Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 17 ต.ค. 2022 21.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 290026 ครั้ง

รอบรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รู้ก่อน รักษาก่อน บทความที่จะมาเชิญชวนให้นักอ่านทุกคนหันมาดูแลสุขภาพเพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก


ฮอร์โมนคนท้อง คืออะไร? ส่งผลอย่างไรต่อร่างกายคุณแม่ตั้งครรภ์?

ฮอร์โมนคนท้อง

ในร่างกายของผู้หญิงประกอบไปด้วยฮอร์โมนหลายตัวที่เป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างปกติ เช่นเดียวกับเมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์ โดยระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายของผู้หญิงจะผลิตฮอร์โมนเฉพาะสำหรับการตั้งครรภ์ หรือที่เรียกกันว่า ฮอร์โมนคนท้อง ซึ่งประกอบไปด้วยฮอร์โมนหลากหลายตัว ฮอร์โมนในหญิงตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง? ไปติดตามกัน

ฮอร์โมนคนท้อง

ฮอร์โมนคนท้องที่ควรรู้

ฮอร์โมนคนท้องเป็นกลุ่มฮอร์โมนที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ โดยมี 2 ฮอร์โมนหลัก ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งมีผลต่อการเติบโตของทารก คนท้อง ฮอร์โมนเปลี่ยน ร่างกายก็เปลี่ยน บางคนแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และมีอารมณ์แปรปรวน เป็นต้น

6 ฮอร์โมนคนท้องที่ควรรู้

1. ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)

ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) คือ ฮอร์โมนเพศหญิงที่ร่างกายสร้างขึ้นมา ทำหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เมื่ออายุมากขึ้นฮอร์โมนนี้ก็จะลดลง

2. ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) คือ ฮอร์โมนเพศหญิงที่ควบคุมการตกไข่, การมีรอบเดือน และการหลั่งของฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มีผลโดยตรงต่อการตั้งครรภ์

3. ฮอร์โมน hCG (Human Chorionic Gonadotropin)

ฮอร์โมน hCG (Human Chorionic Gonadotropin) คือ ฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ผลิตมาจากเซลล์รก มีหน้าที่ช่วยให้ตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูก ฮอร์โมนนี้จะมีเพิ่มมากขึ้น โดยค่า hcg คนท้องจะอยู่ที่ > 25 mIU/mL

4. ฮอร์โมน hPL (Human Placental Lactogen)

ฮอร์โมน hPL (Human Placental Lactogen) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากรก มีหน้าที่ส่งอาหารไปเลี้ยงทารกและกระตุ้นต่อมน้ำนมของคุณแม่

5. ฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin)

ฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ถูกผลิตขึ้นจากต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างน้ำนมและการหลั่งน้ำนม รวมถึงควบคุมการตกไข่ให้เป็นไปอย่างปกติ

6. ฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin)

ฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) ถูกสร้างขึ้นจากต่อมใต้สมอง ควบคุมการทำงานของร่างกาย มักหลั่งออกมาขณะที่คุณแม่คลอดลูก เพื่อให้มีแรงเบ่ง รวมถึงกระตุ้นการสร้างน้ำนมของคุณแม่

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์

ฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์

อารมณ์แปรปรวน

ฮอร์โมนคนท้องส่งผลต่ออารมณ์ คุณแม่จะมีอารมณ์แปรปรวน อาทิ หงุดหงิดง่าย, น้อยใจ และวิตกกังวล เป็นต้น

ร่างกายเปลี่ยนไป

อาทิ น้ำหนักขึ้น คัดเต้านม และเมื่ออายุครรภ์เข้าไตรมาสสองจะเริ่มมีอาการเมื่อยล้า เหนื่อยง่าย เป็นตะคริวที่น่องหรือขา เป็นต้น

อาการแพ้ท้อง

มักเกิดขึ้นช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ โดยจะมีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ เป็นต้น

ค่าฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์

ค่าฮอร์โมนคนท้องจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละตัว โดยกราฟฮอร์โมนจะสูงขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ ดังนี้

- ค่าฮอร์โมนเอสโตรเจน: ฮอร์โมนนี้เกิดจากการสร้างของรก โดยมีค่าอยู่ที่ 2-30 pg/ml

- ค่าฮอร์โมน hCG: จะมีการเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุก 3 วัน ระดับฮอร์โมนจะสูงสุดที่ 8-11 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์จากนั้นจะลดลง

- ค่าฮอร์โมน HLP: ฮอร์โมนนี้สัมพันธ์ต่อภาวะเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ที่ขึ้นได้ถึง 1-14%

สาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลระหว่างตั้งครรภ์

ฮอร์โมนคนท้องที่ไม่สมดุลระหว่างการตั้งครรภ์ เกิดได้จาก

- น้ำหนักตัวของคุณแม่

- ภาวะเบาหวาน

- ตั้งครรภ์แฝด

- ค่า uE3 (Unconjugated estriol) หากค่านี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือว่าปกติ แต่หากนี้ต่ำกว่าปกติ ทารกอาจเสี่ยงอยู่ในกลุ่มดาวน์ซินโดรม

ฮอร์โมนคนท้องไม่สมดุลจะส่งผลอย่างไร

ฮอร์โมนคนท้องไม่สมดุล

ฮอร์โมนคนท้องที่สูงไปก็มีผลเสีย ต่ำไปก็มีผลเสีย ดังนี้

- ค่าฮอร์โมน hCG ต่ำ

เสี่ยงแท้ง หรือตั้งครรภ์นอกมดลูก

- ค่าฮอร์โมน hCG สูง

อาจเกิดการตั้งครรภ์แฝด และตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก

- ค่าฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ

หาก่อนตั้งครรภ์ จะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ แต่หากต่ำระหว่างการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์อาจล้มเหลวหรือแท้งโดยธรรมชาติ

- ค่าฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูง

อาจส่งผลให้ผู้หญิงอ้วน อารมณ์แปรปรวน และเสี่ยงต่อมะเร็งหลายชนิด รวมถึงเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง

วิธีบำรุงเสริมให้ฮอร์โมนสมดุล

วิธีบำรุงเสริมให้ฮอร์โมนสมดุล

ฮอร์โมนคนท้องสามารถปรับให้สมดุลได้ ดังนี้

1. น้ำมะพร้าว

ในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง เสริมสร้างคอลลาเจน และขับสารพิษออกจากร่างกายได้ดี

2. เต้าหู้

อุดมไปด้วยไอโซฟลาโวนเป็นเอสโตรเจนชนิดหนึ่ง มีโปรตีนสูง ดูแลผิวพรรณให้สดใส

3. งา

มีไฟโตเอสโตรเจนสูง อุดมไปด้วยไฟเบอร์ และธาตุเหล็ก ช่วยลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี

4. ลูกพรุน

อุดมไปด้วยไฟโตเอสโตรเจน ไฟเบอร์ ช่วยในเรื่องการขับถ่าย ปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

ข้อสรุป

การตั้งครรภ์มีฮอร์โมนคนท้องที่ประกอบกันมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นส่วนสำคัญทั้งสิ้น ฮอร์โมนที่สูงเกินไปก็มีผลเสีย ต่ำไปคุณแม่เสี่ยงแท้งได้อีก ดังนั้น ระหว่างการตั้งครรภ์คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของตนเอง หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ทันที

 
 
 
 
 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที