Tawan

ผู้เขียน : Tawan

อัพเดท: 28 ต.ค. 2021 10.42 น. บทความนี้มีผู้ชม: 643 ครั้ง

?ฟิล์มกรองแสง? นอกจากจะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับรถยนต์ทุกคัน เพื่อใช้ป้องกันอันตรายจากแสงแดดระหว่างการขับขี่แล้ว (ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ เลือกอย่างไร? รถไม่ร้อน แดดส่องไม่ถึง คลิก https://www.smk.co.th/newsdetail/1613) ยังสามารถนำมาใช้ติดกับกระจกและบานหน้าต่างของบ้านเพื่อช่วยลดความร้อนสะสมให้กับตัวบ้าน และปกป้องผู้อยู่อาศัยจากอันตรายต่างๆ ที่แฝงมากับแสงแดดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย แล้วฟิล์มกรองแสงอาคารต่างจากฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์อย่างไร และควรติดฟิล์มกรองแสงบ้านอย่างไร ให้ปลอดภัยทั้งบ้านและผู้อยู่อาศัย


ติดฟิล์มกรองแสงให้บ้านและอาคาร ปกป้องบ้าน ปกป้องทุกคนในครอบครัว

“ฟิล์มกรองแสง” นอกจากจะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับรถยนต์ทุกคัน เพื่อใช้ป้องกันอันตรายจากแสงแดดระหว่างการขับขี่แล้ว (ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ เลือกอย่างไร? รถไม่ร้อน แดดส่องไม่ถึง คลิก https://www.smk.co.th/newsdetail/1613) ยังสามารถนำมาใช้ติดกับกระจกและบานหน้าต่างของบ้านเพื่อช่วยลดความร้อนสะสมให้กับตัวบ้าน และปกป้องผู้อยู่อาศัยจากอันตรายต่างๆ ที่แฝงมากับแสงแดดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย แล้วฟิล์มกรองแสงอาคารต่างจากฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์อย่างไร และควรติดฟิล์มกรองแสงบ้านอย่างไร ให้ปลอดภัยทั้งบ้านและผู้อยู่อาศัย

 

ฟิล์มกรองแสงติดอาคาร ต่างจาก ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์อย่างไร?

 

  1. ฟิล์มกรองแสงติดอาคารจะมีเนื้อสัมผัสที่หนา แต่มีความยืดหยุ่นน้อยกว่าฟิล์มติดรถยนต์ เนื่องจากการติดฟิล์มกรองแสงอาคารไม่จำเป็นต้องรีดฟิล์มไปตามส่วนโค้งส่วนเว้าของกระจกรถยนต์
  2. ฟิล์มกรองแสงติดอาคาร มีการป้องกันแสงแดดหรือความร้อนคล้ายคลึงกับฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ แต่ก็ขึ้นอยู่กับรุ่น วัสดุ และความเข้มของฟิล์มแต่ละยี่ห้อที่จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป
  3. ฟิล์มกรองแสงติดอาคารจะมีความหนาและเหนียวกว่าฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ ทำให้มีความทนแดดทนฝนได้มากกว่าฟิล์มติดรถยนต์ เนื่องจากอาคารเป็นสิ่งที่อยู่กับที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ จึงมีด้านที่โดนแดดข้างเดียวทั้งวันอยู่เสมอ ประกอบกับตัวบ้านและอาคารมีความชื้นมากกว่าในรถยนต์ ทำให้ฟิล์มเสื่อมสภาพได้เร็วกว่า จึงจำเป็นต้องผลิตให้มีเนื้อฟิล์มที่ทนกว่า
  4. ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ มีชนิดของกาวที่บางกว่า และมีชั้นฟิล์มต่างจากฟิล์มกรองแสงติดอาคาร เป็นเพราะรถยนต์ต้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา ทำให้พื้นผิวโดนแดดไม่มากเท่าอาคาร
  5. ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ ควรให้การสะท้อนแสงที่น้อยกว่า เพราะในระหว่างการขับขี่อาจทำให้แสงสะท้อนไปโดนรถยนต์คันอื่น จนอาจไปรบกวนทัศนวิสัยของผู้ขับขี่และก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้

ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ กับฟิล์มกรองแสงติดอาคาร ติดแทนกันได้หรือไม่?

 

ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์สามารถนำมาติดอาคารได้โดยมีคุณภาพที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เนื่องจากฟิล์มติดรถยนต์มีความยืดหยุ่นสูงจึงนิยมนำฟิล์มติดรถยนต์มาติดอาคารทดแทนกันได้ แต่อาจมีระยะเวลารับประกันที่สั้นขึ้น เนื่องจากการนำฟิล์มกรองแสงไปติดอาคารมักโดนแดดและฝนมากกว่ารถยนต์ เช่น ฟิล์มติดรถยนต์รับประกัน 7 ปี ถ้านำมาติดอาคาร อาจจะเหลือรับประกันเพียง 5 ปี เท่านั้น แต่เพื่อให้ได้ฟิล์มที่สามารถกรองแสงได้เต็มประสิทธิภาพ ก็ควรเลือกติดฟิล์มกรองแสงสำหรับติดอาคารโดยเฉพาะ เนื่องจากฟิล์มอาคารจะมีความหนา ทนทาน กันความร้อน และ สะท้อนแสงดีกว่าฟิล์มติดรถยนต์

 

ในทางกลับกัน ฟิล์มกรองแสงติดอาคารจะไม่สามารถนำมาติดกับรถยนต์ได้ เนื่องจากลักษณะของกระจกรถยนต์จะมีส่วนโค้งส่วนเว้าแตกต่างจากกระจกบ้าน และเมื่อนำมาติดกับรถยนต์แล้วจะทำให้ฟิล์มไม่แนบสนิทกับกระจกรถได้

 

เลือกฟิล์มกรองแสงติดอาคารและบ้านอย่างไร? ให้เหมาะกับบ้านเรา

 

1) เลือกคุณสมบัติของฟิล์มกรองแสงให้ตรงความต้องการ

• เลือกความเข้มของฟิล์มที่ต้องการ หรือดูที่ค่าแสงส่องผ่านของฟิล์มแต่ละรุ่น ซึ่งจะส่งผลในเรื่องการลดแสงจ้าของพระอาทิตย์ ความเป็นส่วนตัว และความชัดในการมองวิวด้านนอก

• เลือกค่าการลดความร้อนจากแสงแดด สำหรับฟิล์มที่มีสี ความเข้ม และความใส ใกล้เคียงกัน จะพบว่า รุ่นที่สะท้อนแสงดีกว่า (ดูคล้ายกระจกเงาเมื่อมองจากภายนอก) ส่วนใหญ่จะลดความร้อนได้มากกว่า เพราะมีปริมาณโลหะเคลือบเยอะกว่า (ยกเว้นฟิล์มเคลือบเซรามิกซึ่งกันความร้อนได้ดีแต่จะสะท้อนแสงน้อยกว่าฟิล์มเคลือบโลหะ)

 

2) เลือกจากจุดประสงค์การใช้งานและตำแหน่งที่ตั้ง ได้แก่

• ห้องที่อยู่ชั้นล่าง ติดถนนหรือทางเดิน และต้องการบังสายตา อาจเน้นฟิล์มสีเข้ม แนะนำให้ติดฟิล์มกรองแสงความเข้ม 80%

• ห้องที่อยู่ทางทิศตะวันตกซึ่งโดนแดดแรงควรเลือกฟิล์มที่ช่วยลดแสงจ้าของพระอาทิตย์และมีค่ากันความร้อนสูง แนะนำฟิล์มกรองแสงความเข้ม 60%

• ห้องที่ต้องการชมวิวทั้งกลางวันและกลางคืนแต่ต้องการลดความร้อนด้วย อาจใช้ฟิล์มใส ค่าแสงส่องผ่านประมาณ 40% แต่กันความร้อนได้สูง

• ห้องรับแขก ห้องทานข้าว แนะนำความเข้มฟิล์มกรองแสงที่ 40% ทำให้ดูโปร่งสบาย ไม่อึดอัด

• ห้องนอน ที่อยากได้ความมืดและความเป็นส่วนตัว แนะนำให้เลือกฟิล์มกรองแสงความเข้ม 80%

• สำหรับคอนโดมิเนียม มักมีข้อกำหนดเรื่องฟิล์มกรองแสง เช่น ความเข้ม สี การสะท้อนแสง ควรตรวจสอบกับนิติบุคคลของอาคารก่อนเลือกซื้อฟิล์ม

 

3) ผู้ติดตั้งฟิล์มควรมีความชำนาญ สามารถกรีดตัดฟิล์มให้ได้ขนาดเสมอพอดีกับขอบยาง โดยไม่ทำให้กระจกเป็นรอย รวมถึงไม่กรีดโดนขอบยางกระจกเสียหาย เพราะหากกรีดโดนขอบยาง แม้จะใช้ซิลิโคนยิงซ่อมก็อาจเกิดปัญหารั่วซึมเมื่อใช้งานไปนานๆ ได้ (ควรยิงซิลิโคนเท่าที่จำเป็นตามสภาพหน้างานเท่านั้น เช่น กรณีที่ต้องเลาะซิลิโคนของเดิมหรือขอบยางเสื่อม เป็นต้น)

 

การเลือกฟิล์มกรองแสงติดกระจกบ้านและอาคารให้ตรงกับความต้องการของผู้อยู่อาศัย อาจดูไม่ใช่เรื่องยุ่งยากแต่ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยที่เจ้าของบ้านต้องใส่ใจเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในระยะยาว โดยอาจเลือกจากคุณสมบัติต่างๆ ของฟิล์มกรองแสงให้เหมาะกับลักษณะการใช้งานของบ้านและอาคารที่เราอาศัยอยู่ เช่น ค่าแสงส่องผ่าน ค่าสะท้อนแสง ค่ากันรังสี UV ค่าการลดความร้อนจากแสงแดด

 

เลือกความคุ้มครองให้เหมาะกับบ้านคุณ ประกันภัยบ้านอยู่อาศัยรักษ์บ้าน ให้ความคุ้มครองที่อยู่อาศัย บ้านเดี่ยว บ้านจัดสรร ที่รับความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินภายใน จากไฟไหม้, ฟ้าผ่า, ภัยระเบิด, ภัยจากยวดยานพาหนะ, ภัยจากอากาศยาน ภัยเนื่องจากน้ำ และภัยธรรมชาติ สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/others หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที