ด้วยคอนเซปต์ที่ว่าอาหารทุกจานหากมีซอสถั่วเหลืองเพิ่มเข้าไปอีกนิดหน่อย แม้กระทั่งของหวานจะทำให้รสชาติดีขึ้น คือแนวคิดที่ Kikkoman ยักษ์ใหญ่ด้านเครื่องปรุงอาหารญี่ปุ่นพุ่งเป้าไปยังตลาดอินเดีย เพื่อหวังให้ผู้คนจากประเทศนี้หันมาใช้เครื่องปรุงจากญี่ปุ่นเป็นส่วนผสมของแกงกะหรี่ ของหวาน และทุก ๆ เมนูที่พวกเขาทำ
แต่กับการโน้มน้าวใจผู้คนกว่า 1.3 ล้านคนให้มีการเพิ่มเครื่องปรุงที่ชาวเอเชียตะวันออกนิยมใช้กับเมนูอย่างบัตเตอร์ชิคเก้น และซาโมซ่า คงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่อีกมุมมองพวกเขาก็เชื่อว่ามันคงเป็นเรื่องง่ายกว่าเมื่อครั้งที่แบรนด์ตัดสินใจเข้าไปเปิดตัวในอเมริกาตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1960 แน่ ๆ
Harry Hakuei Kosato ตัวแทนของ Kikkoman ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า “เมื่อครั้งที่เรานำเข้าไปยังสหรัฐฯ ผู้คนคิดว่าเราขายน้ำที่ทำจากแมลงเพราะมันมีสีดำ”
แต่สำหรับวันนี้สินค้าของพวกเขากลับมีอยู่ทั่วไปในครัวเรือนของสหรัฐฯ ซึ่งคำนวณออกมาเป็นรายได้ถึงครึ่งหนึ่งของบริษัทราว 4.4 พันล้านเหรียญ นี่จึงเป็นสิ่งที่จุดประกายให้พวกเขาหวังจะนำเอาประสบการณ์และความคุ้มค่าที่ได้รับมาต่อยอดอีกครั้งผ่านตลาดของอินเดีย
ส่วนหนึ่งที่ทำให้แบรนด์ Kikkoman ประสบความสำเร็จเกิดจากความนิยมของอาหารญี่ปุ่นมีเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมสำหรับผู้คนฝั่งตะวันตกตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1980 ทว่าเมื่อมองถึงตลาดอินเดียในเวลานี้ทางบริษัทเองกำลังเลือกใช้แนวทางที่แตกต่างกันออกไป เหตุเพราะชาวอินเดียจำนวนไม่น้อยทานอาหารมังสวิรัติ
“มันไม่ใช่การพาให้ทุกคนไปกินซูชิ เราต้องการให้ซอสถั่วเหลืองของเรากลายเป็นซอสมะเขือเทศของอินเดีย” Kosato กล่าวเสริม
พวกเขาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการย้ายตลาดซอสสู่การเป็นเครื่องปรุงรสที่ปรับให้เหมาะกับเมนูอาหารได้ไม่รู้จบจะดูดีมีอนาคตกับประเทศที่นวัตกรรมอาหารเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอาหารแบบสตรีทฟู๊ด
ตัวอย่างที่เห็นง่าย ๆ เช่น Mumbai's grilled Bombay Sandwich นี่คืออาหารหลักที่พบเห็นได้ทั่วไป มีลักษณะคล้ายขนมปังปิ้งสไตล์อังกฤษทาเนย ไส้ด้านในประกอบไปด้วยมันฝรั่งต้ม หัวหอม มะเขือเทศ บีทรูท ชัทนีย์ และผักชี โรยหน้าด้วย Sev ซึ่งเป็นขนมกรอบพื้นเมืองของอินเดีย นี่จึงอาจเป็นอีกความน่าสนใจที่พ่อค้าร้านอาหารบางคนเริ่มหันมาใช้ซอสถั่วเหลืองในเมนูของตนเองมากขึ้น เพื่อเพิ่มความกลมกล่อมให้กับรสชาติอาหารก่อนที่ Kikkoman จะสนใจเข้ามาเปิดตลาดอย่างจริงจัง
ขณะที่มีภัตตาคารอาหารบางแห่งได้หันมาใช้ซอสถั่วเหลืองสำหรับปรุงอาหารอินเดียหลายประเภทมากขึ้นตั้งแต่ 6 ปีก่อนหน้า เช่น เมนูข้าวหมก ซาโมซ่า ไปจนถึงเมนูที่ทำจากเนื้อแกะ จึงอาจบอกได้ว่าอนาคตของ Kikkoman กับตลาดอินเดียก็พอมองเห็นความสำเร็จอยู่เหมือนกัน
จากตัวอย่างเคสนี้ของ Kikkoman จะเห็นได้ว่าตัวแบรนด์มีการวิเคราะห์ตลาดและเข้าใจจุดเด่นของสินค้า และความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้เป็นอย่างดี เพราะการวิเคราะห์ตลาดที่ดี แบรนด์จะต้องรู้เขารู้เรา รู้ว่าแบรนด์เราเด่นตรงไหน และช่องว่างในตลาดมีอะไรบ้าง หากใครสนใจศึกษาเกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาดเพิ่มเติม ลองเข้าไปดูที่ https://hardcoreceo.co/
นอกจากการวิเคราะห์ตลาดแล้ว แบรนด์จะต้องวิเคราะห์ไปถึงอุตสาหกรรมนั้น ๆ ว่ามีขนาดเท่าไหร่ มีความต้องการแค่ไหน โดยอาจดู Market Value และ Market Volume ประกอบกันด้วย เพื่อให้การลงทุนได้รับผลตอบแทนสูงสุด และเป็นประโยชน์กับแบรนด์ในระยะยาว
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที