Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 17 ต.ค. 2022 21.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 286559 ครั้ง

รอบรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รู้ก่อน รักษาก่อน บทความที่จะมาเชิญชวนให้นักอ่านทุกคนหันมาดูแลสุขภาพเพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก


ทำไมต้องผ่าตัดต้อหิน อันตรายหรือไม่ การดูแลตนเองหลังผ่าตัดต้อหิน

ผ่าตัดต้อหิน

ต้อหิน เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับดวงตา มักเกิดขึ้นกับผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยทองและผู้สูงอายุที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป อาจเกิดจากความดันภายในลูกตาสูงผิดปกติ ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าตนเองกำลังเป็นโรคต้อหิน เนื่องจากไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากภายนอกเลย รู้ตัวอีกทีผู้ป่วยก็มักจะสูญเสียการมองเห็นไปเกือบทั้งหมดแล้ว

ผู้ป่วยบางรายรับเข้าการรักษาผ่าตัดต้อหิน การกำจัดต้นตอของต้อหินที่กดทับเส้นใยประสาทตาจากการับแรงดันโลหิตที่มีระดับความสูงผิดปกติไปได้ ก็ไม่สามารถฟื้นฟูให้ดวงตากลับมามองเห็นเหมือนคนปกติ แต่สำหรับการผ่าตัดต้อหินแบบใหม่ สามารถทำให้ผู้ป่วยพักฟื้นสภาพเลนส์ตาได้อย่างรวดเร็วและมีความปลอดภัย

ผ่าตัดต้อหิน (Glaucoma Surgery)

ผ่าตัดต้อหิน (Glaucoma Surgery) คือ ภาวะที่มีความดันลูกตาสูงจากความผิดปกติของการระบายน้ำภายในลูกตา ทำให้มีภาวะแรงดันสูงผิดปกติ ส่งผลทำให้เส้นเลือดส่วนที่หล่อเลี้ยงขั้วประสาทตาหลากหลายเส้นที่ทำหน้าที่ส่งภาพการมองเห็นไปยังเส้นประสาทส่วนสมอง โดนกดทบจนขาดเลือดและถูกทำลายในที่สุด การวินิจฉัยโรคต้อหินต้องทำการตรวจขั้วประสาทตา การวัดความดันตาและการตรวจลานสายตาโดยจักษุแพทย์เท่านั้น

รู้จักโรคต้อหิน (Glaucoma)

โรคต้อหิน ส่วนใหญ่มักพบกับบุคคลอายุ 45 ปีเป็นต้นไป โรคของตระกูลต้อที่อันตรายและรุนแรงมากกว่า ต้อลม ต้อเนื้อ และต้อกระจก เพราะส่วนของเส้นประสาทตา (Optic nerve) ที่ถูกแรงดันกดทับไปแล้ว สำหรับบางคนอาจไม่สามารถฟื้นฟูให้กับมาทำงานได้เหมือนเดิมเป็นปกติได้ แม้จะได้รับการผ่าตัดต้อหินก็ตาม แต่การผ่าตัดสามารถช่วยยับยั้งสภาพการแพร่กระจายของตัวต้อหินได้

 


ทำไมต้องผ่าตัดต้อหิน

ทำไมต้องผ่าตัดต้อหิน สาเหตุหลักมาจากการเสื่อมของร่างกายเอง ความดันในลูกตาที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะเพิ่มสูงขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อขั้วประสาทตาถูกทำลายจะมีผลทำให้สูญเสียลานสายตา 

หากปล่อยไว้นานจะทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด ซึ่งเป็นการสูญเสียถาวรรักษาให้กลับคืนมามองเห็นไม่ได้ โดยอาการที่พบสำคัญมีแทบในทุกรายก็คือ มีความดันในลูกตาเพิ่มสูงขึ้น เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้ขั้วประสาทตาถูกทำลายได้ง่าย 

วิธีการผ่าตัดต้อหิน

ผ่าตัดต้อหิน

วิธีการผ่าตัดต้อหินมีหลากหลายวิธี ดังนี้

1. Trabeculectomy

การเจาะรูระบายน้ำภายในลูกตา หรือ Trabeculectomy คือ การผ่าตัดต้อหินโดยเจาะรูขนาดเล็กในลูกตาเพื่อเพิ่มช่องทางการระบายของเหลวออก ทำให้ความดันในดวงตาลดลง

2. Aqueous Shunt Surgery

การผ่าตัดต้อหินใส่ท่อ เพื่อลดความดันลูกตา หรือ Aqueous Shunt Surgery การใส่ท่อระบายเพื่อลดความดันลูกตา ใช้สำหรับกรณีที่การผ่าตัดแบบแรกไม่ได้ผล หรือมีความรุนแรงมาก

นอกจาก การผ่าตัดต้อหินแบบใหม่ ด้วยเลเซอร์ สามารถช่วยลดความดันในตา และระบายของเหลวของจากดวงตาได้ แต่การจะใช้วิธีรักษาแบบไหนนั้น ต้องผ่านการตรวจและประเมินอาการเบื้องต้นโดยจักษุแพทย์ เพื่อลดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยอาจเผชิญได้หลังการผ่าตัด

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด

  • ล้างหน้า สระผม ทำความสะอาดร่างกาย ให้สะอาดก่อนวันผ่าตัดต้อหิน
  • งดการแต่งหน้าทุกบริเวณของใบหน้าในวันที่ทำการผ่าตัด
  • เตรียมตัวเข้าโรงพยาบาลอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงสำหรับการผ่าผ่าตัดต้อหินเพื่อทำการฆ่าเชื่อและได้รับการหยอดยาชาเพื่อหดม่านตาก่อนเข้าสู่ห้องปฎิบัติ
  • ผู้ผ่าตัดจะได้รับประทานยาแก้ปวดและยาลดความวิตกกังวลในขณะทำการผ่าตัดต้อหิน
  • รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย ในรายที่ต้องดมยาสลบให้งดอาหารและน้ำ
  • นำยาที่รับประทานประจำมาด้วย เช่น ยาโรคความดัน เบาหวาน โรคหัวใจ และรับประทานยาได้ตามปกติ
  • ถ้ารับประทานยาห้ามการแข็งตัวของเลือด ต้องแจ้งให้แพทย์รับทราบ เพื่อแพทย์จะได้ให้งดยาก่อนผ่าตัด 7-10 วัน
  • วันผ่าตัดต้อหิน ควรมีญาติหรือติดตามพามาด้วย

วิธีดูแลตนเองหลังผ่าตัดต้อหิน

ผ่าตัดต้อหิน

ข้อควรปฎิบัติ

ข้อไม่ควรปฎิบัติ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดหลังผ่าตัดต้อหิน

ภาวะแทรกซ้อน หลังผ่าตัดต้อหินอาจมีโอกาสสูงที่ทำให้การมองเห็นแย่ลงหลังจากการผ่าตัดได้ ดังนี้

ทางเลือกอื่นในการรักษาต้อหิน

การรักษาด้วยการผ่าตัดต้อหินแบบ เลเซอร์ชนิด Yag Iridotomy หรือ Selective Laser Trabeculoplasty (SLT) ‎ การใช้เลเซอร์มักใช้ร่วมกับการใช้ยา ใช้เวลาทำประมาณ 10 – 15 นาที โดยไม่ต้องนอนพักที่โรงพยาบาล

การรักษาโดยใช้ยาลดความดันของอาการต้อหินโดยเฉพาะที่ทำการจัดยาโดย จักษุแพทย์เฉพาะทางที่ให้คำข้อเสนอแนะให้กับผู้ป่วยแต่ละรายให้อย่างเหมาะสม

 


คำถามที่พบบ่อย

ผ่าตัดต้อหิน อันตรายไหม

หลายคนสงสัยว่าการผ่าตัดต้อหินอันตรายไหม ไม่เป็นอันตรายต่อดวงตาของผู้ป่วย เพราะในขณะที่ทำการผ่าตัดแพทย์จะทำการใช้ยาหยอดยาชา และให้ทานยาแก้วิตกกังวลให้กับผู้ป่วยเสมอ และในปัจจุบันก็มีการพัฒนา ใช้เทคโนโลยีต่างๆเพื่อลดอัตราการติดเชื้อภายในดวงตาได้น้อยที่สุด

ผ่าตัดต้อหิน พักฟื้นกี่วัน

การผ่าตัดต้อหิน พักฟื้นกี่วัน การผ่าตัดต้อหินจะใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นประมาณ 1-2 สัปดาห์ ทางทีมจักษุแพทย์จะทำการนัดเพื่อตรวจเช็คสภาพดวงตาหลังจากได้รับการผ่าตัดแล้ว และหากผู้ป่วยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์จะช่วยให้ผู้ป่วยพักฟื้นดวงตาให้หายเป็นปกติได้เร็วขึ้น

 


ข้อสรุป

ผู้ที่มีอายุมากกว่า  45 ปี มีปัจจัยเสี่ยงของโรคต้อหิน เป็นโรคที่ทำให้เกิดการสูญเสียสายตาแบบถาวรที่พบได้บ่อย สามารถควบคุมรักษาเพื่อป้องกันภาวะตาบอดได้ การผ่าตัดต้อหิน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยยับยั้งความดันในลูกตาทำลายส่วนขั้วประสาทตาในการส่งภาพไปยังส่วนประสาทตาของผู้ป่วยที่มีระยะอาการรุนแรง

หากรู้ว่าเริ่มมีอาการควรรีบเข้าทำการรักษาตั้งแต่ระยะแรก เพราะบางคนไม่ยอมเข้ารับการรักษาแต่ใช้วิธีการนวดตา การใช้วิตามิน ยาบำรุงหรือการใช้สมุนไพรไม่ใช่วิธีการรักษาต้อหิน เคยมีผู้ป่วยหลายรายที่ตาบอดจากการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว การรักษาต้อหินจึงควรได้รับการดูแลรักษาโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

 


 


 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที