Daisy

ผู้เขียน : Daisy

อัพเดท: 28 มิ.ย. 2022 17.14 น. บทความนี้มีผู้ชม: 58407 ครั้ง

บทความที่รวมความรู้เรื่องเส้นผม แนะนำการรักษาผมร่วง และอาหารบำรุงเส้นผมสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง


ผมร่วงเยอะมาก วิธีการแก้ปัญหาผมร่วงทำได้อย่างไร รักษาผมร่วงอย่างถูกวิธี

ผมร่วง

บางคนเวลาหวีผมแล้ว ผมร่วง ผมจับเป็นก้อนผมในแปรง  หรือเวลาสระผมแล้วมีผมร่วงติดตามท่อระบายน้ำเยอะมาก จับเป็นก้อน ซึ่งปกติแล้วเส้นผมของเราจะหลุดร่วง 100-200 เส้นต่อวัน แต่ถ้า

หากว่าคุณรู้สึกว่าผมของคุณหลุดร่วงมากกว่าปกติ ผมร่วงเยอะมากจนทำให้รู้สึกสูญเสียความความมั่นใจ อยากรักษาผมร่วงที่ไหนดี หากคุณกำลังเผชิญกับปัญหาผมร่วงหนักมาก อยากหาวิธีวิธีแก้ผมร่วง รักษาผมร่วง 

อยากจบสาเหตุผมร่วง วิธีทําให้ผมไม่ร่วงมีวิธีใดบ้าง รวมถึงข้อสงสัยว่ากินคีโตผมร่วงจริงมั้ย บทความนี้สามารถช่วยตอบคำถาม ไขข้อสงสัยของคุณได้


สาเหตุหลักปัญหาผมร่วง

สาเหตุผมร่วง ผมร่วงเยอะมากนั้น มีหลากหลายสาเหตุมาก ดังนี้

สาเหตุหลักปัญหาผมร่วง

1. ผมร่วงกรรมพันธุ์

ผมร่วงกรรมพันธุ์ มักเกิดขึ้นในเพศชายเป็นส่วนใหญ่ ผู้ชายอายุระหว่าง 18-90 ปี การถ่ายทอดทางพันธุกรรมอาจเป็นแบบยีนเด่นบนโครโมโซมร่างกาย ถึงแม้ว่าจะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย แต่ส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจและความมั่นใจ

2. ผมร่วงจากฮอร์โมน

ผมร่วงเกิดจาก ฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone) หรือเรียกย่อๆว่า DHT hormone ฮอร์โมนนี้ทำให้เกิดขนบนใบหน้า รักแร้ หัวหน่าว และขนอื่นๆตามร่างกาย รวมไปถึงเส้นผมของเราด้วย 

3. ผมร่วงจากโรคต่างๆ

ผมร่วงสามารถเกิดจากโรคต่างๆ ได้ด้วย เช่น โรคเอสแอลอี โรคไทรอยด์ โรคซิฟิลิส โรคตับ โรคไต โรคผมร่วงทั่วศีรษะ โรคผมร่วงเป็นหย่อม โรคกลากเชื้อราบนหนังศีรษะ และโรคดึงผม เป็นต้น

4. ผมร่วงหลังผ่าตัด 

ผมร่วงหลังผ่าตัด เนื่องด้วยจากการใช้ยาสลบ เป็นได้ทั้งแบบดม ไอระเหย และรูปแบบฉีด ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตามมาหลังจาก 3 – 4 เดือน

5. ผมร่วงหลังคลอด 

ผู้หญิงอาจจะต้องเจอกับปัญหาผมร่วงหลังคลอดบุตร เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลงจนกว่าเดิม จึงส่งผลให้ผมก็จะไม่แข็งแรงเท่าเดิม

6. ผมร่วงจากเคมี

การทำคีโมผมร่วง หรือผมร่วงจากเคมี เกิดขึ้นได้เพราะการใช้ตัวยาเคมีบำบัด เพื่อหยุดการเติบโตและการเพิ่มจํานวนของเซลล์มะเร็ง การใช้ยานี้จะส่งผลต่อกระแสเลือด ทำให้รากผมของคุณ ก็จะได้รับผลกระทบตามมาด้วย    

7. ผมร่วงจากความเครียด

ความเครียด ความวิตกกังวล เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และมักทำให้เกิดผมร่วงเรื้อรังตามมา หากไม่หาวิธีแก้ไข ปล่อยไว้นานจะทำให้ไปสู่การสูญเสียรากผมแบบถาวรได้ 

8. ผมร่วงเพราะขาดสารอาหาร

ผมร่วงขาดสารอาหารอะไรบ้าง เช่น วิตามินในกลุ่ม วิตามิน B7 หรือ ไบโอติน วิตามิน C ธาตุเหล็ก และสังกะสี นอกจากนี้คุณควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ด้วย

9. ผมร่วงจากปัจจัยภายนอก 

ผมร่วงจากปัจจัยภายนอก เกิดขึ้นได้หลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น กินคีโตผมร่วง การดึงผมที่เกิดจากปัญหาทางจิตใจ การมัดผมที่แน่น ตึง  การสระผมที่ล้างไม่สะอาด ทำให้เข้าไปอุดตันและสะสมบนหนังศีรษะ

รวมไปถึงพฤติกรรมทำร้ายเส้นผม เช่น การไดร์ผม การหนีบผม หรือการทำเคมีต่างๆ ยืด ดัด ทำสีผม ซึ่งพฤติกรรมการทำร้ายเส้นผม ทำให้เส้นผมอ่อนแอและเปราะขาดง่าย จนนำไปสู่ปัญหาผมเสีย ผมชี้ฟู และผมร่วง

หากคุณสังเกตว่าผมร่วงมากกว่าปกติ คุณควรปรึษาแพทย์ เพื่อให้รู้ถึงสาเหตุของปัญหาผมร่วง หาวิธีแก้ผมร่วง รักษาผมร่วงได้อย่างทันเวลาก่อนจะสายเกินไป


เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับผมร่วง

เราเชื่อว่าใครหลายๆคน ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาเหตุผมร่วง เช่น การไหลเวียนโลหิตไม่ดี ไขมันอุดที่รูขุมขน ผมร่วงเกิดจากหนังศีรษะมัน การสระผมบ่อยเกินไป สระผมแล้วผมร่วง แพ้ยาสระผม 
 
การสวมหมวกหรือหมวกกันน็อกนานๆ ใช้ไดร์เป่าผมบ่อย ๆ ไม่ได้ทำให้ผมร่วงได้ การทำสีผมนั้นทำให้ผมแห้งเสียได้ง่าย แต่ก็ไม่ใช่ต้นเหตุของผมร่วง การรักษาผมร่วงที่ถูกวิธี เข้าใจอย่างถูกหลัก จะทำให้คุณเห็นผลลัพธ์ได้ชัดเจน
 

อาการผมร่วงที่ควรพบแพทย์

อาการผมร่วงที่ควรพบแพทย์

อาการผมร่วงแบบไหนบ้าง ที่ควรพบแพทย์ มีดังนี้

- ผมร่วงเป็นหย่อม ผมร่วงเป็นวง ผมร่วงเป็นกระจุก

ผมร่วงเป็นหย่อม เป็นวงตั้งแต่ 1-2 วง หรือเป็นกระจุกบนหนังศีรษะ อาการผมร่วงเป็นวงแบบนี้ สามารถหายไปเอง ใช้เวลาประมาณ 6-12 เดือน แต่สำหรับบางคนอาจจะไม่สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้

- การดึงผมตัวเอง

ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหากดดันทางจิตใจ ผู้ป่วยจะถอนผมตัวเองจนผมแหว่ง หนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วงจะไม่มีผื่นคันหรือเป็นขุย แต่จะพบเส้นผมที่เป็นตอสั้นๆ อยู่มาก เนื่องจากผู้ป่วยถอนออกไม่ถนัด

- ผมร่วงจากเชื้อรา

โรคเชื้อราที่ศีรษะหรือกลากที่ศีรษะ พบได้บ่อยในเด็ก เกิดจากการติดเชื้อรา โรคนี้ผมร่วงเป็นหย่อมๆ เป็นผื่นแดงคันและเป็นขุยหรือสะเก็ด

แนะนำวิธีแก้ปัญหาผมร่วง

วิธีรักษาผมร่วงด้วยตัวเอง

วิธีรักษาผมร่วงด้วยตัวเอง

- หลีกเลี่ยงการทำร้ายเส้นผมด้วยเคมีและความร้อน เช่น การยืด การดัด การย้อม
- การนอนหลับพักผ่อน การนอนดึก อดนอนหรือนอนน้อย ทำให้ร่างกายไม่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มที่
- การลดความเครียด ใส่ใจสุขภาพจิตของตัวเอง ผ่อนคลาย
- การใช้สมุนไพรหมักผมลดผมร่วง เช่น อัญชัน ตะไคร้ มะกรูด น้ำมันงา และมะเฟือง การบำรุงเส้นผม จะช่วยลดปัญหารังแค อาการคันศีรษ ลดปัญหาผมร่วงด้วย
- การสระผมให้ถูกวิธี เริ่มจากการสระผมด้วยแชมพูโดยเปลี่ยนจากการเกาเป็นการนวดศีรษะเบาๆ ให้ทั่ว จากนั้นล้างออกด้วยน้ำเปล่าและทำขั้นตอนแบบเดียวกันกับการใช้ครีมนวด
- การรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงเส้นผม เช่น สารอาหารประเภทวิตามินบี 12 ธาตุเหล็ก และโอเมก้า 3 ซึ่งพบได้ในปลาแซลมอน อะโวคาโด กล้วยหอม ผักใบเขียว และธัญพืชต่างๆ
- ป้องกันผมจากแสงแดด เพราะรังสียูวีจะไปทำลายสารเคลือบผม ลดความชุ่มชื้น จนทำให้ผมแห้งกรอบ เปราะหัก หลุดร่วงได้ง่าย

 วิธีรักษาผมร่วงทางการแพทย์

วิธีรักษาผมร่วงทางการแพทย์

- การรับประทานยาแก้ผมร่วง เช่น

ยาทาหนังศีรษะไมนอกซิดิล (minoxidil) ช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม เพื่อยับยั้งการผลิตฮอร์โมน

ผมร่วงจากโรคซิฟิลิส แพทย์อาจฉีดยา Benzthine Penicillin 2.4 mu เข้ากล้ามเนื้อครั้งเดียว แต่ในผู้ที่แพ้ยา Penicillin จะให้รับประทานยา Tetracycline วันละ 2 กรัม 15 วัน 

ผมร่วงจากเชื้อรา แพทย์อาจให้รับประทานยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อราอย่าง Griseofulvin จนกว่าเชื้อจะหมดไป ส่วนใหญ่มักใช้เวลาประมาณ 6-12 สัปดาห์

 

- การผ่าตัดปลูกผม

โดยวิธีผ่าตัดเจาะรากผมบริเวณท้ายทอยการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น PRP ผม ซึ่งการปลูกผมมีหลากหลายวิธี ได้แก่

การปลูกผมแบบ FUT (Follicular unit transplantation) 

วิธีนี้จะทำให้มีแผลเป็นบริเวณจุดที่ถูกตัดหนังศีรษะออก ด้านหลังที่มีรากผมแข็งแรงออกมา และแยกเฉพาะรากผมที่ต้องการไปปลูกในบริเวณที่ผมบาง ศีรษะล้าน

การปลูกผมแบบ FUE (Follicular unit extraction) 

วิธีนี้จะไม่ต้องถูกตัดหนังศีรษะออก ไม่มีแผลเย็บ ปลูกผมโดยการเจาะเอาเซลล์รากผมจากหนังศีรษะบริเวณที่ผมหนาแน่นทีละกราฟต์

 

- การฉีดสเต็มเซลล์ 

 การฉีดสเต็มเซลล์ โดยการสกัดมาจากส่วนของรากผมและหนังศีรษะ นำไปฉีดลงบนหนังศีรษะ ฉีดเพื่อช่วยลดการทำงานของฮอร์โมน และกระตุ้นให้รากผมแข็งแรงขึ้น

- การใช้เลเซอร์รักษาผมร่วง (Fotona Laser, LLLT)

การใช้เลเซอร์รักษาผมร่วงด้วยการทำโฟโตน่าเลเซอร์ (Fotona Laser, LLLT) คือ คลื่น Er:YAG 2940 nm และ Nd:YAG 1064 nm ซึ่งเลเซอร์ 2 ตัวนี้ ช่วยกระตุ้นการทำงานของผม เสริมสร้างรากผม กระตุ้นการสร้างเส้นเลือดให้เลือดไปเลี้ยงรากผมและหนังศีรษะ ทำให้รากผมเข็งแรงขึ้น ผมเส้นใหญ่ ไม่ขาดร่วงง่าย


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับผมร่วง

กินผงชูรสเยอะทำให้ผมร่วงจริงไหม?

หลายๆคนอาจเข้าใจผิดว่ากินผงชูรสสามารถทำให้ผมร่วง ซึ่งยังไม่มีปรากฎในวารสารทางการแพทย์ หรือผลงานวิจัย แต่อันที่จริงแล้ว เกิดจากความผิดปกติของรูขุมขนบนหนังศีรษะและเส้นผม การทานผงชูรสจะรู้สึกกระหายน้ำมากกว่าปกติ มีอาการชา หายใจไม่สะดวก คลื่นไส้ อาเจียน 

โกนผมทำให้ผมหนาขึ้นไหม?

การโกนผมทำให้ผมหนาขึ้นได้ ในช่วงวัยเด็ก แต่เมื่อคุณโตขึ้นไม่ได้ส่งผลให้ผมที่เกิดใหม่มีความดำดกดำหรือหนาขึ้น ร่างกายจะไม่สามารถซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้รวดเร็วเท่ากับวัยเด็ก

รังแคทำให้ผมร่วงหรือไม่?

รังแคเป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงได้อย่างหนึ่ง เพราะการเกิดรังแคนั้นมาจากศีรษะแห้งอย่างหนัก และเมื่อเส้นผมเกิดหยิกงอก็จะทำให้เกิดการหลุดร่วงตามมา การรักษาป้องกันไม่ให้เกิดรังแค ก็เป็นการรักษาอาการผมร่วงไปพร้อม ๆ กันได้


ข้อสรุป

ผมร่วงอาจเกิดได้จากปัจจัยต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น อายุ ความเครียด ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาบางชนิด การขาดไบโอติน ธาตุเหล็ก โปรตีน หรือซิงค์ การดูเเล การจัดเเต่งเส้นผม รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน  

หากคุณต้องการอยากจัดการปัญหาผมร่วง ผมบาง สามารถเริ่มได้ง่ายๆด้วยตัวคุณเอง เช่น การรับประทานที่มีส่วนช่วยบำรุงเส้นผม การหลีกเลี่ยงการทำร้ายเส้นผมด้วยเคมีและความร้อน การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การลดความเครียด 

ใส่ใจสุขภาพจิตของตัวเอง ผ่อนคลาย การใช้สมุนไพรหมักผม การสระผมให้ถูกวิธี หากคุณลองนำไปปรับใช้แล้ว แต่ยังรู้สึกว่าผมร่วงยังไม่ลดน้อยลง คุณควรเข้ารับการรักษา รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นผม


 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที