BKKwriter

ผู้เขียน : BKKwriter

อัพเดท: 16 ธ.ค. 2021 12.11 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1358 ครั้ง

โบท็อกซ์อีกทางเลือกสำหรับชาวออฟฟิศซินโดรม


แก้คอเกร็ง ลดปวดบ่า คลายตึงไหล่ โบท็อกซ์ช่วยได้!

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน ที่ชาวออฟฟิศไม่อยากฮิตติดเทรนด์นี้สักเท่าไหร่ ด้วยพฤติกรรมที่ต้องนั่งท่าเดิมซ้ำๆ ประกอบกับโต๊ะทำงานที่มีดีไซน์ไม่เอื้อต่อท่านั่งที่เหมาะสม ต้องยกไหล่ขึ้น หรือต้องก้มขณะทำงานจนเป็นสาเหตุของอาการคอเกร็ง การเสียดสีของมัดกล้ามเนื้อซ้ำๆทำให้จุดนั้นเกิดการอักเสบและกลายเป็นผังพืดยึดเกร็ง ก่อให้เกิดอาการปวด ตึง บ่าแข็งจับตัวเป็นก้อน ถ้าปล่อยไว้นานจะทำให้ส่งกระทบกับกระดูกและเส้นประสาทเกี่ยวเนื่องต่อกันเป็นทอดอย่าง ตาพร่า หูอื้อ วิงเวียนศีรษะ

 

มาดูกันว่าคุณมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ที่อาจเสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมหรือไม่?

 


 

1.นั่งทำงานท่าเดิมติดต่อกัน 4 - 6 ชั่วโมงต่อวัน

2.นั่งทำงานที่โต๊ะที่ไม่ได้ออกแบบมารองรับสรีระร่างกาย เช่น โต๊ะสูงหรือต่ำเกิน เก้าอี้ที่แข็งจำกัดการเคลื่อนไหว

3.นั่งหลังค่อม ห่อไหล่ คอยื่น

4.เริ่มปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง บ่อยครั้งที่เริ่มวิงเวียนศีรษะและหูอื้อ 

5.อาการปวดเมื่อย อ่อนเพลีย เริ่มกระทบกับชีวิตประจำวัน

หากคุณมีอาการดังกล่าว นั่นหมายถึงคุณมีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมนั่นเองค่ะ 

 

โรคออฟฟิศซินโดรมสามารถทำการรักษาได้หลากหลายวิธี เช่น นวดคลายเส้น ทำกายภาพบำบัด ฝังเข็ม หรือแม้กระทั่งการฉีดโบท็อกซ์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่หลายคนอาจไม่รู้มาก่อน การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยโบท็อกซ์นั้นทำอย่างไรเราจะพามารู้จักกันค่ะ

 


การฉีดโบท็อกซ์ (Botox) หรือสารโบทูลินั่มทอกซินเข้าไปที่กล้ามเนื้อ เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณนั้น โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักจะรู้จักการฉีดโบท็อกซ์ที่ใบหน้าในการปรับรูปหน้าให้เรียวสวยดูมีมิติ หรือการฉีดเพื่อยกคิ้วให้ดูหน้าเด็กอ่อนกว่าวัย กำจัดรอยเหี่ยวย่น นอกจากนี้เรายังสามารถใช้โบท็อกซ์ที่บริเวณกล้ามเนื้อคอ บ่าที่เป็นก้อน และไหล่ตึง ที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยการทานยาแก้ปวดเพียงอย่างเดียว เพราะการทานยาเป็นการรักษาปัญหาที่ปลายเหตุ  โบท็อกซ์จะเข้ามาช่วยบรรเทาปัญหากล้ามเนื้อที่มีความเครียดสะสม การเกร็งตัวจากการทำงานให้คลายตัวลง ลดปัญหาไหล่กว้าง เสริมคอให้ดูระหงษ์สวยงาม รวมถึงจัดการอาการออฟฟิศซินโดรมให้อยู่หมัดนั่นเองค่ะ โดยผลการรักษาจะคงอยู่ประมาณ 4 - 6 เดือน ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจมีการนัดมาทำซ้ำเพื่อคงความต่อเนื่องของผลลัพธ์


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที