Rina

ผู้เขียน : Rina

อัพเดท: 18 ม.ค. 2022 16.05 น. บทความนี้มีผู้ชม: 745 ครั้ง

ถ้าพูดถึงหนึ่งสิ่งที่สำคัญเมื่อคุณประกอบธุรกิจ ที่มีการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือสินค้าเองนั้น ก็คงหนีไม่พ้นการจดสิทธิบัตรสินค้า เพื่อเป็นการแสดงความเป็นเจ้าของทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา หรือความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์นั้นๆ หากคุณคือเจ้าของธุรกิจรายใหม่ที่กำลังทำความเข้าใจกับรายละเอียดและขั้นตอนของการจดสิทธิบัตรสินค้าอยู่นั้น ไม่ต้องกังวลไป! วันนี้เราได้รวบรวมขั้นตอน และเอกสารสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในการจดสิทธิบัตรสินค้า ว่าแต่จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย!


เจ้าของกิจการควรรู้! รวม 4 ขั้นตอนจดสิทธิบัตรสินค้า

ถ้าพูดถึงหนึ่งสิ่งที่สำคัญเมื่อคุณประกอบธุรกิจ ที่มีการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือสินค้าเองนั้น ก็คงหนีไม่พ้นการจดสิทธิบัตรสินค้า เพื่อเป็นการแสดงความเป็นเจ้าของทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา หรือความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์นั้นๆ หากคุณคือเจ้าของธุรกิจรายใหม่ที่กำลังทำความเข้าใจกับรายละเอียดและขั้นตอนของการจดสิทธิบัตรสินค้าอยู่นั้น ไม่ต้องกังวลไป! วันนี้เราได้รวบรวมขั้นตอน และเอกสารสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในการจดสิทธิบัตรสินค้า ว่าแต่จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย!

















 

ขั้นตอนการยื่นจดสิทธิบัตรสินค้า

  1. ยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตร ณ ส่วนงานบริหารงานจดทะเบียน กระทรวงพาณิยช์ หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ที่มีผู้ประกอบการมีภูมิลำเนาอยู่ โดยมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 250 บาท

  2. สามารถส่งคำขอทางไปรษณีย์ได้ สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกเดินทางไปยื่นเอกสารเอง โดยลงทะเบียนถึงเจ้าหน้าที่ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม ผ่านธนาณัติ ระบุการสั่งจ่ายไปยัง กรมทรัพย์สินทางปัญญา

  3. หากมีการแก้ไข เจ้าหน้าที่จะส่งเอกสารกลับมา เพื่อขอรายละเอียดหรือข้อมูลเพิ่มเติม โดยผู้ประกอบการจะมีระยะเวลา 90 วันในการแก้ไข หากคุณส่งเอกสารกลับไปช้าเกินกว่ากำหนด จะถือว่าสละสิทธิ์

  4. หากการยื่นคำขอจดทะเบียนผ่านแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ประกอบการมาชำระค่าธรรมเนียมการยื่นจดสิทธิบัตรอยู่ที่ 500 บาท และเจ้าหน้าที่จะออกสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการ

 

เอกสารที่ใช้ยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรสินค้า

  1. แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตร แบบ สป/สพ/อสป/001-ก

  2. คำอธิบายเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์? (ถ้ามี) เพื่อเป็นการบรรยายถึงองค์ประกอบต่างๆ ของผลิตภัณฑ์? ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง ลวดลาย หรือลักษณะจุดเด่นต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มรายละ

เอียดให้แก่ตัวผลิตภัณฑ์มากขึ้น โดยจะจำกัดจำนวนคำอยู่ที่ 100 คำ

  1. ข้อถือสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์? เพื่อเป็นการระบุและแสดงว่า คุณต้องการได้รับความคุ้มครองในตัวผลิตภัณฑ์ในส่วนไหน หรือต้องการให้กฎหมายคุ้มครองในส่วนใดของผลิตภัณฑ์บ้าง

  2. รูปถ่ายผลิตภัณฑ์ 7 รูป ประกอบด้วย รูปถ่ายด้านหน้า, รูปด้านหลัง, รูปด้านบน, รูปด้านล่าง, รูปด้านซ้าย, รูปด้านขวา และรูป 3 มิติ ในขนาดเท่ากระดาษ A4

 

สุดท้ายนี้ หากกคุณคือเจ้าของกิจการที่มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ของคุณแบบใหม่ และไม่ซ้ำใคร เราขอแนะนำให้คุณจดทะเบียนสิทธิบัตรสินค้า เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของคุณจะไม่โดนลอกเลียนแบบ และสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าคุณคือเจ้าแรกที่ผลิตสินค้าชนิดนี้อีกด้วย


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที