Tawan

ผู้เขียน : Tawan

อัพเดท: 29 ต.ค. 2021 09.59 น. บทความนี้มีผู้ชม: 14346 ครั้ง

เรื่องของหัวใจ...ใครๆ ก็ต้องดูแล ไม่ว่าจะอายุเท่าไร? หัวใจคืออวัยวะที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย แต่เมื่อมีอายุมากขึ้น อวัยวะต่างๆ เริ่มเสื่อมสภาพลงตามวัย หัวใจก็เช่นกัน หากขาดการดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงและฟิตอยู่เสมอ การทำงานของหัวใจอาจเกิดอาการผิดปกติได้ แล้วอัตราการเต้นของหัวใจของคนแต่ละช่วงวัยควรเป็นเท่าไร? โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราการเต้นของหัวใจผู้สูงอายุ ที่จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ


อัตราการเต้นหัวใจของผู้สูงอายุควรเป็นเท่าไร?

เรื่องของหัวใจ...ใครๆ ก็ต้องดูแล ไม่ว่าจะอายุเท่าไร? หัวใจคืออวัยวะที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย แต่เมื่อมีอายุมากขึ้น อวัยวะต่างๆ เริ่มเสื่อมสภาพลงตามวัย หัวใจก็เช่นกัน หากขาดการดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงและฟิตอยู่เสมอ การทำงานของหัวใจอาจเกิดอาการผิดปกติได้ แล้วอัตราการเต้นของหัวใจของคนแต่ละช่วงวัยควรเป็นเท่าไร? โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราการเต้นของหัวใจผู้สูงอายุ ที่จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

หัวใจเต้นได้อย่างไรแล้วมีวิธีวัดการทำงานของหัวใจอย่างไร?

อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate) ในคนปกติ จะมีอัตราแปรเปลี่ยนไปตามการกระตุ้นของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) เช่น เต้นเร็วขึ้นเวลามีอาการตกใจ, ดีใจ, อดนอน หรือ มีไข้, เต้นช้าลงเวลานอนหลับ หรือในบางครั้งหากได้รับยาลดความดันโลหิตบางตัวก็อาจทำให้หัวใจเต้นช้าลงได้

อัตราการเต้นของหัวใจจะเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าในการกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจแต่ละครั้ง โดยกระแสไฟฟ้านี้จะมีจุดกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อพิเศษของหัวใจห้องบนขวา (Right Atrium) สร้างกระแสไฟฟ้าแล้วปล่อยลงมาตามทางเนื้อเยื่อพิเศษที่สามารถนำไฟฟ้าได้ ลงมายังสถานีที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนกับห้องล่าง เรียกว่า AV node ก่อนที่จะส่งต่อลงไปยังหัวใจห้องล่างแล้วแยกออกไปยังแขนงด้านซ้ายและขวา เมื่อกระแสไฟฟ้าเดินทางมาถึงจุดหมายก็จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว และกระแสไฟฟ้านี้จะสามารถตรวจจับได้ ด้วยเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือที่เรียกว่า การตรวจ EKG (แพคเกจตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและหลอดเลือดของคลินิกและโรงพยาบาลต่างๆ คลิก https://hdmall.co.th/health-checkup/ตรวจหัวใจ)

อัตราการเต้นของหัวใจในภาวะปกติ ควรเต้นกี่ครั้งต่อนาที?

ในภาวะที่ร่างกายไม่ได้รับการกระตุ้น เช่น ตกใจ ดีใจ หรือขณะออกกำลังกาย อัตราการเต้นหัวใจจะอยู่ในช่วง 60-100 ครั้ง/นาที หากช้ากว่า 60 ครั้ง/นาที ทางการแพทย์ เรียกว่า หัวใจเต้นช้า (Bradycardia) หรือเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที จะเรียกว่า หัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า หากไม่ได้มีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในช่วงนี้แล้วจะถือว่าผิดปกติ การจะวินิจฉัยว่า อัตราการเต้นของหัวใจช้าหรือเร็วจนเป็นอันตรายต่อร่างกายนั้น แพทย์จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย

วัดอัตราการเต้นของหัวใจอย่างไร?

วิธีวัดอัตราการเต้นของหัวทำได้โดยให้วางปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางบริเวณเส้นชีพจร จากนั้นให้จับเวลาการเต้นของหัวใจภายใน 30 วินาที แล้วนำจำนวนครั้งที่ได้มาคูณสอง จะได้เป็นอัตราการเต้นของหัวใจต่อนาที และควรทำแบบนี้ซ้ำ 2-3 ครั้ง เพื่อดูว่าค่าที่เราวัดได้นั้นใกล้เคียงกันหรือไม่ หากค่าต่างกันมาก ควรวัดใหม่อีกครั้ง หรือสามารถวัดได้ด้วยเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว

อัตราการเต้นของหัวใจที่วัดได้นี้ เรียกว่า อัตราการเต้นหัวใจขณะพัก (Resting Heart Rate) ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจนี้จะเป็นตัวบ่งบอกสุขภาพ โดยมีเทคนิคในการวัดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ดังนี้

• ไม่ควรวัดหลังออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมหนักภายใน 1-2 ชั่วโมง

• หากดื่มหรือกินอาหารที่มีคาเฟอีน ควรวัดชีพจรหลังจากนั้นอย่างน้อย 1 ชั่วโมง

• หากเป็นไปได้ แนะนำให้วัดหลังจากที่เพิ่งตื่นนอนในตอนเช้าทันที ก่อนลุกออกจากเตียง

อัตราการเต้นของหัวใจในแต่ละช่วงวัย ควรเป็นเท่าไร?

อัตราการเต้นของหัวใจในแต่ละคนนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ ความฟิตของร่างกาย และโรคประจำตัว โดยอัตราการเต้นของหัวใจตามช่วงอายุสามารถแบ่งได้ดังนี้

1. ทารกหรือเด็กเล็ก

ควรมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 90-140 ครั้งต่อนาที หากเต้นช้าหรือมากกว่านี้ ก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจได้

2. วัยรุ่นและผู้ใหญ่

โดยปกติแล้ว อัตราการเต้นของหัวใจของคนเราในขณะพัก โดยที่ไม่ได้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวใดๆ จะมีอัตราการเต้นอยู่ที่ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที ถือเป็นอัตราการเต้นที่ปกติ

3. ผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ ควรมีอัตราการเต้นของหัวใจในระดับเดียวกับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ นั่นก็คือราว 60-100 ครั้งต่อนาที หากมีอัตราการเต้นของหัวใจที่มากเกิน 100 ครั้งต่อนาที แสดงว่าร่างกายเกิดความผิดปกติ ต้องรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพราะหากปล่อยไว้อาจมีโอกาสหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้

4. ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ

อัตราการเต้นของหัวใจยังสัมพันธ์กับการทำกิจกรรมต่างๆ ด้วย จากผลวิจัยพบว่า ผู้ที่เป็นนักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายหนักเป็นประจำ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักอาจจะอยู่ที่ราว 40-50 ครั้งต่อนาทีเท่านั้น เนื่องจากยิ่งร่างกายมีความฟิตมากเท่าไร อัตราการเต้นของหัวใจจะยิ่งต่ำ เพราะหัวใจไม่ต้องทำงานหนัก

อัตราการเต้นของหัวใจเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรใส่ใจ เพราะหากเต้นเร็วหรือช้าเกินไป ก็อาจกลายเป็นสัญญาณเตือนว่าสุขภาพกำลังมีปัญหา จึงควรหมั่นดูแลรักษาร่างกายให้มีความฟิตอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกาย เพื่อให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ และเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีมีอายุยืนยาว

ประกันสุขภาพ 60 ยังฟิต ให้คุณและลูกหลานหมดห่วงเรื่องค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยสำหรับผู้สูงวัย ซื้อง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ สำหรับผู้เอาประกันที่มีอายุตั้งแต่ 61-65 ปี ให้ความคุ้มครองทั้งสุขภาพและอุบัติเหตุ สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/prehealth หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที