ภาคห้า ผู้นำ บทที่ ๖ ความเข้าใจเกี่ยวกับกลยุทธ์
๑๘ พฤษภาคม ๒๐๐๗ (๑๐.๑๐)
หมายเหตุบทความ
วิกฤติหลายด้านของประเทศชาติของเราในขณะนี้นั้น อาจจะไปสู่จุดที่สร้างความเสียหาย ได้มากกว่านี้อีก
ความท้าทายมากที่สุดประการหนึ่งคือ ชาติของเราจะพัฒนาให้มีผู้นำในทุกระดับ ที่รู้รอบ รู้ทัน
สามารถรับมือกับระดับของการเปลี่ยนแปลง ในยุคนี้ได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชาตินั้น
ความล้มเหลวของผู้นำนั้น มิอาจชดเชยด้วยความสำเร็จอื่นๆได้เลย
...หมื่นลี้ย่อมมีก้าวแรก สิ่งที่เราทำในขณะนี้ อาจเป็นก้าวเล็กๆก้าวแรก สำหรับก้าวอื่นๆต่อไป...
๑ กลยุทธ์คือ ความสามารถในการปรับตัวเพื่อ Survive แบบ end-to-end
การอยู่ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ผันผวน แปรปวนสูงนั้น
แน่นอนว่าเงื่อนไขต่างๆ รอบตัวเราย่อมแปรเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
การพัฒนาการมอง การเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องธรรมดา ได้นั้น
จำเป็นอย่างยิ่งยวด หาไม่แล้ว เราคงเป็นทุกข์เรื่อยไป
เมื่อเงื่อนไขต่างๆ เปลี่ยนไป วิธีการที่เคยได้ผล มักไม่ค่อยได้ผล
หากเรายึดติด และไม่เข้าใจ เราคงเป็นทุกข์เรื่อยไป เช่นกัน
เมื่อเราเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว เราจึงพัฒนาเพื่อปรับตัวอย่างเหมาะสม อย่างได้ผลได้
๒ สิ่งมีชีวิตที่ Fittest ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่ Strongest แต่เป็น Most Adaptive ยังเป็นจริงเสมอ
ธรรมชาติเป็นตัวอย่าง เป็นบทเรียน ที่ดีเสมอ
ไดโนเสาร์ทั้งหลาย แม้จะมีขนาดใหญ่ที่สุด แข็งแรงที่สุด
ก็ไม่อาจอยู่รอดได้ หากไม่สามารถพัฒนาการปรับตัวได้ อย่างเหมาะสม และทันท่วงที
แต่เราไม่อาจโทษ ไดโนเสาร์ได้
เพราะว่าไม่เคยมีใครบอกมันว่า จะมียุคน้ำแข็งเกิดขึ้น
และตลอดช่วงชีวิตของมัน มันก็ไม่เคยเห็นยุคน้ำแข็งมาก่อน แม้แต่น้อย
และไม่เคยมีใครบอกมันว่า ต้องพัฒนาการปรับตัวอย่างไร เพื่อรับมือให้ได้ ให้ทันเวลา
คนหนุ่มสาวก็เช่นกัน ยังสามารถทนงตน เย่อหยิ่ง ลำพองอยู่ได้
ก็เพราะยังไม่รู้ถึงผลลัพธ์ที่แท้จริง ในสิ่งที่เราทำลงไป
๓ กลยุทธ์ที่ดี เป็นเหมือนระบบจีพีเอส (Global Position System)
ตัวเรา หากชีวิตขาดกลยุทธ์ที่ดี ย่อมพาตัวเองให้ตกอยู่ในอันตรายได้ง่าย
ผู้นำ หากชีวิตขาดกลยุทธ์ที่ดี ย่อมพากลุ่มก้อนให้ตกอยู่ในอันตรายได้ง่าย
ผู้นำประเทศ หากชีวิตขาดกลยุทธ์ที่ดี ย่อมพาประเทศชาติ และประชาชนให้ตกอยู่ในอันตรายได้ง่าย เช่นกัน...
สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกท่านมีกำลังกาย กำลังใจ ที่ดียิ่ง ในการทั้งปวง
ด้วยความยินดี เต็มใจ เปิดกว้าง เป็นเกียรติ อย่างยิ่ง ต่อความรู้สึก ความคิดเห็น ของทุกท่าน
และขอเชิญทุกท่าน แวะเยี่ยมชมทั้ง ๔๘ บทความ ได้ที่
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cxoasia&group=1
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที