Ballerina

ผู้เขียน : Ballerina

อัพเดท: 13 ธ.ค. 2021 12.01 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4550 ครั้ง

คอนเดนซิ่งยูนิต Condensing Unit คืออะไร รู้จักกับอุปกรณ์ในระบบทำความเย็น


คอนเดนซิ่งยูนิต Condensing Unit คืออะไร รู้จักกับอุปกรณ์ในระบบทำความเย็น

เกือบทุกบ้าน หรือทุกออฟฟิสจะต้องมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เพราะสภาพอากาศในปัจจุบันค่อนข้างร้อน ฉะนั้นเครื่องปรับอากาศจึงมีความจำเป็นอย่างมากซึ่งเมื่อทำการติดเครื่องปรับอากาศไว้ภายในบ้านแล้ว ทุกคนอาจสงสัยว่า เครื่องรูปร่างสี่เหลี่ยม มีพัดลมอยู่ข้างในซึ่งถูกติดตั้งไว้ภายนอกของบ้านหรือออฟฟิสคืออะไร ? โดยเครื่องนั้นมีชื่อว่า คอนเดนซิ่งยูนิต (Condensing Unit) ซึ่งเครื่องคอนเดนซิ่งยูนิตราคาจะมีความแตกต่างกันตามขนาดและการเลือกใช้งาน ในบทความนี้ผู้เขียนจะนำทุกคนมารู้จักกับคอนเดนซิ่งยูนิต (Condensing Unit) มีไว้ทำไม มีหน้าที่อะไร?

 

 

คอนเดนซิ่งยูนิต (Condensing Unit) คืออะไร ทำหน้าที่อะไร

คอนเดนซิ่งยูนิต คือ ตู้สี่เหลี่ยมที่ถูกติดตั้งภายนอกอาคารซึ่งข้างในจะมีพัดลมระบายความร้อนเป็นส่วนประกอบนึงของเครื่องคอนเดนซิ่งยูนิต หน้าที่ของคอนเดนซิ่งยูนิตก็คือการช่วยระบายความร้อนของสารทำความเย็น เพราะเมื่อเครื่องปรับอากาศภายในห้องมีการทำความเย็น อุณหภูมิของสารทำความเย็นก็จะถูกทำให้สูงขึ้น โดยชุดคอนเดนซิ่งยูนิตได้ถูกสร้างออกมาหลายรูปแบบแต่การนำไปใช้งานจะขึ้นอยู่กับการออกแบบเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบที่สำคัญของคอนเดนซิ่งยูนิต ดังนั้นชุด condensing unit ราคาจึงแตกต่างกัน

 

 

คอนเดนซิ่งยูนิตการทำงานเป็นยังไง ระบบระบายความร้อนอย่างไร

คอนเดนซิ่งยูนิต (condensing unit) จะทำให้ความร้อนที่อยู่ในน้ำยาแอร์ถูกระบายออกเพื่อที่น้ำยาแอร์จะถูกกลั่นตัวกลายเป็นของเหลว โดยคอนเดนซิ่งยูนิตระบายความร้อนอย่างไร สามารถตอบได้ว่ามีการระบายความร้อน 3 แบบดังนี้
 
  1. การระบายความร้อนด้วยอากาศ (air cooled condenser)
  2. การระบายความร้อนด้วยน้ำ (water cooled condenser)
  3. การระบายความร้อนด้วยน้ำและอากาศ (evaporative condenser)

 

 

ส่วนประกอบของคอนเดนซิ่งยูนิต ประกอบด้วยอะไรบ้าง

 

คอมเพรสเซอร์ 

มีหน้าที่อัดน้ำยาแอร์ให้มีแรงดันสูง เพื่อทำปฏิกิริยากับระบบการทำความเย็นของแอร์
 

แผงคอยล์ร้อน 

มีหน้าที่เปลี่ยนสถานะของน้ำยาที่อยู่ในรูปแบบของไอซึ่งมีอุณหภูมิและความดันที่สูงให้กลายเป็นของเหลว โดยมีน้ำหรืออากาศ หรือทั้งสองอย่างนี้เป็นตัวช่วยระบายความร้อนออกจากคอนเดนเซอร์ได้ในทันทีซึ่งความดันยังคงอยู่เท่าเดิม
 

พัดลม 

มีหน้าที่ระบายความร้อนออกจากคอนเดนซิ่งยูนิต
 

โครง 

มีหน้าที่ป้องกันและปกปิดส่วนประกอบภายในชุดคอนเดนซิ่งยูนิต เพื่อไม่ให้มีแสงแดดเข้า หรือมีน้ำฝนเข้า
 

อุปกรณ์มาตรฐาน 

1.ออยเซพพาเรเตอร์ (Oil Separator)
มีหน้าที่ดักจับน้ำมันคอมเพรสเซอร์ซึ่งถูกอัดติดกับน้ำยาแอร์ให้ออกจากกัน
 
2.ถังพักสารทำความเย็น (Liquid Receiver)
มีหน้าที่รับน้ำยาเหลวจากคอนเดนเซอร์ให้ส่งไปทำอิแวปโปเรเตอร์ได้อย่างต่อเนื่อง
 
3.อุปกรณ์กรองและเก็บความชื้น (Filter Drier)
มีหน้าที่กักเก็บความชื้นซึ่งอาจปนมากับน้ำยาแอร์และคัดกรองสิ่งสกปรก
 
 
 

คอนเดนซิ่งยูนิตมีกี่แบบ

1. แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ ( Air cooled condensing unit )

คอนเดนเซอร์แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ หรือ Air cooled condensing unit เมื่ออากาศไหลผ่านจะมีการระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น ซึ่งคอยล์ร้อนมีลักษณะเป็นท่อทองแดงรูปตัวยูซึ่งถูกสอดไว้ในแผ่นครีบอลูมิเนียมเพื่อทำให้พื้นผิวในการถ่ายเทความร้อนมีเพิ่มมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันคอยล์ร้อนท่อทองแดงได้ถูกพัฒนาขึ้นกลายเป็น คอยล์อลูมิเนียม ซึ่งสามารถระบายความร้อนได้ดีขึ้น โดยทั่วไปชุดคอนเดนซิ่งยูนิตแบบการระบายความร้อนด้วยอากาศนิยมใช้ในเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดเล็ก หรือตู้เย็น ตู้แช่
 

2. แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ( Water cooled condensing unit )

คอนเดนเซอร์แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ หรือ Water cooled condensing unit ซึ่งจะใช้น้ำเป็นตัวกลางระบายความร้อนจากคอนเดนเซอร์ โดยชุดคอนเดนซิ่งยูนิตประเภทนี้มักถูกนำมาใข้ในระบบทำความเย็นขนาดใหญ่ หรือเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่
 
 
 

การติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต

ก่อนทำการติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต (condensing unit) ควรคำนึงถึงสิ่งดังต่อไปนี้
 
เลือกติดตั้งบริเวณพื้นที่ที่สามารถระบายความร้อนได้สะดวก
ควรทำการเว้นระยะห่างจากกำแพงมาจนถึงด้านหลังของเครื่องไม่น้อยกว่า 10 ซม.และควรเว้นระยะด้านหน้าเครื่องไม่น้อยกว่า 70 ซม.
หลีกเลี่ยงบริเวณที่อาจโดนฝนสาดใส่
จุดที่ทำการติดตั้งควรมีโครงสร้างที่แข็งแรงหรือเสาที่สามารถรับน้ำหนักของตัวเครื่องได้
ไม่ติดตั้งในพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดการติดไฟ เพราะถ้าเกิดการรั่วน้ำยาแอร์จะติดไฟได้ง่าย
 
 

วิธีการดูแลรักษาและทำความสะอาดคอนเดนซิ่งยูนิต

1. ทำความสะอาด condensing unit ด้วยการใช้น้ำฉีดล้างทำความสะอาด 6 เดือนต่อ 1 ครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำความร้อนจากในห้องออกไปสู่อากาศภายนอกได้
2. ต้องมีการตรวจเช็คสภาพคอนเดนซิ่งยูนิตทุก ๆ 6 เดือน และใช้อัดจาระบีเพื่อทำความหล่อลื่นอย่างสม่ำเสมอ
3. ทำการซ่อมแซมหากฉนวนท่อน้ำยาที่ต่อระหว่างคอนเดนซิ่งยูนิตมีการฉีกขาด
 
 

2pt3q ร้านรับผลิตคอนเดนซิ่งยูนิต

บริษัท 2 พีที.จำกัด เป็นบริษัทรับผลิตคอนเดนซิ่งยูนิตและมีสินค้าอย่างอื่นจำหน่ายอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเย็น ในรูปแบบ Shell and tube หรือเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเย็นด้วยอากาศ ประเภทโครงคอนเดนซิ่ง และฟินคอร์ยก็มีเช่นกัน สำหรับผู้ที่กำลังมองร้านจำหน่ายคอนเดนซิ่งยูนิตที่มีคุณภาพและได้มาตราฐานที่ 2pt3q จะไม่ทำให้คุณผิดหวังอย่างแน่นอน
 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที