์จะใช้การเอกซเรย์เป็น มาตราฐาน แต่ก็อาจมีการสั่ง MRI ในกรณีที่ต้องการภาพของกระดูก เพื่อใช้ทำการวินิจฉัยโรคอื่นๆด้วย
  • การเจาะเลือด ในส่วนนี้จะเป็นการทดสอบหรือแยกแยะสาเหตุอื่นๆออกจากโรคข้อเข่าเสื่อม

 

2.การประเมินความรุนแรง

  • แพทย์จะทำการประเมินคะแนนที่เหมาะสมของระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม

 

3.การรักษาข้อเข่าเสื่อมที่เหมาะสม

  • ข้อเข่าเสื่อม ออกกำลังกาย จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อส่วนเข่าได้ดี กล้ามเนื้อส่วนเข่าจะช่วยแบกน้ำหนักได้มีผลให้เข่าไม่ต้องรับน้ำหนักมากเกินไป
  • การรักษาด้วยยา การรับประทานยาหรือฉีดยา
  • การรักษาทางชีวภาพ
  • การทำกายภาพบำบัด
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

วิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ไม่ต้องผ่าตัด

การรักษาข้อเข่าเสื่อม

การออกกำลังกาย บริหารข้อเข่า

การออกกำลังกายนอกจากช่วยเพิ่มความแข็งแรงของร่างกายแล้วยังช่วยรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้ด้วย โดยช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อส่วนเข่าได้ และกล้ามเนื้อส่วนเข่าก็จะช่วยรับน้ำหนักทำให้เข่าของเราไม่ต้องรับน้ำหนักจนมากเกินไป

การรักษาข้อเข่าเสื่อมโดยการใช้ยา

ข้อเข่าเสื่อมรักษาด้วยการใช้ยาแบบรับประทาน โดยยาที่มักนิยมใช้กัน คือ พาราเซตามอล หรือ อะเซตามิโนเฟน เนื่องจากจะไม่ทำให้เกิดอาการติดยาเป็นยาสามัญประจำบ้านที่หาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป มีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ปวดข้อเข่า ปวดกล้ามเนื้อได้

การรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยยาทา จะมีด้วยกันสองรูปแบบ ครีมเจล หรือ สเปรย์ แบบครีมเจลจะใช้ทาบริเวณผิวหนังด้านนอกข้อเข่าทาเมื่อรู้สึกปวด จะช่วยบรรเทาได้ทันที ส่วนแบบสเปรย์นั้นมีคุณสมบัติเหมือนแบบทาแต่จะไม่ช่วยลดอาการอักเสบหรือรักษาข้อเข่าเสื่อมได้

การทำกายภาพบำบัด

การ Ultrasound therapy จะช่วยลดอาการปวด อาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ รักษาอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ และข้อต่อในชั้นลึก ช่วยในการเร่งกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ โดยจะเพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อ

การใช้ High Power Laser therapy ช่วยให้เกิดการกระตุ้นปลายประสาท ลดอาการปวด อาการอักเสบ โดยตัวเลเซอร์จะมีผลความร้อน ช่วยทำให้หลอดเลือดขยายตัวได้ มีผลในการนำเลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์มากขึ้น ช่วยเร่งกำจัดของเสีย ลดการอักเสบ 

 

ตัวเลเซอร์มีจุดเด่นในการปรับพลังงานของเซลล์ (ATP) จากการกระตุ้นการขนส่งออกซิเจน ไมโตรคอนเดรีย ภายในเซลล์ให้เร็วขึ้น ผลจาก ATP ที่มากขึ้นช่วยให้เซลล์ซ่อมแซมฟื้นฟูได้รวดเร็วมากขึ้น

การรักษาแบบชีวภาพ 

การรักษาแบบชีวภาพ ช่วยป้องกันโรคโดยการนำเอาพลาสมาหรือของเหลวในร่างกายมนุษย์มาใช้ในการรักษาโรคทางกระดูก เช่น ข้อเข่าเสื่อม โดยเป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาข้อเข่าเสื่อมได้ มีส่วนช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมของเซลล์และเนื้อเยื่อที่ฟื้นตัวตามธรรมชาติได้ยาก ทำให้สามารถฟื้นคืนสภาพได้ดีขึ้น


รักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการผ่าตัด

การผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง 

การผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้อง โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้กับผู้ป่วยที่ กระดูกแตก เอ็นข้อขาด เป็นต้น วิธีนี้คือการใช้กล้องขนาดเล็กสอดเข้าไปและเชื่อมต่อสัญญาณกับจอภาพมีส่วนช่วยให้เห็นข้อเข่าได้ชัดเจน

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่นิยมเพราะช่วยลดอาการปวด เพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวได้ ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้มีอาการข้อเข่าเสื่อม

 

  • การถนอมข้อเข่าเทียม
  • ไม่นั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยอง ๆ หรือนั่งไขว่ห้าง ไขว้ขา หากไม่จำเป็น
  • ไม่ควรขึ้นลงบันไดหากไม่จำเป็น
  • ไม่ควรยกของหนัก

การป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม

  • การลดน้ำหนัก เพราะเนื่องจากการเดินนั้นจะทำให้มีแรงกดลงที่เข่าถึง 5 เท่าของน้ำหนักตัว แต่หากวิ่งก็จะเพิ่มเป็น 7-10 เท่า ฉะนั้นการที่น้ำหนักตัวน้อยข้อเข่าก็จะได้รับแรงกดน้อยเช่นเดียวกัน
  • การหลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวเป็นเวลานาน
  • หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดโดยไม่จำเป็นเพราะการขึ้นลงบันไดทำให้มีแรงกด 3 เท่าของน้ำหนักตัว
  • การออกกำลังกายจะช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนข้อเข่าช่วยแบกรับน้ำหนักไว้ส่งผลให้ข้อเข่าไม่ต้องรับน้ำหนักมาก

FAQs ข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม รักษาด้วยตัวเองได้ไหม

ข้อเข่าเสื่อมรักษาได้ไม่ต้องผ่าตัด โดยการรักษาด้วยตนเองได้เบื้องต้น เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การลดน้ำหนัก ไม่ขึ้นลงบันไดโดยไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการยืนหรือการนั่งเป็นเวลานานๆ โดยวิธีเหล่านี้ก็จะเป็นวิธีเบื้องต้นที่ช่วยรักษาหรือลดอาการปวดจากข้อเข่าเสื่อมได้ด้วยตนเอง

อาหารช่วยบำรุงข้อเข่า มีอะไรบ้าง

ข้อเข่าเสื่อมควรบำรุงด้วยอาหาร เช่น

1.ปลา เพราะปลาเป็นหนึ่งในอาการที่มีแคลเซียมจำนวนมากมีส่วนช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง

 

2.นม เพราะแคลเซียมในนมนั้นช่วยในการดูดซึม แถมการดื่มนมเป็นประจำก็ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้

โยเกิร์ต ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกเสื่อมได้ เพราะนอกจากมีแคลเซียมแล้ว ยังมีวิตามินดี แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ซึ่งล้วนแต่เป็นแร่ธาตุที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้กระดูกมีความแข็งแรง

 

3.กล้วย ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกเสื่อม ข้อเข่าเสื่อมได้ เพราะกล้วยมีวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี เหล็ก โปแตสเซียม และ แมกนีเซียม ซึ่งจะช่วยควบคุมการเจริญเติบโต ของโครงสร้างกระดูกได้นั่นเอง

 

4.ถั่วอัลมอนด์ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง อีกทั้งยังช่วย เพิ่มมวลของกระดูกด้วย ซึ่งถั่วอัลมอนด์เหมาะกับผู้ป่วย โรคกระดูกพรุน


ข้อสรุป

สรุปแล้วอย่างที่หลายคนสงสัยว่าข้อเข่าเสื่อมรักษาหายไหม ในปัจจุบันข้อเข่าเสื่อมยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถบรรเทาอาการลงได้ โดยมีจุดมุ่งหมายของการรักษาคือการบรรเทาอาการปวดและทำให้ข้อเข่ากลับมาใช้งานปกติให้ได้มากที่สุดนั่นเอง


 
 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที