Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 17 ต.ค. 2022 21.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 286708 ครั้ง

รอบรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รู้ก่อน รักษาก่อน บทความที่จะมาเชิญชวนให้นักอ่านทุกคนหันมาดูแลสุขภาพเพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก


สายตาพร่ามัว มองไม่ชัด สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

สายตามัว

คุณเคยเป็นมั้ย เวลามอง สิ่งต่างๆ มองดูมัวๆ สายตามัว มองไม่ค่อยชัด ต้องจ้องแล้วจ้องอีก กว่าจะมองเห็น ปัจจุบันนี้ปัญหาสายตากลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย อาการตามัวส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงานที่ต้องจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

การเล่นโทรศัพท์เป็นเวลานาน การอ่านหนังสือในที่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอ หรือแม้กระทั่งแสงแดด ก็สามารถทำร้ายดวงตาของคุณได้เช่นกัน หากไม่รีบเข้ารับการรักษาสายตาพร่ามัว หาวิธีแก้ไข ซึ่งอาจส่งผลทำให้สูญเสียการมองเห็น

ตามัว (Blurry Vision)

ตามัว (Blurred Vision) คือ อาการที่ตามองเห็นไม่ชัดเจน หรือเห็นสิ่งต่างๆเป็นภาพเบลอๆ อาจสามารถเกิดขึ้นได้กับดวงตาเราพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง มีความผิดปกติของส่วนต่างๆในลูกตา เช่น กระจกตา จอประสาทตา เส้นประสาทตา

ตามัวเกิดจากสาเหตุใด

อาการตามัว เกิดได้จากสารพัดความเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ตั้งแต่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา จนถึงการติดเชื้อ หรือความเสื่อมตามวัย ปัญหาสายตาพร่ามัวเกิดจากหลากหลายสาเหตุ มีดังนี้

1. สายตามัวจากปัญหาค่าสายตา

ภาวะสายตาสั้น เป็นความผิดปกติทางค่าสายตาที่พบบ่อยที่สุด และเกิดได้แม้กระทั่งในคนอายุน้อย เพราะยุคนี้คนรุ่นใหม่ มีเทคโนโลยีที่ใช้เพียงนิ้วมือสัมผัสกับจออยู่ตลอดเวลา 

หรือแม้แต่การเล่นโทรศัพท์มากตามัว พฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันเหล่านี้ ก็ส่งผลกระทบกับดวงตาของเราได้ ทำให้เริ่มมองวัตถุที่อยู่ในระยะไกลไม่ค่อยชัด

2. สายตามัวจากโรคบางชนิด

สาเหตุสายตาพร่ามัว สามารถเกิดได้ทั้งโรคทางตา และโรคที่ไม่เกี่ยวกับตา เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง  โรคต้อหิน โรคต้อกระจก โรคเยื่อบุตาอักเสบ ไมเกรน ไซนัส เป็นต้น

3. สายตามัวจากปัจจัยอื่น

สายตามัวที่มาจากปัจจัยอื่น เช่น อาการบาดเจ็บที่ตา, ตาแห้ง,การตั้งครรภ์ , ผลจากการทำเลสิค ,การสวมใส่คอนเทคเลนส์

ลักษณะอาการตามัว

ลักษณะอาการตามัวโดยทั่วไป มีดังนี้

- ใช้กล้ามเนื้อตาเพ่งตลอด ทำเป็นนิสัยจนตาเบลอ ไม่โฟกัส ดวงตาไม่สามารถปรับรูม่านตาในการมองเห็น

- ปวดบริเวณศีรษะมาก ทำให้การควบคุมสายตามัว มองไม่ชัด

- เมื่อต้องมองแสงกลางวัน หรือแสงสว่างจากสิ่งของอย่าง ดวงไฟ เกิดภาวะตาไม่สู้แสง รู้สึกไม่สบายตา ทำให้ตามัวมองไกลไม่ชัด

- เกิดอาการระคายเคือง เส้นเลือดฝอยสีแดงขึ้นบริเวณนัยน์ตาขาว

- วุ้นในตาเสื่อมสภาพ นำเป็นเหตุเข้าไปสู่สายตามัวข้างเดียว

จะเห็นได้ว่า อาการตาพร่ามัว เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ตามัวเป็นสัญญาณอันตรายของโรคร้ายบางอย่าง ที่ทำให้เกิดภาวะพิการทางสายตาตามมาได้

 


อาการตามัวที่ควรเข้าพบแพทย์

อาการตามัวแบบไหน ที่ควรรีบเข้าพบแพทย์ เช่น ปวดศีรษะขณะใช้สายตาในการโฟกัสจุด ๆ หนึ่งเป็นเวลานาน เกิดภาวะตามัวเหมือนมีหมอกขาวชั้นบางขุ่นบดบัง นัยน์ตาขาว จนเริ่มเป็นสีแดงก่ำ

หากใครที่กำลังประสบกับปัญหาตามั่วข้างต้น หรือตาเบลอมองไม่ชัดข้างเดียว คุณไม่ควรปล่อยอาการตามัวไว้นาน อาจส่งผลทำให้อาการพร่ามัวสะสม จนนำไปสู่โรคร้ายแรงอย่าง โรคต้อกระจกได้ในไม่ช้า

 


การวินิจฉัยตามัวโดยจักษุแพทย์

การวินิจฉัยตามัวโดยจักษุแพทย์ แพทย์จะทำการตรวจสอบดวงตา โดยใช้เครื่องมือ 4 ประเภทหลัก ได้แก่

การตรวจสายตา

แพทย์จะใช้เครื่องมือเป็นแบบทดสอบเพื่อวัดผลความแม่นยำของการมองเห็น ไม่ว่าจะเป็น การทำแบบทดสอบมองเห็นสี (Color vision) การทดสอบลานสายตา (Visual field)  และการตรวจสายตา แบบอ่านแผนภูมิในระยะไกล (Snellen chart)

การตรวจวัดความดันลูกตา

การวัดปริมาณของเหลวภายในลูกเบ้าตา เพื่อทำการหาดัชนีนี้สามารถวัดค่าในการคาดคะเนโรคเกี่ยวกับดวงตาอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดสภาวะตามัวได้

การตรวจตาด้วย Slit-lamp

ตรวจสอบความผิดปกติของการทำงานของเลือดที่นำไปหล่อเลี้ยงในบริเวณจอประสาทตา เพื่อค้นหาโรคแทรกซ้อนที่มีผลค้างเคียงในบริเวณดวงตาให้เกิดอาการตามัว

การตรวจเลือด

ตรวจสอบความผิดปกติของการทำงานของเลือดที่นำไปหล่อเลี้ยงในบริเวณจอประสาทตา

 


แนวทางการรักษาสายตามัว

บางคนสายตามัวมาจากภาวะสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง หรือสายตายาวตามอายุ สามารถรักษาได้โดยการสวมแว่นตา แต่กรณีที่สายตามัวที่เกิดไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยเพียง การสวมแว่นตาแนวทางการรักษา มีดังนี้

1.ยาแก้สายตาพร่ามัว

อาหารเสริมสำหรับบำรุงสายตามัว จะเป็นพวกสารสกัดจากธรรมชาติที่มีส่วนผสมหลัก ๆ จากลูทีน ซีแซนทีน และบิลเบอร์รี่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารในการบำรุงตา

2.อาหารบำรุงตา

การรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วย omega-3 สามารถช่วยบำรุงสายตา เช่น

- ปลา เช่น ปลาแซลมอน ปลาแม็คเคอเรล และปลาทูน่า หรือปลาในน้ำจืด อย่าง ปลาช่อน ปลาสวาย และปลาดุก

- ผัก เช่น ผักใบเขียวอย่างอะโวคาโด บรอคโคลี่ ดอกกะหล่ำ แครอท ผักขม หรือการหาโปรตีนจากเมล็ดถั่วอย่าง เมล็ดวอลนัท ถั่วเหลือง และเต้าหู้

- ผลไม้ เช่น ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม กีวี่ และลูกพลับ

 

3.บริหารกล้ามเนื้อบริเวณดวงตา

การบริหารส่วนของกล้ามเนื้อบริเวณดวงตาและลูกตา เป็นการออกกำลังกายบนดวงตาให้มีความหยืดหยุ่น สามารถทำได้ทุกวันของก่อนนอนและตื่นนอนตอนเช้าเป็นกิจวัตรประจำวัน

4.น้ำตาเทียม (Artificial Tears)

การเติมเต็มความชุ่มชื่นให้กับสภาพดวงตาแห้ง และผู้ป่วยที่ประสบปัญหาจากการผ่าตัดต้อกระจก หรือการทำเลสิค

 


แนะนำวิธีป้องกันสายตามัว

วิธีป้องกันสายตาพร่ามัว วิธีแก้ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง มีดังนี้

- ล้างมือให้สะอาดก่อนสวมใส่คอนเทคเลนส์อยู่เสมอ เพื่อป้องกันสิ่งสกปรก

- สวมใส่แว่นกันแดด หรือกางร่มในบริเวณที่มีแสงแดดแรง

- ตรวจวัดสายตาอย่างสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้งต่อปี

- สวมใส่แว่นตากรองแสงสีฟ้า ในขณะอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์จอสัมผัสทุกชนิด


ข้อสรุป

อาการสายตาพร่ามัว สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่เราสามารถชะลออาการด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเราได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหารบำรุงสายตา สวมใส่แว่นกันแดดเสมอ เวลาออกไปข้างนอก

และควรเข้ารับการตรวจสายตาเป็นประจำทุกปี หากคุณรู้สึกว่าอาการตามัว ยังไม่ดีขึ้น ควรรีบเข้าพบแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุให้ชัดเจน


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที