ศึกษาเรื่องใหม่และคิดนอกกรอบที่คนทำธุรกิจควรให้ความสำคัญ
ในช่วงที่เกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจมาพร้อมกับวิกฤตโรคระบาดที่ส่งผลกระทบหลายเท่ากับทั้งนักธุรกิจทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมไปถึง SMEs แม้กระทั่งแพล็ตฟอร์มออนไลน์ที่ได้ชื่อว่าเป็นแพล็ตฟอร์มที่ตอบโจทย์การทำธุรกิจในโลกดิจิตอล ก็ยังกระทบต่อทั้งจำนวนการสั่งซื้อที่มีน้อยลง เนื่องมาจากว่า เศรษฐกิจที่แย่ลงและต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าสองสามปีถึงจะกลับมาปกติได้ ยิ่งไปกว่านั้น การท่องเที่ยวที่แทบว่าจะเป็นปัจจัยหลักของการนำเม็ดเงินต่างๆเข้ามายังประเทศไทย ก็ต้องหยุดชะงัก เนื่องมาจากวิกฤติขาดแคลนนักท่องเที่ยว ที่ไม่สามารถเดินทางไปยังต่างประเทศได้
สิ่งที่นักธุรกิจหลายๆคนหาแนวทางในการแก้ปัญหานี้คือ ศึกษาลู่ทางและความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจให้แข็งแกร่งขึ้น พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักธุรกิจหลากหลายสาขาเพื่อแลกเปลี่ยนแนวความคิดและปรับกลยุทธ์ และสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ การมีที่ปรึกษาที่ดีในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจ และรวมไปถึงการลองทำสิ่งใหม่ๆอย่างการศึกษาเกี่ยวกับ ip rights protection เพื่อต่อยอดทางธุรกิจว่าสามารถดำเนินได้ในทิศทางใด และนั่นคือการคิดนอกกรอบ ซึ่งเว็บไซต์ tkpark ได้แชร์ไว้ว่า การคิดนอกกรอบนั้นพูดง่ายแต่ทำยาก จึงต้องหมั่นฝึกฝน คนที่คิดนอกกรอบนั้นมิใช่พวกจินตนาการเพ้อฝัน แต่เป็นคนที่สามารถใช้ความคิดเชิงตรรกะเหตุผลกับความเข้าใจเรื่องอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างสมดุลหรือไม่ให้น้ำหนักเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่งมากจนเกินไป จุดมุ่งหมายของการคิดนอกกรอบคือการแสวงหาวิธีการหรือผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขสิ่งเดิมให้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นหรือมีคุณภาพสูงขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย ตอบโจทย์องค์กรและสังคม มีงานเขียนและการบรรยายต่างกรรมต่างวาระที่เอ่ยถึงวิธีการคิดนอกกรอบ ซึ่งอาจสรุปแบบกระชับได้โดย กล้าแตกต่าง ไม่กลัวล้มเหลว มองเห็นการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มในอนาคตคือโอกาส ไม่ใช่ปัญหา คิดบวกและสนุกกับการแสวงหาความเป็นไปได้จากความท้าทายใหม่ๆ ฝึกคิดสร้างสรรค์ การคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบเกือบจะเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน หากไม่มีความคิดสร้างสรรค์ การคิดนอกกรอบก็เกิดขึ้นได้ยาก ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการคิดที่ฝึกฝนได้ หาใช่พรสวรรค์ รู้กว้างและรู้ลึก ฝึกการคิดแบบรอบด้านมองหลายมุม ไม่ยึดติดการคิดเพียงด้านเดียว ฝึกฝนการตั้งคำถามและหาคำตอบ ไม่เดินย่ำซ้ำรอยความสำเร็จเดิม ด้วยความเชื่อว่าโครงการหรือการพัฒนาใดๆ ย่อมมีช่องว่างที่สามารถทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้เสมอ รู้เท่าทันเทคโนโลยี ให้เทคโนโลยีสนับสนุนประสิทธิภาพการทำงานและพัฒนาคุณภาพคน ฉะนั้นจึงต้องรู้จักคนและเข้าใจงานที่ทำก่อนจึงค่อยเลือกเทคโนโลยี อย่าเลือกใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดเพียงเพราะกลัวไม่ทันสมัย ซึ่งนั่นไม่ใช่การรู้เท่าทัน แต่เป็นความทันโลกแค่เปลือก ขณะที่แก่นหรือเนื้อในกลวงเปล่า การรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนอกจากช่วยให้ไม่ตกเป็นทาสของเทคโนโลยีแล้ว ยังเป็นเชื้อไฟที่ดีของการคิดนอกกรอบ
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที