“น้ำท่วม” เป็นเหตุภัยภิบัติสำคัญที่ประชาชนทุกคนต้องคอยติดตามข่าวสารเรื่องปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำในเขื่อนที่อาจส่งผลต่อระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงข่าวสารเรื่อง “พายุ” ที่คาดการณ์ว่าจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยในช่วงสัปดาห์นี้ (ตรวจสอบสภาพอากาศประเทศไทยล่าสุด https://www.tmd.go.th/thailand.php) แต่หลายครั้งที่ได้ติดตามฟังข่าวสารก็ยิ่งเกิดความสงสัยถึงศัพท์ทางวิชาการต่างๆ ที่ได้ยิน แล้วคำต่างๆ ที่ใช้เรียก พายุ มีความหมายว่าอย่างไร? แตกต่างกันอย่างไร? สินมั่นคงประกันภัยมีข้อมูลมาบอกค่ะ
พายุเกิดขึ้นได้อย่างไร?
พายุ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของลม หรือ มวลอากาศที่มีความแตกต่างของอุณหภูมิจากบรรยากาศโดยรอบ มักเกิดในพื้นที่ที่มีความกดอากาศต่ำ ทำให้เกิดกระแสลมพัดเข้าหาจุดศูนย์กลางของบริเวณดังกล่าวเนื่องจากมวลอากาศร้อนจะลอยตัวขึ้นสูง ส่งผลให้มวลอากาศในแนวราบที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าเข้ามาแทนที่ เกิดการหมุนเวียนของอากาศจนเป็นกระแสการเคลื่อนที่ของลม ก่อนพัฒนาเป็นพายุในรูปแบบต่างๆ
ประเภทของพายุ
ประเภทของพายุจะแตกต่างกันไปตามความแรงของมวลอากาศในพายุและสาเหตุของการเกิดพายุ โดยสามารถแบ่งพายุออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
เป็นพายุที่เกิดขึ้นได้ในบริเวณที่มีอากาศร้อนชื้นมาก โดยมากเกิดในประเทศเขตร้อนแถบเส้นศูนย์สูตร เมื่ออากาศได้รับความร้อนและลอยตัวสูงขึ้นและมีไอน้ำในปริมาณมากพอ จะเกิดการกลั่นตัวควบแน่นเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง ซึ่งมักมีทั้งลมแรง ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฝนตกหนักเกิดขึ้นพร้อมกัน
เป็นพายุหมุนที่ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นศูนย์สูตร (ค่าความกดอากาศต่ำเกิดจากการที่มวลอากาศได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์และยกตัวสูงขึ้น ทำให้ความกดอากาศบริเวณนั้นลดลง) มักเกิดบริเวณผิวน้ำทะเลและมหาสมุทรที่มีอุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 27 องศาเซลเซียส มีลักษณะเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดรุนแรง หากยิ่งใกล้จุดศูนย์กลางของพายุ ลมจะหมุนจนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วอยู่ที่ประมาณ 120 – 200 กม./ชม. โดยสามารถแบ่งประเภทของพายุหมุนเขตร้อนได้ตามความแรงของลมพายุ ได้แก่
เป็นพายุที่เกิดขึ้นจากลมร้อนและลมเย็นมาเจอกันจนก่อตัวให้เกิดลมหมุน เกิดขึ้นได้ทั้งบนบกและทะเล ประมาณร้อยละ 90 เกิดขึ้นบนบกและสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกทวีปและในหลายประเทศทั่วโลก แต่พบบ่อยในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสภาพภูมิประเทศสามารถก่อให้เกิดลมร้อนและไอเย็นปะทะกันได้บริเวณทุ่งราบ โดยทอร์นาโดสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ ที่พบได้บ่อยสุด ได้แก่
พายุที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยส่วนใหญ่มักเป็นพายุหมุนเขตร้อนดีเปรสชัน เนื่องจากพายุได้อ่อนกำลังลงก่อนถึงประเทศไทย ซึ่งมักจะเริ่มเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป แต่เดือนตุลาคมจะเป็นเดือนที่พายุมีโอกาสเคลื่อนมาได้มากที่สุด โดยเฉพาะในวันที่ 11-13 ต.ค. นี้ที่บริเวณพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมถึงภาคเหนือของประเทศไทยอาจมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากพายุดีเปรสชันไลออนร็อกที่กำลังทวีความรุนแรงจนกลายเป็นพายุโซนร้อนในที่สุด ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวจึงควรติดตามข่าวสารทางอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด
ประกันภัยบ้านอยู่อาศัยรักษ์บ้าน ให้ความคุ้มครองที่อยู่อาศัย บ้านเดี่ยว บ้านจัดสรร ที่รับความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินภายใน จากไฟไหม้, ฟ้าผ่า, ภัยระเบิด, ภัยจากยวดยานพาหนะ, ภัยจากอากาศยาน ภัยเนื่องจากน้ำ และภัยธรรมชาติ สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/others หรือ โทร. 1596 Line : @smkinsurance (https://lin.ee/xQmGXFh)
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที