Tawan

ผู้เขียน : Tawan

อัพเดท: 08 พ.ย. 2021 15.40 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1587 ครั้ง

ปัญหาเชื้อราในรถยนต์พบได้บ่อยครั้งเมื่อระบบถ่ายเทอากาศภายในห้องโดยสารไม่ได้ถูกใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจอดรถทิ้งไว้นาน หรือการรั่วซึมสะสมภายในห้องโดยสาร ล้วนทำให้เกิดความอับชื้นและก่อให้เกิดเชื้อราบนพื้นผิววัสดุต่างๆ ภายในรถยนต์ เช่น เบาะรถยนต์ขึ้นรา หรือพรมรองเท้าขึ้นรา สินมั่นคงประกันภัยรถยนต์ รวบรวม 3 ตัวช่วยในการกำจัดเชื้อราในรถยนต์มาฝากกัน


3 ตัวช่วยกำจัดเชื้อราในรถยนต์มีอะไรบ้าง?

1. สารดูดความชื้น

สารดูดความชื้น หรือวัตถุช่วยดูดความชื้นที่หาได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น ถ่านไม้ ใบชา เบกกิ้งโซดา หรือซองดูดความชื้นที่บรรจุซิลิกาเจล (Silica Gel) มักถูกนำมาใช้งานเพื่อดูดความชื้นที่ตกค้างในพื้นที่หรือภาชนะที่ปิดสนิท เช่น ขวดยา ซองขนม หรือกล่องเก็บกล้องถ่ายรูป อย่างไรก็ตาม เมื่อสารดูดความชื้นทำหน้าที่ดูดความชื้นจนถึงจุดอิ่มตัวหรือเมื่อถึงกำหนดอายุการใช้งาน จำเป็นต้องเปลี่ยนตัวดูดความชื้นใหม่ เนื่องจากตัวดูดความชื้นเดิมจะไม่สามารถทำหน้าที่ดูดความชื้นได้อีกต่อไป

การนำกล่องดูดความชื้น หรือวัตถุดูดความชื้นเข้ามาใช้งานภายในรถยนต์ เพื่อควบคุมความชื้นภายในห้องโดยสารและลดโอกาสในการเกิดเชื้อรา อาจจะไม่ได้ส่งผลมากนักกับการใช้งานในห้องโดยสารรถยนต์ เนื่องจากระบบการถ่ายเทอากาศภายในห้องโดยสารจากทั้งระบบแอร์ภายในรถยนต์ และระบบเปิดปิดห้องโดยสารให้อากาศไหลเวียนโดยอย่างอิสระ นับว่าเป็นวิธีการควบคุมความชื้นภายในห้องโดยสารที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว สารดูดความชื้นต่างๆ จึงอาจไม่มีประโยชน์มากนักสำหรับการใช้ควบคุมความชื้นในพื้นที่ที่ไม่ได้ปิดสนิท เช่น ห้องโดยสารรถยนต์

2. น้ำส้มสายชู

เจ้าของรถยนต์อาจเลือกใช้น้ำส้มสายชูที่มีขายทั่วไปในท้องตลาดทำความสะอาดคราบราที่เกิดขึ้นภายในห้องโดยสารด้วยตัวเองเบื้องต้น เนื่องจากน้ำส้มสายชูจะมีกรดน้ำส้ม หรือ “กรดอะซิติก”  ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเเพร่กระจายของเชื้อรา เเละไม่เป็นอันตรายต่อพื้นผิวของวัสดุต่างๆ ภายในห้องโดยสาร

วิธีการนำน้ำส้มสายชูมาใช้ฉีดพ่นเชื้อราภายในรถยนต์ สามารถทำได้โดยการนำน้ำส้มสายชูใส่กระบอกฉีดผสมกับน้ำสะอาดฉีดพ่นบริเวณจุดที่เกิดเชื้อราให้ทั่วแล้วปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง และฉีดพ่นบริเวณเดิมอีกครั้งเมื่อบริเวณที่ฉีดพ่นน้ำยาในครั้งแรกแห้งดีแล้ว หลังจากนั้นนำผ้าสะอาดชุบน้ำส้มสายชูถูลงบนบริเวณจุดที่มีคราบเชื้อราอีกครั้ง เพื่อเช็ดทำความสะอาดให้คราบหลุดออกทั้งหมดโดยไม่ถูซ้ำไปมา ก่อนที่จะทิ้งผ้าดังกล่าวโดยไม่นำกลับมาใช้อีก

ทั้งนี้ ในระหว่างที่เริ่มทำความสะอาดภายในรถยนต์ด้วยน้ำส้มสายชู เจ้าของรถยนต์ควรจอดรถยนต์ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อราโดยตรง และเพื่อป้องกันละอองของน้ำส้มสายชูและเชื้อราเข้าสู่ร่างกาย

3. น้ำยาทำความสะอาดเอนกประสงค์

น้ำยาฆ่าเชื้อราแบบสเปรย์ เป็นน้ำยาทำความสะอาดเอนกประสงค์ประเภทหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มน้ำยาทำความสะอาดประเภทเดียวกับน้ำยาทำความสะอาดเบาะผ้าและพรม ซึ่งน้ำยาทำความสะอาดดังกล่าวสามารถใช้ทำความสะอาดเชื้อราได้ง่าย เนื่องจากสามารถใช้ทำความสะอาดได้ในทุกพื้นผิว และมีประสิทธิภาพมากพอในการทำลายเชื้อราบนพื้นผิววัสดุต่างๆ ภายในห้องโดยสาร เช่น พื้นพรม เบาะนั่ง หรือคอนโซลหน้ารถ

นอกจากนั้นเเล้ว น้ำยาทำความสะอาดเอนกประสงค์ยังมีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อโรคและแบ็คทีเรียร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม การใช้สเปรย์อเนกประสงค์สำหรับฉีดพ่นเชื้อรา จำเป็นต้องใช้งานด้วยความระมัดระวังโดยต้องสวมถุงมือ หน้ากาก และเเว่นตาทุกครั้งเมื่อใช้งานเพื่อป้องกันการสูดดมทั้งเชื้อราและน้ำยาฆ่าเชื้อ ตลอดจนเพื่อป้องกันน้ำยาฆ่าเชื้อรากระเด็นโดนสายตาและผิวหนัง

วิธีการป้องกันเชื้อราในรถยนต์ที่ดีที่สุด คือ การหมั่นตรวจเช็กและทำความสะอาดพื้นที่ที่เปียกชื้น และมักเป็นจุดเกิดเชื้อราภายในห้องโดยสาร เช่น พื้นพรม หรือเบาะนั่ง  พร้อมเพิ่มความพร้อมให้กับทุกการขับขี่ด้วยประกันรถยนต์ตามเวลา ให้ความคุ้มครอง 6 และ 12 เดือน ด้วยเบี้ยเบาๆ จ่ายสบาย ช่วยแบ่งเบาภาระในยามวิกฤต เพื่อความอุ่นใจเมื่อออกเดินทาง เบี้ยเริ่มต้นที่ 969 บาท คลิก www.smk.co.th/premotor

บทความที่เกี่ยวข้อง


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที