Tawan

ผู้เขียน : Tawan

อัพเดท: 22 พ.ย. 2021 16.57 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1075 ครั้ง

?โรคแพนิค? หรือ Panic Disorder เป็นอาการป่วยทางจิตเวชที่เริ่มมีมาให้ได้ยินบ่อยขึ้นไม่แพ้ความเจ็บป่วยทางจิตเวชโรคอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า หรือโรคไบโพราลาร์ แล้วอาการแบบไหนที่รุนแรงถึงขั้นเรียกได้ว่า ?ป่วย? หรือมีแนวโน้มที่จะป่วย และต้องได้รับการบำบัดรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ สินมั่นคงประกันสุขภาพ จะพาไปทำความรู้จักกับ ?โรคแพนิค?


โรคแพนิค วิตกแค่ไหนถึงเรียกได้ว่า ?ป่วย?

“โรคแพนิค” หรือ Panic Disorder เป็นอาการป่วยทางจิตเวชที่เริ่มมีมาให้ได้ยินบ่อยขึ้นไม่แพ้ความเจ็บป่วยทางจิตเวชโรคอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า หรือโรคไบโพราลาร์ แล้วอาการแบบไหนที่รุนแรงถึงขั้นเรียกได้ว่า “ป่วย” หรือมีแนวโน้มที่จะป่วย และต้องได้รับการบำบัดรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ สินมั่นคงประกันสุขภาพ จะพาไปทำความรู้จักกับ “โรคแพนิค”

 โรคแพนิคคืออะไร?

โรคแพนิค หรือ Panic Disorder มักเกิดกับผู้ป่วยในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและสามารถเกิดร่วมกับโรคอื่นได้ เช่น โรคซึมเศร้า สาเหตุของโรคนี้เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ (automatic nervous system) ในสมองทำงานผิดปกติ โดยมีปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแบ่งออกได้ดังนี้

1. สาเหตุจากร่างกาย  ได้แก่

2. สาเหตุทางจิตใจ ได้แก่

อาการแบบไหน? เรียกว่า โรคแพนิค

ผู้ป่วยโรคแพนิค มักมีอาการดังต่อไปนี้

  1. มักมีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อแตก ตัวสั่น รู้สึกหายใจไม่อิ่ม หายใจขัดข้อง ไม่สบายท้อง ปั่นป่วนในท้อง วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม อาการจะเกิดขึ้นประมาณ 15 – 20 นาทีแล้วค่อยๆ หายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
  2. เกิดความรู้สึกถึงความผิดปกติทางร่างกาย อาจรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เหมือนกำลังมีอาการของโรคหัวใจหรือกำลังจะตาย
  3. บางคนอาจพยายามโทรหาคนใกล้ชิดเพื่อให้พาไปโรงพยาบาล แต่เมื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ กลับไม่พบความผิดปกติ หัวใจเต้นเป็นปกติ แต่ไม่นานก็กลับมามีอาการแบบเดิมอีก
  4. บางคนมักไม่กล้าอยู่คนเดียวเพราะเกรงว่าอาจะมีอาการขึ้นมาอีก หากเกิดเหตุผิดปกติจะรู้สึกเหมือนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

อาการของโรคแพนิค อาจสามารถพบได้ในโรคอื่นด้วยเช่นกัน ทั้งโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ โรคไมเกรน โรคลมชักบางประเภท และสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้สารบางอย่างกระตุ้นระบบประสาทในสมอง เช่น คาเฟอีน แต่หากได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และไม่พบว่าป่วยเป็นโรคดังกล่าวแล้ว อาจสงสัยได้ว่า กำลังป่วยเป็นโรคแพนิค หรือสามารถทำแบบประเมินอาการของโรคแพนิคในเบื้องต้นได้ที่ https://www.manarom.com/test/panic_disorder_thai.html  โรคแพนิครักษาอย่างไร ?

การรักษาโรคแพนิค แบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ

1.  การรักษาด้วยยา

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมองเป็นสาเหตุของการเกิดโรคแพนิค ดังนั้นการรับประทานยาเพื่อปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมองจึงมีความจำเป็น และใช้เวลาในการรักษาประมาณ 8-12 เดือน ขึ้นอยู่กับปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคของแต่ละบุคคล จากการศึกษาพบว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ที่เป็นโรคนี้ สามารถหายขาดได้

2.การรักษาทางใจ คือการทำจิตบำบัดประเภทปรับความคิดและพฤติกรรม ซึ่งมีหลากหลายวิธี เช่น

โรคแพนิค แม้จะไม่นับเป็นโรคที่ทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็ทำให้เกิดความกังวลกับผู้ป่วยและกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน การรักษาโรคแพนิคจึงควรต้องรักษาทั้งสองด้านควบคู่กันไปทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยการศึกษาวิจัยพบว่าการรักษาด้วยยาควบคู่ไปกับการรักษาทางด้านจิตใจจะเป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด

ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ แล้วให้ประกันสุขภาพตามฟิต ตามก้าว ช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพให้ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง (ฟิตกว่า) เสี่ยงน้อยกว่า จ่ายเบี้ยน้อยกว่า ยิ่งก้าว เบี้ยยิ่งลด รับส่วนลดสูงสุดถึง 20% สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/producthealthdetail/1 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที