Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 17 ต.ค. 2022 21.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 289786 ครั้ง

รอบรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รู้ก่อน รักษาก่อน บทความที่จะมาเชิญชวนให้นักอ่านทุกคนหันมาดูแลสุขภาพเพื่อตัวเองและคนที่คุณรัก


อาการตาล้า ตาเบลอ ปัญหาใกล้ตัวที่ไม่ควรปล่อยไว้

ปัญหาที่คนในยุคปัจจุบันจะมีโอกาสพบได้มากนั่นก็คืออาการตาล้าค่ะ ด้วยชีวิตประจำวันของคนยุคนี้มีความจำเป็นต้องใช้สายตามาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตในการทำงาน การใช้โทรศัพท์มือถือ การอ่านหนังสือ ซึ่งเมื่อทำสิ่งเหล่านี้หลาย ๆ คนก็จะจดจ่อโดยที่ไม่มีการพักสายตาเลยจนกว่าจะทำสิ่งเหล่านั้นจนเสร็จ นั่นส่งผลให้เกิดอาการตาล้า ปวดตาขึ้นมา ถึงอาการตาล้าจะไม่ใช่อาการร้ายแรงแต่ก็ส่งผลต่อการใช้ชีวิตค่อนข้างมาก และหากปล่อยให้มีอาการปวดตา ตาล้าขึ้นบ่อย ๆ และไม่หาทางแก้ไข อาจนำไปสู่ปัญหาทางตาที่ร้ายแรงขึ้นมาได้ 

 

ตาล้า

 

อาการตาล้า (Asthenopia) 

ตาล้า หรือ Asthenopia คือชื่อของอาการที่ดวงตาเราเกิดความผิดปกติจากการใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยไม่มีการพักสายตาเลย อาการตาล้าที่เกิดขึ้นได้แก่ปวดตา ตาเบลอ ตาแห้ง แสบตา เป็นต้น ซึ่งอาการตาล้ามักจะหายได้เองหากมีการพักการใช้งานดวงตาระยะหนึ่ง สิ่งที่เป็นตัวเร่งอาการตาล้าเกิดจากหลายอย่าง เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ท อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ รวมถึงการอ่านหนังสือและการโฟกัสสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดเวลาค่ะ

อาการตาล้า มีอะไรบ้าง

อาการแบบไหนถึงจะเรียกว่าตาล้า ? หากมีอาการใดอาการหนึ่งอาจหมายความว่าคุณมีอาการตาล้าได้ ดังนี้

อาการตาล้าเหล่านี้สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมาเช่น ปวดศีรษะ ปวดต้นคอ เวียนศีรษะ หรือเป็นไมเกรนขึ้นได้

อาการตาล้าเกิดจากสาเหตุใด

อาการตาล้าเกิดจากหลาย ๆ สาเหตุดังต่อไปนี้

สายตาล้าจากการใช้งานคอมพิวเตอร์

โดยอาการตาล้าเกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ อย่างแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนนับว่าเป็นสาเหตุหลัก ๆ ของคนยุคปัจจุบันเลยค่ะ เวลาเราใช้อุปกรณ์เหล่านี้เราจะโฟกัสกับมันมาก ๆ จนเผลอเพ่งสายตาโดยไม่รู้ตัว ทำให้กล้ามเนื้อลูกตาถูกใช้งานอย่างหนัก และเกิดอาการกล้ามเนื้อตาล้าขึ้นมาได้ นอกจากกล้ามเนื้อตาล้าแล้วอาจทำให้เกิดอาการตาแห้ง แสบตาได้ง่ายจากการกระพริบตาน้อยลงอีกด้วยค่ะ

อยู่ในที่แสงสว่างไม่เหมาะสม

ไม่ว่าจะการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันดวงตาแจกแสงสว่าง หรือการใช้สายตาในที่มืดหรือแสงสว่างไม่พอก็ทำให้ตาล้าได้เช่นกัน กรณีที่แสงมากเกินไปจะทำให้รูม่านตาต้องหดตัวและขยายตัวเพื่อควบคุมปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่ดวงตา ดังนั้นกล้ามเนื้อตาจึงทำงานหนัก และในส่วนกรณีที่แสงไม่เพียงพอก็ทำให้ตาต้องเพ่งเพื่อปรับโฟกัส และทำให้การกระพริบตาของเราน้อยลงกว่าปกติ จึงเป็นสาเหตุของตาล้าและตาแห้งได้

ผู้ที่มีค่าสายตาไม่ปกติ

ผู้ที่มีปัญหาทางสายตาไม่ว่าสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงมักจะเกิดอาการตาล้าได้บ่อย ๆ อันเนื่องมาจากการหักเหแสงที่เข้าสู่ดวงตาไม่เป็นไปตามปกติ แสงที่เข้าสู่ดวงตาจึงไม่ตกลงบนจอประสาทตา ทำให้มองเห็นภาพได้ไม่ชัดเจน ตาเบลอ ภาพซ้อนขึ้น เพื่อให้สามารถมองภาพได้ชัดขึ้นดวงตาเราจะพยายามปรับโฟกัสภาพ โดยการเพ่งสายตา หรือหรี่ตา โดยการกระทำเหล่านี้มักจะทำให้เกิดอาการปวดเบ้าตา ตาล้าขึ้นมาได้นั่นเอง

กิจกรรมต่าง ๆ ที่มีการใช้สายตามาก

ไม่ว่าจะเป็นการขับรถ การอ่านหนังสือ การทำงานฝีมือ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้มักจะทำให้เราต้องโฟกัสกับกิจกรรมนั้นมาก ๆ เป็นเวลานาน ทำให้ดวงตาเรามีการใช้เพ่งเพื่อใช้สายตาระยะใกล้ ส่งผลให้กล้ามเนื้อตาล้า และเกิดอาการตาล้า ปวดกระบอกตาขึ้น

 

การวินิจฉัยอาการตาล้า

อาการตาล้าเป็นอาการที่สามารถพบและสังเกตได้ด้วยตนเองจากพฤติกรรมและกิจกรรมที่กระทำไปก่อนหน้าที่จะเกิดอาการตาล้าค่ะ 

การไปพบแพทย์ด้วยอาการตาล้า แพทย์จะสามารถหาสาเหตุของอาการอย่างการสอบถามถึงอาการที่เป็นในตอนนี้ และพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดอาการนั้น ๆ รวมไปถึงการตรวจการมองเห็น หรือตรวจค่าสายตาเพิ่มเติม เนื่องจากอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการตาล้าได้เช่นกัน

 

ตาล้า อาการ

 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากอาการตาล้า

 

อาการตาล้าที่หลาย ๆ คนมักมองข้ามแต่หากปล่อยไว้อาจนำมาสู่อาการหรือโรคที่ร้ายแรงขึ้นมาได้ ดังนี้

โรคทางตา

เพราะอาการตาล้าอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงสุขภาพตาที่อ่อนแอลง หากยังกระทำพฤติกรรมเดิม ๆ เพิกเฉยต่ออาการตาล้า ไม่รักษาหรือแก้ไขก็อาจนำมาสู่โรคทางตาขึ้น เช่น โรคต้อลม โรคจอประสาทตาเสื่อม วุ้นลูกตาเสื่อม กระจกตาผิดปกติ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดตาบอดขึ้นมาได้

ปัญหาสุขภาพโดยรวม

อาการตาล้าส่งผลให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง จึงทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ปวดหัวคิ้ว ปวดขมับขึ้นได้ โดยอาการเหล่านี้มักสร้างความทรมานในการใช้ชีวิตประจำวันได้ค่ะ

แนวทางการรักษาและบรรเทาอาการตาล้า

เมื่อทราบแล้วว่าตนเองมีอาการตาล้า จะสามารถรักษาหรือบรรเทาอาการตาล้าได้อย่างไร สามารถปฏิบัติตามได้ดังนี้

พักสายตา

เมื่อเริ่มมีอาการตาล้า ควรพักการใช้สายตาเพื่อบรรเทาอาการตาล้า และเป็นการคลายกล้ามเนื้อตาและส่วนอื่นที่กำลังหดเกร็ง 

ใช้น้ำตาเทียม

น้ำตาเทียมจะช่วยให้ดวงตาชุ่มชื้นขึ้น สบายดวงตาได้มากขึ้น จึงบรรเทาอาการตาล้าและอาการตาแห้ง ระคายเคืองดวงตาได้

ประคบเย็น

หากมีอาการตาล้าและอาการปวดตา สามารถประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการกล้ามเนื้อตาที่ตึงเครียดลงได้

 

หากอาการตาล้ารุนแรงขึ้นจากการที่กล้ามเนื้อบริเวณดวงตาตึงเครียดและเกร็งมาก ไม่ว่าจะพักสายตา หรือการใช้น้ำตาเทียมและประคบเย็นก็ไม่ได้ผล อาจต้องพบจักษุแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการตาล้า และในบางรายแพทย์อาจจ่ายตาหยอดตาเพื่อคลายกล้ามเนื้อตา หรือตรวจสุขภาพตาเพิ่มเติมว่ามีความผิดปกติหรือไม่

 

ตาล้า รักษา

 

วิธีป้องกันอาการตาล้า

กฎ 20-20-20

เวลาอ่านหนังสือ หรือใช้คอมพิวเตอร์จะเป็นการใช้สายตาระยะใกล้ติดต่อกันเป็นเวลานาน และยังทำให้กล้ามเนื้อตาหดเกร็ง ส่งผลให้อาจเกิดปัญหาทางสายตาในอนาคต ดังนั้นเพื่อให้กล้ามเนื้อตาได้ผ่อนคลายบ้าง ทุก ๆ การใช้งานดวงตาเป็นเวลา 20 นาที ควรพักสายตาโดยการมองไกลประมาณ 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที

แสงสว่างอย่างเพียงพอ

เมื่อแสงสว่างเพียงพอ ทำให้รูม่านตาไม่ต้องพยายามปรับหดตัวและขยายตัวบ่อย ๆ เพื่อปรับแสงให้เข้าสู่ดวงตา และโฟกัสภาพ กล้ามเนื้อตาจึงไม่ต้องทำงานหนักจนนำไปสู่อาการตาล้า

ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม

เช่นการนั่งทำงานบนโต๊ะ ควรให้อยู่ในระดับพอดีสายตาไม่ใกล้ไม่ไกลจากสายตามากเกินไปจนต้องยื่นคอและเพ่งสายตาเพื่อให้มองเห็น

ใช้ตัวช่วยด้วยน้ำตาเทียม

หากเริ่มมีอาการตาแห้งไม่ว่าจะเกิดจากการกระพริบตาน้อย หรือตาโดนลมมากไป การเพิ่มน้ำตาจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้รู้สึกสบายตาขึ้นและป้องกันการบาดเจ็บกับกระจกตาได้ด้วย ดังนั้นควรหยอดน้ำตาเทียมเพื่อรักษาความชุ่มชื้นแก่ดวงตาทันที

ออกกำลังกายดวงตา

เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบดวงตาแข็งแรง ส่งผลให้เกิดอาการตาล้า ปวดตาน้อยลง ควรจะบริหารดวงตาด้วยการกรอดตาไปมาจากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง ให้ทำติดต่อกัน 5-10 ครั้ง

ปกป้องดวงตาด้วยแว่นตา

เมื่อต้องอยู่ในที่ลมแรงหรืออยู่ที่กลางแจ้ง ควรปกป้องดวงตาด้วยการใส่แว่นตากันลมหรือแว่นตากันแดดทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ลมและแสงได้ทำให้ดวงตาเสียความชุ่มชื้น จนเกิดอาการตาแห้ง ตาล้าขึ้นได้

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

เพราะในอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอาหารบำรุงสายตา มักจะอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี ซึ่งช่วยบำรุงสายตาและการมองเห็น นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงของอาการตาล้า และโรคตาอื่น ๆ ได้อีกด้วย

 

 

ข้อสรุป

 

อาการตาล้า อาการยอดฮิตของคนยุคปัจจุบันซึ่งเกิดจากการใช้สายตาติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่พักสายตา โดยสาเหตุหลักและเป็นส่วนใหญ่ของผู้คนที่มีอาการตาล้าเกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างสมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน ซึ่งอาการตาล้าจะทำให้เกิดการปวดตา ตาแห้ง แสบตา นอกจากนี้ยังทำให้ปวดหัว ปวดต้นคอจากการเกร็งของกล้ามเนื้อ ถึงจะเป็นอาการที่ไม่ร้ายแรงและสามารถหายได้เองหากมีการพักผ่อนและหยุดใช้สายตา แต่หากยังปล่อยให้มีอาการตาล้าบ่อย ๆ อาจนำไปสู่ปัญหาโรคทางตาที่ร้ายแรงขึ้นได้ ดังนั้นเราควรปกป้องและป้องกันดวงตาไม่ให้เกิดอาการตาล้าจนนำไปสู่โรคอื่น ๆ ตามมาค่ะ

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที