การรู้ว่า ตั้งชื่อแบรนด์ยังไงให้ผ่าน อย. จะช่วยให้คุณย่นระยะเวลาการยื่นเรื่องขอจดทะเบียนอาหารเสริมให้สั้นลง ช่วยให้สามารถได้ใบอนุญาตไว อันจะสามารถวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ทันที จึงเป็นเรื่องที่เจ้าของอาหารเสริมทุกคนควรรู้ โดยเทคนิคการตั้งชื่อแบรนด์ มีดังต่อไปนี้
1. ตั้งชื่อที่แปลโดย Dictionary แล้วไม่มีความหมาย
เมื่ออย. ไม่อนุญาต ให้ตั้งชื่อ ที่พอนำมาแปลแล้ว มีความหมาย ก็ควรพยายามประกอบคำขึ้นมาใหม่ ไม่ก็ตั้งชื่อที่แปลโดย Dictionary แล้วไม่มีความหมาย มาเป็นชื่อผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เช่น TATINA , Mokonia , Valensia ฯลฯ
2. มีความหมาย แต่ไม่สื่อถึงสรรพคุณ
หากชื่อนั้น ๆ สามารถแปลความหมายได้ แต่ไม่สื่อถึงสรรพคุณใด ๆ ของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนั้น ก็สามารถนำมาตั้งชื่อแบรนด์ได้ ตัวอย่างเข่น รอยัลเยลลี่ ถึงแม้ว่า รอยัล (Royal) จะแปลว่า เกี่ยวกับเจ้า ดีเลิศ เยี่ยม แต่เนื่องจากไม่สื่อถึงสรรพคุณใด ๆ ของผลิตภัณฑ์ ที่เป็นนมผึ้ง ซึ่งผลิตจากผึ้งงานเพื่อใช้เป็นอาหารของนางพญาและตัวอ่อนของผึ้ง มีสรรพคุณ ช่วยชะลอการแก่ก่อนวัย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงมีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด ทำให้สามารถนำมาเป็นชื่อของอาหารเสริมได้
3. ชื่อบุคคล หรือ ชื่อบริษัท
สามารถนำเอาชื่อ ตัวย่อ ทั้งของบุคคลและบริษัท มาใช้ในการตั้งชื่อได้ โดยต้องไม่สื่อความหมายขัดตามกฎเกณณ์การตั้งชื่อเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น
-
Collagen B โดยอธิบายว่า “B” มาจากชื่อเล่นของลูกค้าผู้จัดจำหน่าย โดยต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมเซ็นรับรองกำกับว่า “ขอรับรองว่าชื่อ บี เป็นชื่อเล่นของข้าพเจ้านาย/นาง/นางสาว…………………………………………เอกสารนี้ใช้เพื่อยื่นขอ อย. ชื่อผลิตภัณฑ์ Collagen B เท่านั้น”
-
ZEN Collagen โดยอธิบายคำว่า “Z” ย่อมาจากชื่อบริษัท ZEN Biotech Co.,Ltd. โดยต้องแนบสำเนาหนังสือรับรองบริษัท พร้อมเซ็นรับรอง
-
KB โดยอธิบายคำว่า “KB” มาจากอักษรในภาษาอังกฤษ
ตั้งชื่อแบรนด์ยังไงให้ปัง
พอรู้ถึงหลักการตั้งชื่อให้ผ่าน อย. แล้วก็ลองมาดูในแง่การตลาดกันบ้าง เพราะถ้าตั้งชื่อให้ถูกกฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่ชื่อไม่เก๋ ไม่ปัง ก็อาจทำให้สร้างยอดขายไม่ได้ อันจะทำให้ธุรกิจอาหารเสริมของคุณไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งชื่อผลิตภัณฑ์นั้นถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้น จะตั้งชื่อแบรนด์ให้ปัง ควรทำตามขั้นตอนดังนี้
1. ตั้งชื่อไม่เกิน 3 พยางค์
ถือเป็นหลักการตลาดเลยก็ว่าได้ ที่ชื่อแบรนด์ไม่ว่าจะเล็กใหญ่ ต้องตั้งชื่อไม่เกิน 3 พยางค์ เพราะจำนวนเท่านี้ จะทำให้ผู้คนจดจำชื่อแบรนด์ของเราได้ดี ตัวอย่างชื่อแบรนด์ดัง ๆ ที่มี 3 พยางค์ เช่น Starbuck Mcdonald KFC ฯลฯ ดังนั้น ถ้าอยากให้ชื่อแบรนด์อาหารเสริมคุณ จำง่ายแล้วละก็ ควรพยายามตั้งชื่อแบรนด์ไม่เกิน 3 พยางค์นะ
2. ตั้งชื่อแบรนด์ให้มีเรื่องราว
การตั้งชื่อแบรนด์ให้มีเรื่องราว จะช่วยสร้างตัวตนของแบรนด์ หรือที่เรียกว่า Personal Branding ให้แข็งแกร่ง และมีจุดเด่น ซึ่งจะกลายเป็นจุดขายของผลิตภัณฑ์ของคุณ ดังนั้น หากชื่อแบรนด์สามารถบ่งบอกถึงที่มา เรื่องราวการผลิต เพื่อแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้ ก็มีโอกาสสูง ที่จะกลายเป็นแบรนด์ที่ใคร ๆ ก็จดจำ และยิ่งถูกนำไปใช้ในการสื่อสารการตลาด จะช่วยให้ลูกค้าจดจำสินค้าแบรนด์อาหารเสริมของคุณได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
3. ไม่ตั้งชื่อคล้ายกับแบรนด์อื่น
มีหลายผลิตภัณฑ์ไม่น้อย ที่ตั้งชื่อคล้ายกับผลิตภัณฑ์ดังที่มีอยู่ในตลาด เพราะอยากให้คนจดจำง่าย ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว อาจกลายเป็นข้อเสีย ที่อาจทำให้อาหารเสริมของคุณขายไม่ออก เพราะจะถูกมองว่าเป็นของเลียนแบบนั่นเอง ทางที่ดีจึงควรมั่นใจในแนวทางของตนเอง ทั้งชื่อแบรนด์ และการทำการตลาด เชื่อว่าหากอาหารเสริมของคุณเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดี ทานแล้วดีต่อสุขภาพจริง ๆ คนก็จะจดจำ แล้วบอกกันปากต่อปาก จนทำให้ยอดขายของผลิตภัณฑ์คุณสูงขึ้นได้อย่างแน่นอน
การตั้งชื่อแบรนด์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญหนึ่งในการผลิตอาหารเสริมเพื่อวางจำหน่าย ซึ่งหากตั้งชื่อได้ถูกต้องตามที่ อย. กำหนด แถมยังจำง่าย เรียกได้ติดปาก อีกแล้วละก็ มีโอกาสสูงที่จะต่อยอด ทำการตลาด จนประสบความสำเร็จได้ ดังนั้น จึงเป็นองค์ความรู้หนึ่งที่ผู้ประกอบการและนักธุรกิจควรให้ความสำคัญ หากคิดอยากทำธุรกิจอาหารเสริม